Article ตาดูหูฟัง

รวมเทรนด์มิวสิกวิดิโอเพลงไทยร่วมสมัย

  • Writer: Montipa Virojpan

เป็นข้อถกเถียงกันมานานเหมือนกันในแวดวงดนตรีว่าเพลงเพลงนึงจำเป็นต้องมีมิวสิกวิดิโอไหม หลาย คำตอบก็บอกว่าไม่จำเป็นเพราะสุดท้ายแล้วหัวใจของเพลงมันก็อยู่ที่ตัวเพลงนั่นแหละ แต่บ่อยครั้งที่มิวสิกวิดิโอเองก็เป็นตัวที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ทางเลือกให้กับเพลงเพลงนั้น (ก็เป็นดาบสองคมนะ เพราะฟังไปดูไปอาจจะเพลินขึ้น หรือบางทีเรื่องราวในมิวสิกวิดิโออาจจะสนุกมากจนเพลงโดนแย่งซีน แล้วคนก็จำ mv ได้มากกว่าเพลง เอ้า) ไปจนถึงถูกใช้เป็นเครื่องมือการตลาดด้วยการให้นักแสดงดัง มารับบทตัวเอกทำให้เพลงและศิลปินเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่กับศิลปินบางคนก็มองว่าวิดิโอประกอบเพลงเหล่านี้เป็นงานศิลปะที่พวกเขาจะได้ใส่ความสร้างสรรค์นอกเหนือจากเรื่องเพลง หรือผู้กำกับบางคนก็อยากลองปล่อยของได้อย่างเต็มที่ก่อนจะไปทำหนังเรื่องยาว ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของแต่ละคนเลย

ทว่าด้วยเหตุผลหลัก ของการมีมิวสิกวิดิโอในยุคแรกเป็นการต้องโปรโมตเพลง แต่ในปี 1894 สิ่งที่พวกเขาทำได้ก็เป็นการฉายสไลด์ภาพนิ่งให้ขยับสลับกันผ่าน magic lantern จนเทคโนโลยีพัฒนามีเครื่องฉายหนังก็ทำ talkies การแสดงสดของวงแจ๊สและการเต้นรำก็ตามที ต่อมาในยุค 50s ก็เริ่มมีการทำวิดิโอประกอบเพลงที่ไม่ใช่การแสดงสดของวงอีกต่อไป แต่มีอีกเส้นเรื่องมาเล่าประกอบเช่นคนเดินเล่นในสวนสาธารณะก็เอามาใส่ในเพลง แล้วก็มีคนทำออกมาเรื่อย และบูมมาก ในยุค 60s-70s ซึ่งเป็นการมาถึงของรายการเพลงทางโทรทัศน์ เราพอจะนึกภาพออกว่าสมัยนั้นก็มีรายการเพลงที่ให้วงไปเล่นออกอากาศกันสด แต่พวกเขาก็อยากได้ประสบการณ์นอกเหนือไปจาก live band ด้วย คือการทำมิวสิกวิดิโอและใช้มันเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมตเพลงมากขึ้น จากที่มีแค่ศิลปินร้องไลน์ซิงก์กับเพลง ก็เริ่มมีลูกเล่นท่าไม้ตายงัดออกมาขับเคี่ยวกันไม่แพ้วิชวลอาร์ตด้านอื่น (หลายคนก็คงจะได้แรงไฟจากงานของผู้กำกับ Michel Gondry ที่ทำสต็อปโมชันรัว หรืองานสุดบ้าของวงแบบ OK GO หรือ World Order)

ทางฝั่งประเทศไทยเองก็ไม่แพ้กัน งานมิวสิกวิดิโอยุคแรก ของบ้านเราส่วนใหญ่จะมาจากครีเอทีฟหรือผู้กำกับโฆษณา และในช่วงนึงก็มี FaT Awards ที่มอบรางวัลสาขามิวสิกวิดิโอยอดเยี่ยมเพื่อรันวงการ สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้สร้างงานฝั่งนี้ ยิ่ง YouTube กลายมาเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานยอดนิยม ทำให้ศิลปินและค่ายเพลงหลาย คนก็เองก็ให้ความสำคัญกับยอดวิวเพราะนอกจากจะแพร่กระจายผลงานได้ไว แล้วมันยังสามารถเทิร์นเป็นเงินได้ด้วย!!! แบบนี้แล้วเราเลยจะได้เห็นมิวสิกวิดิโอไอเดียบรรเจิดออกมามากมายในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา และดูไม่มีทีท่าว่าความคิดสร้างสรรค์จะหยุดลงง่าย  (จากยุคเอานักร้องมาเล่นเอง หานางแบบลูกครึ่งมาเป็นนางเอก CG ตระการตา เน้นการเล่าเรื่องที่กินใจ ไปจนถึงการ์ตูนแอนิเมชัน) เราเลยขอรวบรวมและแบ่งงานจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นกลุ่มต่าง ที่พอสังเกตได้ประมาณนี้ว่าเขาชอบทำออกมาเป็นแบบไหนกันบ้าง

ล้อเลียนละคร

สิ่งหนึ่งที่เป็นวัฒนธรรมที่ชัดมากของบ้านเราคือละครไทย ด้วยการแสดงที่เกินเบอร์ แต่งหน้าหนาเตอะ เสื้อผ้าหน้าผม สถานภาพทางเศรษฐกิจของตัวละครที่ต่างชั้นราวฟ้าดิน หรือบางเรื่องที่มีกิมมิกชัดเกิ๊น ก็เป็นสิ่งที่น่าเอามายั่วล้อมาก จนกลายมาเป็นงานดราม่าคอเมดี้ที่เราได้เห็นกันอยู่บ่อย

บูชาหนังชั้นครู Inspired by Genre Movies

Ring Ring ล้อ ‘Chungking Express’

The Waiter ล้อ ‘Moonrise Kingdom’

ล้อเกม

1991 – 1993 ล้อเกม Ragnarok

The Game ล้อเกม First Person Shooting (FPS) พวก ‘Counter Strike’ เป็นต้น

ล้อรายการโทรทัศน์ เกมโชว์

Dating Game

The Voice

Lo-Fi, VHS, Home Video

ด้วยเทรนด์ดนตรี bedroom pop หรือการทำงานแบบ DIY ตัดแปะ ไม่ต้องเนี้ยบมากแต่สามารถบอกเล่าลักษณะของดนตรีได้ชัดแจ้ง ก็ทำให้แนวภาพแบบนี้เป็นที่นิยมเหมือนกัน อาจจะใช้ฟุตเทจที่ไม่เกี่ยวเนื่องกันมาตัดแปะ เกรดสีให้ซีด ใส่เกรนเข้าไปเยอะ ก็เป็น aesthetic แบบนึง

เน้นท่าเต้น ล้อบอยแบนด์

เรื่องราวเซอร์เรียล

เล่นกับโซเชียลมีเดีย

หมัดฮุกเรียกน้ำตา

ตีความจากเพลงพร้อมความครีเอทิฟที่คาดไม่ถึง

ธีมจัด ย้อนยุค

รวมพลคนเศร้าหน้าบาร์/ร้านเหล้า

งานวิชวลจัด เน้นภาพ สี และองค์ประกอบศิลป์

งานคอลลาจ ทำมือ

งานแอนิเมชัน

นี่เป็นแค่ตัวอย่างจำนวนหนึ่งเท่านั้น เห็นไหมว่ามันมีเยอะมากเอามาให้ดูไม่หวาดไม่ไหวจริง ๆ และทุกผลงานก็มีจุดเด่นรวมถึงความน่าสนใจต่างกันไปตามรสนิยมของศิลปินที่เลือกผู้กำกับคนนั้น ๆ มาทำ ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ศิลปินและคนที่ทำฝั่งวิชวลกันต่อไป เรารอดูผลงานสนุก ๆ อยู่นะ

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้