Quick Read ตาดูหูฟัง

ความรู้สึกร่วมอันท่วมท้นจากพลังของ ‘เสียง’ ในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของปี ‘Roma’

  • Writer: Montipa Virojpan

ก่อนที่ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Alfonso Cuaron จะทำให้เขาได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม และรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจาก Golden Globe Awards 2019 คนที่ได้ชม Roma เมื่อปีที่แล้วต่างยกให้เป็นหนังในดวงใจโดยพร้อมเพรียงเพราะเนื้อเรื่องสุดประทับใจ

หญิงสาวคนหนึ่งที่ทำงานในครอบครัวร่ำรวยในย่านโรม่า เม็กซิโกซิตี้ ในปี 1970 ตอนนั้นเธอต้องพบความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ของคนรอบข้าง แม้แต่บ้านเมืองที่เธออาศัยอยู่ก็กำลังพบกับการเปลี่ยนผ่าน

แต่นอกเหนือไปจากวิธีการถ่ายทอดความทรงจำในวัยเด็กของกัวรองได้งดงามผ่านความแช่มช้าของจังหวะในการดำเนินเรื่อง การวางเฟรมภาพที่ชวนตะลึงงัน และการแสดงที่เป็นธรรมชาติของนักแสดงสมัครเล่นแต่ทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมได้ องค์ประกอบที่สำคัญมากที่ทำให้หนังขึ้นหิ้งภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีที่สุดเรื่องนึงนั่นคือ ‘เสียง’

อัลฟอนโซถือว่าหนังเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำของเขา บางเสียงมีความเฉพาะตัวสำหรับเขา ดังนั้นเราต้องหาวิธีทำให้เสียงนั้นออกมาถูกต้องที่สุด ราวกับว่าคุณอยู่ ตรงนั้นร่วมกับเขาในตอนนั้น” Craig Heninghan co-rerecording mixer ของหนังเรื่องนี้ เล่าถึงคอนเซ็ปต์การทำงานของกัวรองที่เชื่อว่าเสียงเป็นส่วนสำคัญในการเล่าเรื่อง

ที่เราพูดถึงเสียงในเรื่องนี้ไม่ใช่ score ที่เป็นเพลงช่วยสร้างอารมณ์ในหนัง แต่คือการใช้เสียงธรรมชาติรอบ setting มาช่วยพาเราย้อนกลับไปสัมผัสบรรยากาศของเม็กซิโกในยุค 70s ที่อาจจะไม่ได้ยินหรือรู้สึกอีกแล้วในปัจจุบัน ทั้งเสียงขบวนพาเหรด เสียงพ่อค้าเร่ขายของ เสียงเพลงป๊อปของยุคนั้นที่เล่นมาจากวิทยุ รวมไปถึงการบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของตัวละครในเรื่อง เสียงสุนัขเห่าตอนที่มีรถมาจอดหน้าบ้านพร้อมกับบีบแตรเสียงดัง หรือแม้แต่เสียงขัดพื้นในช่วงต้นของเรื่อง เสียงราดน้ำ ก่อนจะเฉลยในช่วงกลางของเรื่องว่าไม่ใช่เป็นแค่การล้างพื้นตอนเช้า แต่เป็นการทำความสะอาดสิ่งปฏิกูลของโบราสสุนัขที่บ้านเลี้ยงไว้ทำเรี่ยราด ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของครอบครัว

ในเส้นเรื่องที่ดำเนินไปอย่างสงบราบเรียบ มักจะมีอะไรที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ภาพอีกเช่นเดียวกัน เพราะเสียงในหนังก็เล่าแบบคู่ขนานอยู่ตลอด อย่างถ้าเราเห็นภาพของเหตุการณ์ปัจจุบันกำลังดำเนินไปอย่างสงบ ก็จะได้ยินของสถานการณ์ข้างนอกที่กำลังโกลาหล อย่างฉากที่โรงพยาบาล ตัวเอกของเรื่องกำลังดูความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตแรกเกิดในตู้อบ ในขณะที่ทุกคนกำลังวิ่งวุ่นเพราะกำลังเกิดแผ่นดินไหวและต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยด่วน หรือเสียงการจลาจลและความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความสูญเสียด้านนอกห้างสรรพสินค้า ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้คนกำลังเลือกซื้อเปลสำหรับเด็กเกิดใหม่อย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว สังเกตว่าหนังจะสะท้อนให้เห็นการเกิดไปพร้อม กับการตายหรือเฉียดตายในหลายสถานการณ์ เป็นจุดที่หนังพยายามจะสื่อกับเราอยู่ตลอดทั้งเรื่องว่าทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง และมักจะมาในช่วงที่เราไม่ทันตั้งตัวออกมาได้เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้สิ่งที่สัมผัสได้จากเรื่องนี้โดยตรงเลยคือเรื่องสเปซที่มีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของเรื่อง กัวรองให้ความสำคัญกับตรงนี้มากทั้งการออกแบบช็อตและการดีไซน์เซ็ตติ้ง เพราะบ้านแทบจะเป็นองค์ประกอบหลักของเส้นเรื่องเนื่องจากเล่าเกี่ยวกับครอบครัว และสัญลักษณ์ที่แจ่มชัดอย่างนึงของการเป็นครอบครัวคือบ้านในเว็บไซต์ Indie Wire เขียนว่า กัวรองไม่ให้บทหนังกับใครในกอง ยกเว้นแต่ Eugenio Caballero (production designer รางวัลออสการ์จาก Pan’s Labyrinth) ที่จะต้องสร้างบรรยากาศของเม็กซิโกในปี 1970 ขึ้นมาให้สมจริงที่สุด โดยแทนที่จะตีความจากตัวละครหรือเนื้อเรื่อง กลับกลายเป็นการทบทวนความทรงจำในวัยเด็กของกัวรองและตัวเขาเองซึ่งมีปู่ย่าที่อาศัยอยู่ในย่านโรม่าแบบในหนังจริง บ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ถ่ายทำในหนังก็มาจากภาพเลือนรางในอดีตที่พวกเขาช่วยกันปะติดปะต่อ เพราะบ้านจริงในปัจจุบันไม่เหลือเค้าบ้านที่กัวรองเคยอาศัยอยู่แล้ว แม้แต่พร็อพหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ในบ้านก็ต้องหาของลักษณะที่ใกล้เคียงที่สุดกับที่กัวรองเคยใช้ตอนเด็ก บวกกับการเพิ่มเสริมแต่งพื้นที่ส่วนต่าง ตามฟังก์ชันที่จะใช้เป็นส่วนสำคัญในการเล่าเรื่อง และเขาสามารถเลือกใช้ทุกมุมในบ้านออกมาได้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะการแพนกล้องไปแล้วเห็นห้องทุกห้องและได้เห็นพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวละคร โถงหน้าบ้านที่เป็นโรงจอดรถที่แทบจะแคบกว่ารถของบ้าน แต่เมื่อพื้นเปียกน้ำก็จะเห็นเงาสะท้อนของดาดฟ้าบ้านจนบางทีก็สามารถสังเกตเห็นว่ามีเครื่องบินบินบินผ่าน

และไม่ใช่แค่ความรู้สึกหรือลักษณะที่สมจริงของบ้าน เสียงก็ยังต้องทำให้เขารำลึกถึงวัยเด็กได้ด้วยเช่นกันอัลฟอนโซกำชับมาก ว่าเสียงในบ้านของเขาต้องมีความสมจริงตามยุคสมัย และที่สำคัญคือต้องใกล้เคียงกับความทรงจำของเขาด้วย ซึ่งการรีเสิร์ชเพื่อที่จะสร้างเสียงใหม่ให้ตรงกับสิ่งที่เขาคิด ทั้งฉากที่ถ่ายทำภายในและภายนอก ถือว่าเป็นงานที่ยากมาก” Sergio Diaz sound editor ของหนังเรื่องนี้เล่าอย่างภายในเราต้องเก็บรายละเอียดตั้งแต่เสียงบันไดเหล็กที่อยู่ด้านนอกสำหรับปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าของบ้าน เสียงสวิตช์ไฟ เสียงเดินเหยียบพื้นไม้ ส่วนด้านนอกบ้านก็ต้องมีเสียงนกร้องยามเช้า เสียงเครื่องบิน เสียงรถแล่นผ่านด้วยความเร็วปกติบนถนนเทเปฮี หรือเสียงรถที่วิ่งอยู่ไกล ในละแวกเดียวกัน

ดิอาซยังเล่าถึงการถ่ายทำฉากในห้องคลอด ที่ต้องบันทึกเสียงผู้หญิงกำลังคลอดจริง กับหมอและพยาบาลจริงไว้ถึง 4 เซ็ต และครั้งแรกที่กัวรองได้ยินเสียงที่บันทึกได้ก็บอกว่ายอดเยี่ยมมาก แต่ยังมีมิติไม่พอเราเลยต้องเคลื่อนย้ายของทุกอย่าง แล้วให้แม่อีกคนมาทำคลอดข้างหลังพวกเรา เพื่อที่ว่าเราจะได้ความรู้สึก 360 องศารอบ ราวกับว่าเราอยู่ใกล้กับตัวละครนั้นจริง ” sound designer อย่าง Skip Lievsay ที่เคยทำงานกับเขามาแล้วใน Gravity เล่าเสริม เนื่องจากว่าเขาก็ได้รับงานหินนี้เพราะต้องมิกซ์เสียงด้วยเทคโนโลยี Dolby Atmos ที่จะทำให้เราได้ประสบการณ์ภาพและเสียงในมุมกว้างที่มีรายละเอียดสมจริงเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นกับตัวละครนี่รวมไปถึงการมิกซ์ให้ความดังค่อยของสิ่งที่นักแสดงพูด ซิงค์ไปกับการแพนกล้อง หรือแม้แต่การเล่นเสียงที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ในภาพ ขณะนั้น แต่ก็ต้องได้ยินแบบสมจริงที่สุดเมื่อกล้องตัดไปที่เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินคู่ขนานอยู่

Roma

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีเสียงถูกบันทึกระหว่างถ่ายทำหนังเรื่องนี้ถึง 350 คลิปเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฉากในทะเลที่ทุกคนพูดถึง เพราะเรารู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในน้ำร่วมกับตัวละคร กำลังเผชิญกับวินาทีเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายสุดบีบคั้นนั้นจริง ผมรู้ทันทีว่าจะต้องใช้ Dolby Atmos อีกครั้งในหนังเรื่องนี้ มันสามารถเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำของผมได้… มันมีความทรงจำส่วนนึงที่เรารู้สึกห่างเหิน หรือถูกลบเลือนไป แต่มันจะมีความทรงจำอีกส่วนนึงที่ความรู้สึกลึก ของคุณสามารถพาเดินทางกลับไปได้ คือถ้าผมจะต้องเล่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตที่เกือบจะลืมไป สิ่งนี้ก็น่าจะถูกต้องถ้ามันจะหวนกลับมาเหมือนเป็นเดจาวู*ในแบบของผม” กัวรองเล่า

พอรู้อย่างนี้แล้วเรายิ่งไม่ปฏิเสธเลยที่อัลฟอนโซ กัวรอง จะได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม แล้วการให้ความสำคัญกับเสียงในภาพยนตร์อาจไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคที่ทำให้หนังเรื่องนั้นออกมาพิเศษกว่าเรื่องอื่น แต่เป็นความเชื่อที่เสียงสามารถกระตุ้นให้เราจำความรู้สึกในครั้งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ใช่แค่การเล่าเรื่องของเม็กซิโกในช่วงปี 70s แต่เป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำที่สำคัญมาก สำหรับเขา และอยากให้ความรู้สึกนั้นคงอยู่ตลอดไปต่างหาก

*เดจาวู คือความรู้สึกที่เหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต

ที่มา
https://www.indiewire.com/2018/12/roma-behind-the-scenes-production-design-alfonso-cuaron-exclusive-video-1202029407/
https://www.indiewire.com/2018/12/first-man-roma-a-quiet-place-sound-awards-oscars-2019-1202030846/
https://filmmakermagazine.com/106491-skip-lievsay-craig-henighan-alfonso-cuaron-roma/#.XDMf0c8zbVo
https://deadline.com/2019/01/roma-sound-design-alfonso-cuaron-memories-featurette-netflix-1202528025/
Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้