Songs About Cities

Quick Read Snacks

จากลอนดอนสู่นิวยอร์ก — เมื่อศิลปินร้องเพลงถึงเมืองที่พวกเขาผูกพัน

  • Writer: Malaivee Swangpol

หลาย ๆ ครั้งที่ชื่อเมือง ถนน สถานที่ ไปปรากฎอยู่ในเพลงของศิลปินหลากหลายคน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเพราะพวกเขาผูกพันหรือฝังใจกับสถานที่เหล่านั้น ไม่ว่าจะในแง่ดีหรือร้าย วันนี้เราขอมาเล่าเรื่องราวของ ‘เมือง’ ที่ปรากฎในเพลงของเหล่าศิลปินกัน

The Clash – London Calling (1979)

London calling to the faraway towns. Now war is declared and battle come down. London calling to the underworld. Come out of the cupboard, you boys and girls.

หนึ่งในเพลงที่เป็นเอกลักษณ์มาก ๆ เกี่ยวกับลอนดอน และเป็นเพลงที่ดังที่สุดของ The Clash เพลงนี้พูดถึงความตึงเครียด ความหวาดกลัวในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องวันสิ้นโลก อย่างท่อน London is drowning and I live by the river ซึ่งมีที่มาจากการก่อสร้างกำแพงกั้นแม่น้ำเทมส์ในปี 1982 ทำให้ผู้คนกลัวว่าถ้าเกิดผิดพลาด ลอนดอนตอนกลางจะจมน้ำเกือบหมด หรือจะเป็นความกลัวในพลังงานนิวเคลียร์อย่างท่อน A nuclear era, but I have no fear ที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ Three Mile Island ที่ Pensylvania ซึ่งไลน์กีตาร์ตอนจบยังเป็นรหัสมอสที่แปลได้ว่า S.O.S. อีกด้วย คำว่า London Calling มาจากเสียงพูดของ BBC World Sevice ในช่วงสงครามโลก เพลงนี้เป็นเพลงแรกของ The Clash ที่ได้ติดชาร์ตอันดับ โดยไปถึงอันดับที่ 11 ในอังกฤษ และยังคงได้รับการยกย่องให้เป็นเพลงดีเด่นของยุคโดยหลาย ๆ สำนักตลอดมา

ฟังศิลปินเล่าเรื่องลอนดอน: Pet Shop BoysLondon, The SmithsLondon, MokitaLondon, Eskimo Joe – London Bombs, David BowieThe London Boys, BlurLondon Loves 

Elton John – Paris (1986)

But when I get to Paris, we’ll paint all our portraits in brush-strokes of yellow and christen the canvas.

ปารีสคือเมืองในฝันที่ทุกอย่างจะสวยงามเสมอ Elton John เล่าเรื่องราวความโรแมนติกของปารีสไว้ในเพลงนี้ ซึ่งถึงแม้เขาจะต้องรอในสนามบินข้ามคืนกับหนังสือเพียงเล่มเดียว เขาก็ทนได้เพราะปารีสรอเขาอยู่ รอที่จะวาดภาพชีวิตอันด้วยแปรงพู่กันอันสดใส เดินท่องไปในมงมาร์ตกับเธอผู้สร้างสีสัน ริมแม่น้ำแซนอันเดียวดาย ดื่มเครื่องดื่มสีอำพัน ความสุขรอเขาอยู่ที่ถึงปารีส เพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม Leather Jackets ซึ่งเพลงนี้ก็ได้รับความนิยมในวิทยุถึงแม้จะไม่ได้ปล่อยเป็นซิงเกิ้ลก็ตาม

ฟังศิลปินเล่าเรื่องปารีส: Edit PiafParis, The 1975Paris, Tom Misch ft. GoldLinkLost in Paris, Billie Holiday April in Paris, Duke EllingtonParis Blues, Corinne Bailey RaeParis Nights/ New York Mornings

Joan Baez – Saigon Bride (1967)

Farewell, my wistful Saigon bride. I’m going out to stem the tide, a tide that never saw the seas. It flows through jungles, ’round the trees.  Some say it’s yellow, some say red. It will not matter when we’re dead

Joan Baez คือหนึ่งศิลปินหัวหอกเรื่องการรณรงค์สิทธิมนุษยชนและการต่อต้านความรุนแรง เธอเขียนเพลงโฟล์กการเมืองและประท้วงทางสังคม Saigon Bride บอกเล่าเรื่องราวของสงครามเวียดนามผ่านการบอกลาในท่อน Farewell my wistful Saigon bride ทั้งเพลงอวลไปด้วยความสิ้นหวังของคนหนุ่มกับการไปสงครามที่มองไม่เห็นโอกาสในการได้กลับบ้าน ซึ่งถ้าโชคดีได้กลับก็ได้เงินซักเล็กน้อย แต่โชคร้ายก็ตาย อย่างในท่อน Some say it’s yellow, some say red, It will not matter when we’re dead โดยในสงครามเวียดนามมีคนตายกว่า 58,000 คน รวมถึงเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังแทนคำว่า ‘กระแสคอมมิวนิสต์’ ในเวียดนามด้วยคำว่า tides, seas, waves รวมถึงการพูดถึงสงครามเย็นที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแข่งขันกันไปอวกาศจนมีคนตายมากมาย ในท่อนสุดท้าย เธอกลับมาร้องท่อนเวิร์สแรกอีกครั้งเพื่อย้ำความโหดร้ายของสงคราม Saigon Bride ยังอาจตีความไปได้ถึงการที่ไซง่อนถูกยึดครองโดยจีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เหมือนการถูกกระทำย่ำยีซ้ำ ๆ แล้วก็จากไป

ฟังศิลปินเล่าเรื่องไซง่อน (โฮจิมินห์): Billy Joel – Goodnight SaigonMartha and the Muffins – Saigonthe Charlie Daniels Band – Still in SaigonBarry Sadler – SaigonIndochineVietnam Glam 

The Wombats – Tokyo (Vampires & Wolves) (2011)

If you Love me let me go back to that bar in Tokyo. Where the demons from my past leave me in peace.

ซิงเกิ้ลแรกจากอัลบั้ม This Modern Glitch ของ The Wombats ซึ่งเพลงนี้และหลาย ๆ เพลงในอัลบั้มก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับการหนีจากความจริง ในเพลงนี้ พวกเขาฝันที่จะได้หลุดพันจากการทัวร์อันหนักหน่วงที่ทำให้พวกเขาไม่ได้นอน อย่างท่อน I wear a suitcase under each one of my eyes ก็คือการที่ต้องตื่นมาลากกระเป๋าไปสนามบินทั้ง ๆ ที่ไม่ไหวแล้ว หรืออย่างท่อน If you Love me let me go back to that bar in Tokyo ที่ตะโกนบอกทุกคนว่า ไม่ไหวแล้ว ปล่อยเรากลับไปที่โตเกียวเมืองแห่งความสุขที!! รวมถึงการวาดฝันว่าการได้หนีไปจะทำให้พวกเขามีความสุข ที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ที่นี่ต้องมีความสุขมาก ๆ แน่ ๆ เลย ในท่อน The grass will be greener on the other side and the vampires and wolves won’t sink their teeth ซึ่งเพลงนี้ก็ติดอันดับที่ 8 ในชาร์ต Triple J Hottest 100 ปี 2010

ฟังศิลปินเล่าเรื่องโตเกียว: White LiesTokyo, B’zTokyo, Imagine DragonsTokyo, Mr. ChildrenTokyoElvis Costello – Tokyo Storm Warning30 Seconds to Mars – Anarchy in Tokyo

RM – Seoul (prod. HONNE) (2018)

If love and hate are the same words, I love you Seoul. If love and hate are the same words, I hate you Seoul.

ผลงานเดี่ยวจาก RM หรือ คิมนัมจุน แรปเปอร์, หัวหน้าวง และ นักแต่งเพลงแห่งวงบอยแบนด์ BTS เพลงนี้เป็นซิงเกิ้ลที่ 2 จาก mixtape mono. ของเขา โดยเพลงนี้ได้ HONNE มาโปรดิวซ์และทำดนตรีให้ เขาเล่าถึงความผูกผันกับเมืองโซลที่ตอนนี้เขาเรียกว่า ‘บ้าน’ โดยเล่าถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น แม่น้ำฮัน, คลองชองกเยชอน,​ เกาะซอนยูโด หรือจะเป็นวิวทิวทัศน์ของตึกที่เหมือนกันไปหมดและกลิ่นของสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเล่าเรื่องผ่านคำพูดของคนขับแท็กซี่ที่บอกเขาว่าโซลเป็นที่ ๆ น่าอยู่มาก ๆ ถ้ามีเงิน โดยเพลงนี้เล่าเกี่ยวกับ love/hate relationship อย่างท่อน If love and hate are the same words, I love you/I hate you Seoul. หรือท่อน I’m livin’ you/ I’m leavin’ you ที่เหมือนเถียงกับตัวเองว่าจะอยู่ที่นี่หรือจะไป รวมถึงการเล่นคำอย่าง I love you Seoul ที่ฟังแล้วได้เป็น so, soul, Seoul เหมือนการเชื่อมโยงเมืองโซลกับจิตวิญญาณของเขาที่สุดท้ายก็ตัดกันไม่ขาด

ฟังศิลปินเล่าเรื่องโซล: The Black SkirtsIn  My City of Seoul – , Lee Hyori feat. KillagramzSeoul, B1A4SEOUL, HYUKOHGoodbye Seoul

The New Coast – Melbourne (2016)

And I don’t want it to end but this is a mad love and I don’t want you to see my, my true colours. Take another swim in my pool. The Melbourne air is cool but I’m begging you, ain’t a fool.

พวกเขาคือวงสองชิ้นจากลอนดอนผู้ถนัดเขียนเพลงป๊อปเนื้อหาซึม เพลงนี้อยู่ใน EP เปิดตัวของพวกเขา Paraga Beach เพลงนี้เล่าเรื่องการตกหลุมรักหัวปักหัวปำโดยมีฉากหลังเป็นเมืองเมลเบิร์นที่หนุ่มสาวออกมาสนุกกันท่ามกลางอากาศสบาย ๆ ได้ตลอด เพลงนี้ใช้สีมาเป็นตัวเล่าเรื่อง อย่าง blue ที่อาจจะหมายถึงทั้งสีสดใสของท้องฟ้าในวันอากาศดีที่เมลเบิร์น แต่ในขณะเดียวกันก็หมายถึงความหม่นเศร้า หรืออย่าง red ที่ใช้อธิบายถึงความลุ่มหลงในความรัก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการบอกว่า And I don’t want you to see my, my true colours ที่อยากเลิกกับคนรักก่อนจะเผลอเผยตัวตนที่ไม่อยากเปิดเผยออกมา เพลงนี้เล่าเรื่องชีวิตชาวเมลเบิร์นอย่างการเล่นน้ำ หรือจะเป็นการไปเที่ยวทะเล ทั้งการโต้คลื่น และการเดินริมหาด

ฟังศิลปินเล่าเรื่องเมลเบิร์น: The WhitlamsMelbourneThe DC3Melbourne BurningPaul Kelly and the Coloured GirlsMelbourne GirlsDave GraneyMelbourne Mafia

Bloc Party – Montreal (2012)

But then I tell her that it’s not my home anymore, and they’ve made it perfectly clear.

เพลงนี้อยู่ใน EP The Nextwave Sessions ของพวกเขา พูดถึงการต้องเลือกชีวิตศิลปินที่มีชื่อเสียง ได้เดินทางทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทนฟังเสียงเพื่อน ๆ เรียกร้องให้กลับมาหา ซึ่งสุดท้ายแล้วเขาก็เลือกตอบไปว่า But then I tell her that it’s not my home anymore and they’ve made it perfectly clear โดยในเพลงพูดถึงสถานที่ในมอนทรีอัลอย่างถนน Saint Catherine และมีท่อนที่ใช้คำภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษาหลักในมอนทรีอัล ท่อน Losing the daytime to faire le goûter ซึ่งแปลได้ประมาณว่า ผลาญช่วงกลางวันไปกับการกินขนม

ฟังศิลปินเล่าเรื่องมอนทรีอัล: Frank ZappaMontreal, MelvinsMontreal, of MontrealMontreal, RooseveltMontreal, Rufus WainwrightMontreal, The WeekndMontreal 

Arctic Monkeys – Fake Tales Of San Francisco (2006)

Fake Tales of San Francisco echo through the air and there’s a few bored faces at the back. All wishing they weren’t there.

ซิงเกิ้ลจากอัลบั้ม Whatever People Say I Am, That’s What I’m Not ที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา เพลงนี้เป็นเพลงแรกที่วงได้บันทึกเสียงขึ้นมา โดยพวกเขาเขียนขึ้นจากจินตนาการของวงดนตรีจากอังกฤษที่ไม่เคยไปเหยียบซาน ฟรานซิสโก อย่างท่อน I’d love to tell you all my problem, you’re not from New York City, you’re from Rotherham และ He talks of San Francisco, he’s from Hunter’s Bar ซึ่งนั่นก็คือเหตุผลที่เพลงนี้ชื่อ ‘เรื่องเล่าตอแหลเกี่ยวกับซาน ฟรานซิสโก’ โดยในท่อนฮุค I don’t want to hear you, kick me out, kick me out ก็เหมือนเป็นเสียงของผู้ชมที่ตะโกนด่าวงดนตรีที่เล่นห่วย ๆ บนเวที จนต้องหนีไปข้างนอกในท่อน “Oh, you’ve saved me” she screams down the line “The band were fucking wank and I’m not having a nice time” 

ฟังศิลปินเล่าเรื่องซาน ฟรานซิสโก: Vanessa CarltonSan FranciscoVillage People – San Francisco (You’ve Got Me)Thelonious MonkSan Francisco HolidayScott McKenzie – San Francisco (Be Sure To Wear Flowers In Your Hair)Eric ClaptonSan Francisco Bay Blues, Sun RaiSan Francisco Street

blink 182 – Los Angeles (2016)

Los Angeles, when will you save me. Los Angeles, I’m never coming home. 

เพลงจากอัลบั้ม California โดยเพลงนี้เล่าเรื่องความยากลำบากในการอาศัยอยู่ลอส แองเจลิส Matt Skiba (นักร้อง/กีตาร์)​ เขียนขึ้นจากความรู้สึกของเขาในการอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ เมืองที่มีต้นปาล์มเรียงรายเหมือนในฝัน แต่ในขณะเดียวกันห่างไปไม่กี่ถนนก็มีอาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ อย่างท่อนแรก Day in day out ที่พูดถึงการทำงานหาเช้ากินค่ำ โดยอย่างท่อน Listen to the sound of the voices south of Fifth ก็หมายถึงการให้ฟังเสียงของเหล่าคนไร้บ้านที่มีกว่า 6,000 คนในย่าน Skid Row หรือย่างในท่อนฮุค เสียงร้องคร่ำครวญ Hey Los Angeles when will you save me? ก็เหมือนการขอร้องให้ใส่ใจความยากลำบากของคนทุกคนจริง ๆ ทั้งคนจนและคนรวย แต่ในขณะเดียวกันความ ignorant ของคนรวย ๆ ในลอส แองเจลิส ก็ทำให้พวกเขาพูดว่า Wake me when this war is over ปล่อยทุกคนลำบากไปสิ ก็ฉันสบายแล้ว

ฟังศิลปินเล่าเรื่องลอส แองเจลิส: The DecemberistsLos Angeles, I’m Yours, SugarcultLos Angeles, Red Hot Chilli PeppersOut in L.A.SlowdiveVisions of L.A., St. Vincent Los Ageless

LCD Soundsystem – New York, I Love You But You’re Bringing Me Down (2007)

New York, I Love You, but you’re bringing me down.  New York, you’re safer and you’re wasting my time.

นิวยอร์กคือเมืองที่เรียกกันว่า city of dreams แต่สุดท้ายกลายเป็นเมืองแห่งฝันร้ายของใครหลาย ๆ คน James Murphy นักร้อง/นักแต่งเพลงของวงเติบโตที่ New Jersey เมืองที่ห่างจากนิวยอร์กแค่ไม่ถึงชั่วโมง ทำให้ตอนเด็ก ๆ เมืองนี้เป็นเมืองในฝันที่สดใส มีชีวิตชีวา ซึ่งในเพลงนี้เขาเล่าเรื่องว่านิวยอร์กเปลี่ยนไปอย่างไรในสายตาเขา โดยในเพลงค่อย ๆ เพิ่มไดนามิกขึ้นไปเรื่อย ๆ จากตอนแรกเป็นแค่เปียโน และจบที่ดนตรีเต็มวง เหมือนเวลาใครกำลังคิดอะไรบางอย่างอยู่แล้วถลำลึกขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างท่อน Like a rat in a cage pulling minimum wage คือเล่าให้เห็นภาพชัดเจนมาก ๆ กับความ struggle ของคนที่อาศัยในนิวยอร์ก ทั้งห้องพักรูหนู และค่าจ้างน้อยนิด โดยถึงแม้นิวยอร์กจะปลอดภัย แต่ก็มันก็น่าเบื่อ ร้านรวงก็ถูกปิดเพื่อร้านใหญ่ ๆ ใหม่ ๆ มาแทน ในเพลงก็ร้องคำว่า New York, I love you but you’re bringing me down ซ้ำ ๆ ย้ำในความผิดหวังของเขาที่มีต่อนิวยอร์ก ก่อนจะทิ้งท้ายไปด้วย Maybe mother told you true and they’re always be something there for you and you’ll never be alone. But maybe she’s wrong and maybe I’m right. เหมือนในที่สุดก็ยังคงสงสัยในตัวเอง และจะจมอยู่กับความ love/hate relationship ในเมืองนี้ต่อไป

ฟังศิลปินเล่าเรื่องนิวยอร์ก: Frank SinatraNew York, New York, InterpolNew York, Ryan AdamsNew York, New York, Bob DylanTalkin’ New York, Harry StylesEver Since New York, St. VincentNew York, Snow PatrolNew York 

หรือถ้ายังไม่จุใจ สามารถไปอ่านต่อเรื่องกรุงเทพ ฯ ที่ไปปรากฎในเพลงได้ ที่นี่ > Songs About Bangkok มองกรุงเทพ ฯ ผ่านเพลงจากศิลปินต่างชาติ

Facebook Comments

Next:


Malaivee Swangpol

มิว (เรียกลัยก็ได้)​ โตมาข้าง ๆ วงมอชแต่ตอนนี้ฟังทุกแนว ชอบอ่านหนังสือ ตามหาของกินอร่อย ๆ และตอนนี้ก็คงกำลังวางแผนเที่ยวรอบโลกอยู่