The Sound of Architecture เมื่อเรารับรู้ตัวตนของสถาปัตยกรรมได้ด้วยการฟัง
- Writer: Montipa Virojpan
Music is liquid architecture; Architecture is frozen music.”
― Johann Wolfgang von Goethe
มีคนเคยบอกว่าอันที่จริงแล้วดนตรีกับสถาปัตยกรรมมีความคล้ายคลึงกันอยู่ แม้รูปแบบที่ถูกแสดงออกมาจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อย่างดนตรี เราจะรับรู้การมีอยู่ของมันได้ก็ด้วยการฟัง ส่วนงานสถาปัตยกรรมก็เป็นสิ่งที่มองเห็นได้หรือสามารถมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้โดยตรง ซึ่งในความแตกต่างของสองสิ่งนี้ก็มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ คือจุดเริ่มต้นมักจะมาจากการคิดเชิงโครงสร้าง ดนตรีจำเป็นต้องมีการคิดทำนอง เนื้อร้อง จังหวะ ส่วนงานสถาปัตยกรรมก็ต้องมีการออกแบบ การคำนวน และการเลือกใช้วัสดุ ก่อนที่จะออกมาเป็นงานที่สมบูรณ์อย่างที่เราเห็นหรือได้ฟังกัน
หรือถ้าให้มองลึกไปกว่านั้น ดนตรีและสถาปัตยกรรมกลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ ลวดลาย เฉดสี หรือแสงเงา เทียบได้กับ mood and tone หรือมิติของดนตรีที่บรรเลงออกมา และใช้สื่อสารในสิ่งเดียวกันได้ อย่างอาคารที่ตกแต่งออกมาแบบ industrial loft ให้ความรู้สึกดิบ แข็งกร้าว เปิดเผยตรงไปตรงมา เหมือนกับดนตรีพังก์ที่สื่อสารแบบไม่ซับซ้อน เรียบง่าย เน้นความกระชับและชัดเจน ทั้งการเรียบเรียงดนตรีและเนื้อร้อง
แล้วเราเคยลองคิดเล่น ๆ ไหมว่าสถาปัตยกรรมอาจจะมีเสียงของมันเอง แล้วจะเป็นยังไงถ้าเราสัมผัสตัวตนของสถาปัตยกรรมนั้นได้ด้วย ‘การฟัง’ ไม่ใช่แค่การดู
ซึ่งในความคิดเล่น ๆ ของเรากลับมีคนคิดจริง ๆ ด้วยการ decode โครงสร้างสถาปัตยกรรมอย่าง พื้นผิวอาคาร (façade) ลวดลาย (pattern) และวัสดุ (material) ออกมาเป็นองค์ประกอบเสียง อย่างไม้ กระจก ปูน หรือ เหล็ก ก็จะมีเสียงเฉพาะของตัวเอง ส่วนจังหวะในเพลงจะเกิดขึ้นจากลวดลายอาคารหรือการเรียงตัวของฟาซาด ทั้งหมดจะถูกนำมาเขียนโค้ดให้กลายเป็นกราฟฟิกอย่างง่าย และถูกแปลงให้กลายเป็นเสียง ก่อนจะนำไปเรียบเรียงให้เกิดเป็นเพลง
เราไปแอบรู้มาว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบเสียงสำหรับตึกรามบ้านช่องพวกนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ตั้ม Monotone นั่นเอง
“ตั้งแต่ได้รับโจทย์มาก็คิดว่า โอ้ ใช้เลย อยากเชื่อมสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน คือการดีไซน์ architecture กับการคิดเพลงเพลงนึง มันมีคอนเซปต์อะไรบางอย่างที่สอดคล้องเข้ากันอยู่ การที่เรารับรู้ rhythm ของเสา กับจังหวะกลองที่เกิดขึ้น เวลาเราได้ยิน มันคือสิ่งเดียวกัน ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่บีบเราเข้าสู่ทางแคบ ๆ แล้วไปเปิดโล่ง มันก็เหมือนการที่เรามิกซ์เพลงเพลงนึงที่บีบมาก ๆ แล้วก็ไปผ่อนคลาย มันคือการเรียบเรียง melody element ต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องของ architecture ทั้งหมด ที่ยากก็คือเราจะถอดรหัสยังไง”
ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังสร้างเครื่องเล่นแผ่นเสียงขึ้นมาสำหรับเล่นเพลงจากสถาปัตยกรรมนั้นโดยเฉพาะ โดยจะอ่านกราฟฟิกที่ได้และแปลงเป็นเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียงน้ีเล่นได้จริง และสามารถเปลี่ยนแผ่นเพื่อเล่นเพลงที่แตกต่างกันได้ โดยทีมงานทดลองกระบวนการนี้กับ 5 โครงการของ Noble และผลที่ได้คือแต่ละโครงการจะมีแผ่นเสียงที่มี pattern แตกต่างกันไปตามโครงสร้างการออกแบบที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง
“ตัวสถาปัตยกรรมจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของเสียงและวิธีที่จะครีเอทออกมาเป็นซาวด์ ตัวเนื้อเสียงนี่ก็ออกมาจากตัวโครงการเอง เราเข้าไปบันทึกเสียงด้วยวิธีต่าง ๆ พอเก็บข้อมูลที่เป็นเสียงมาได้ เราก็เอามาผ่านกระบวนการ sound synthesis เราเอากราฟฟิกที่ได้มาลองวางให้เกิดเป็นเสียง ให้แทนด้วยสีดำ สีเทา สีขาว สีดำคือความดัง 100% สีเทาจะเฟดลงมา คือ 50% ส่วนสีขาวคือ 0% ไม่มีเสียง มันจะมีความซับซ้อนและยากอยู่ แม้เราจะกำหนดให้ทุกเพลงมีความยาว 1 นาที แต่การเรียบเรียงของมันที่ถอดออกมาจะเป็นตัวกำหนดจังหวะที่เกิดขึ้นในเพลง สมมติเราแบ่ง 1 นาทีมี 64 บีท (ห้อง) เราต้องทดลองเอากราฟฟิกแต่ละอันเข้าและออก หรือเอามาซ้อนกัน ต้องทำให้มันเกิดความสมูธ หรือฮาร์โมนีที่มันเข้ากัน และสื่อออกมาตามคอนเซปต์ของแต่ละโครงการได้จริง ๆ
“ซึ่งการที่เราจะทำแต่ละเพลงสอดคล้องกับแต่ละโครงการก็ต้องเข้าใจก่อนว่าแต่ละโครงการมีเอกลักษณ์หรือคาแร็กเตอร์ยังไง อย่างโครงการ Noble เพลินจิต มีความเป็น modern living อาคารสูง สวยงาม เราจะสะท้อนออกมาด้วยการใช้ซาวด์แบบ futuristic หรือมีจังหวะที่ซับซ้อนมากขึ้น ก็ต้องลองทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ได้สิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และดีที่สุด”
ถ้าใครอยากรู้ว่าสถาปัตยกรรมแต่ละโครงการมีเสียงของตัวเองเป็นแบบไหน และอยากลองเล่นเจ้าเครื่องนี้ของจริง ไปเจอกันที่งาน Noble the Sound of Architecture ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 21-24 กันยายนนี้ ชั้น 1 สยามพารากอน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่