Interview

Tuna Dunn ขย้อนความรู้สึกสู่ผลงานรูปแบบใหม่ แรงบันดาลใจจากความว่างเปล่า

Tuna Dunn หรือ ตุล—ตุลยา ตุลย์วัฒนจิต illustrator เจ้าของลายเส้นเรียบง่ายที่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ได้อย่างกินใจช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บางคนอาจทราบว่าเธอก็เคยเป็น visual designer ที่ ฟังใจ อยู่พักนึง แต่ก็มีช่วงที่ผลงานของ Tuna Dunn เงียบหายจากสื่อต่าง ๆ เพราะตุลไปศึกษาต่อในสาขา Illustration and Visual Media ที่ London College of Communication ประเทศอังกฤษเป็นระยะเวลาปีกว่า ๆ

ช่วงปิดเทอมปีก่อน ตุลกลับมาเจอกับเราและอัพเดตชีวิตการเป็นนักเรียนนอก ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกันตามประสาอดีตเพื่อนร่วมงาน แต่จากการพูดคุยอย่างกันเองนั้นเรากลับรู้สึกได้ว่าตุลเปลี่ยนไปมาก ทั้งวิธีพูด ลักษณะท่าทาง หรือความคิดที่ดูโตขึ้น และดูขึงขังขึ้นกว่าตอนที่มาให้สัมภาษณ์ที่ Fungjaizine ครั้งแรกเมื่อปี 2016

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

Tuna Dunn ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของตัวเองบ้างไหม

จริง ไม่ใช่คนมานั่งวิเคราะห์เท่าไหร่ว่าตัวเองเปลี่ยนไปขนาดไหน แต่จะมีเพื่อนทักมากกว่า เช่น ‘มึงดู  aggressive ขึ้น ดุขึ้น’ ซึ่งไม่รู้เหมือนกัน อาจจะเพราะต้องไปอยู่คนเดียวที่นู่น ไม่มีใครไปดูอะไรด้วยก็ไปคนเดียว ก็ไม่เห็นเป็นไร แล้วมันก็ดีมากเลยนะ เรารู้สึกว่าเป็นครั้งแรกที่เรารับผิดชอบตัวเองจริง ได้อยู่กับตัวเอง ไม่ได้มีความต้องการจากคนรอบข้างว่าเราต้องเป็นอย่างนู้นเป็นอย่างนี้ เพราะไม่ได้มีคนรู้จักเราอยู่ที่นั่น 

แต่มันก็ยากเหมือนกัน ตอนแรกที่ไปถึง การเรียนมันเปิดกว้างมาก แบบที่เขาไม่ได้คาดหวังว่าเราต้องอยู่ในกรอบอะไรเลย เราก็เลยมีความเคว้งมาก ๆ กว่าจะมาปลง และช่างแม่ง ก็ใช้เวลาประมาณนึง ฟังดูเศร้า แต่มันก็แค่นั้นปะ ก็ใช้ชีวิตแบบนี้ แค่นี้แหละ แล้วก็อยู่ในที่ที่คนยอมรับความเห็นต่างประมาณนึง หรือเขาก็ค่อนข้างสนับสนุนให้เราพูด เขาไม่เห็นด้วยกับเรา ก็เรื่องของมึง หรืออะไรที่เราไม่เห็นด้วย ก็ทำให้เราพูดมากขึ้น มันมาจากความหงุดหงิดเวลาอยู่ในคลาสที่เต็มไปด้วยคนจีนที่ไม่พูดอะไรเลย ไม่มีการถกเถียงกัน เหมือนถ้าอยู่ในไทย คลาสที่อาจารย์ให้ discuss เด็กที่พูดเยอะจะถูกมองว่า ‘เฮ้ย มึงเลียอาจารย์’ ‘มึงออกหน้า’ จะโดนหมั่นไส้ เราว่าเด็กเอเชียนหลายคนจะมีความรู้สึกนี้จากการที่ต้องออกความเห็น หรือกลัวว่าความเห็นจะผิด เราก็จะมีความแบบ ‘เฮ้ย คลาสมันไม่ดำเนินต่อไปสักที’ มันไม่ใช่ว่าเราอยากพูดอะไรขนาดนั้น แต่คือรำคาญ และกูจะได้ทำอย่างอื่น เสียเวลา (หัวเราะ) มีอะไรก็พูด ๆ ไป 

โกลของการไปเรียนต่อครั้งนี้คืออะไร คาดหวังจะได้อะไรจากการไปเรียนหลักสูตรนี้

ความจริงเลยคือครึ่งนึงไปเรียนต่อเพื่อให้พ่อแม่สบายใจ มันก็ดูเป็นโกลอย่างนึงของเขาในการเป็นพ่อแม่ ว่าลูกทุกคนต้องได้เรียนต่างประเทศ เพราะฉะนั้นเราก็เหลือแค่ต้องเรียนโทแล้ว ก็ไปเรียนซะ ส่วนอีกอันคือรู้สึกว่าต้องไปใช้ชีวิตต่างประเทศแล้วแหละ เพราะเราอยู่ในที่เดิมมา 20 กว่าปี ทำงานงก งง อยู่เรื่อย แล้วมันดูไม่ได้ไปไหน การที่เรามีโอกาสที่จะได้ไปอยู่ต่างประเทศมันก็เป็นเรื่องจะได้เกิดอะไรบางอย่างขึ้นกับชีวิตสักหน่อย จะได้รีเฟรช หยุดทำงาน commercial สักพัก แล้วทำงาน personal จริง เพราะการไปเรียนก็คือการได้ทำงานตัวเองนั่นแหละ

มันคือ Illustration and Visual Media ของ London College of Communication ตอนที่อ่านคร่าว ในเว็บมันค่อนข้างเป็นคอร์ส illustration ที่ดูเปิ๊ดเปิด หมายถึงว่าจะทำอะไรก็ทำได้หมดเลย รู้สึกว่ามันน่าจะทำให้เราเกิดอะไรใหม่ ขึ้นมาได้ ในอีกทางนึงที่เลือกอันนี้เพราะรู้สึกว่าน่าจะสอบติด ตอนนั้นมันมีอะไรไม่รู้เต็มไปหมด แล้วก็อันนี้เรียนแค่หนึ่งปีสามเดือน อันอื่นสองปีเลย มันก็โอเคนะ

แต่รุ่นเราพอเข้าไปแล้วเป็นรุ่นหนูทดลองนิดนึง เหมือนเขากำลังปรับหลักสูตร เปลี่ยนหัวหน้าคอร์ส มันเลยทำให้มีความไม่ลงตัวกับวิธีการสอน เด็กเหมือนถูกปล่อยเกาะประมาณนึง มันเปิดกว้างกว่าที่เราคิดเพราะเขาต้องการให้ยูทำอะไรก็ได้ เด็กที่ทำงานดีไซน์หรือทำ commercial มาจะปรับตัวยากนิดนึง เพราะเขาไม่ต้องการเหตุผลว่าทำไมเราเลือกทำแบบนี้ เขาแค่ต้องการให้เราพัฒนาสไตล์ของตัวเองไปเรื่อย ไปค้นหาตัวเอง เกิดความเข้าใจในงานของตัวเอง หรือแม้แต่ตัวเองมากขึ้น เพื่อสร้างงานที่แข็งแรงขึ้นในอนาคต มันจะกลายเป็นงาน commercial หรือ personal มั้ยไม่รู้ แต่เขาก็ push ไปใน direction ที่ไม่ตอบสนองลูกค้าเป็นหลัก เป็น contemporary art คือเขาใช้คำว่า พวกเราเป็น ‘image maker’ ไม่ใช่ ‘illustrator’ คือทำอะไรก็ตามที่สายวิชวลจะสร้างภาพขึ้นมา ด้วยวิธีอะไรก็ตามแต่ ซึ่งตอนแรกเราต่อต้านมาก แต่สุดท้ายก็เข้าใจได้ว่ามันคือโกลของหลักสูตรแหละ เขาต้องการให้เราทำ personal work เป็น self development มากกว่าตอบสนอง commercialized illustration (ภาพประกอบเชิงพาณิชย์) 

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

แบบนี้มันบังคับให้เราต้องมีสไตล์ที่แข็งแรงพอเพื่อบอกว่านี่คืองานของเราด้วยหรือเปล่า

อันนั้นก็แล้วแต่ คือเขาพูดถึงเรื่องการ research โดยการทำซะเยอะ วิธีคิดมันไม่เหมือนกับที่เรียนดีไซน์มาก่อนหน้านี้ เวลาเราที่เรียนดีไซน์คือเราต้องหาข้อมูลให้ครบก่อน วิเคราะห์ทุกอย่าง หา solution ดีที่สุด แล้วค่อย execute ถูกไหม แต่อันนี้เขาค่อนข้างอยากให้เราทำไปเรื่อย เลยแล้วมันจะออกมาเอง ให้ค่อย ตกตะกอนเวลาทำ เขาไม่ชอบให้เราวางแผนอะไรล่วงหน้า หรือสเกตช์ว่ามันจะจบแบบนี้ เขาชอบอะไรที่เหมือนเรายังไม่รู้เลยว่าเราจะทำอะไร เป็น process อีกแบบนึง (SLICE: เป็นสาย experiment ที่ย้อนกลับไปสู่วิธีทำงานแบบเก่า คือทำงานจากวัตถุดิบที่มีอยู่ว่าจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง) อะไรประมาณนั้น เขาชอบให้ทดลองมากกว่าให้เราคิดว่าควรจะทำแบบไหน เขาชอบให้เราพลาด ให้เราคิดไม่ออก เพราะอาจจะทำให้เกิดอะไรน่าสนใจมากกว่าการคิดตาม process มั้ง

เพราะถ้าคิดล่วงหน้า มันจะกลายเป็นว่าเราไปตีกรอบให้ความคิดเราเอง

ใช่ และมันเหมือนกับว่า มี quote อันนึงของ Tadanori Yokoo กราฟิกดีไซเนอร์คนญี่ปุ่นที่เราใช้ในธีสิสที่เกี่ยวกับ intuition (สัญชาตญาณ) หรือ improvisation เราไปอ่านเจอบทสัมภาษณ์เขาใน Apartmento บอกว่า เขาคิดว่าการที่เราใช้เหตุผลในการวาดรูปมันจะทำให้เราเห็นภาพตอนจบ แล้วการที่ทำให้เราเห็นภาพตอนจบระหว่างที่เราสร้างงาน แปลว่าเรากำลังตัดสินตัวเองไปด้วย ว่าเมื่อเสร็จแล้วมันจะได้เท่ากับภาพที่เห็นในหัวหรือเปล่า ซึ่งการ judge ไปแล้วนี้จะทำให้งานแย่กว่าที่เราคาดหวังอยู่แล้ว เหมือนเป็นการตัดสินกระบวนการทำงานของตัวเองโดยจิตสำนึก (subconsciously judging your process) ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่ เขาเลยพูดถึงเรื่อง intuition เยอะ

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

คิดว่าเขาควรเพิ่มอะไรเข้าไปในหลักสูตร

เราเคยพูดเรื่องนี้กับมหาลัย เพราะอยู่ดี ก็ได้ไปเป็นกรรมการนักศึกษาแบบประชุมครั้งเดียว เพราะมันเป็นเทอมสุดท้ายพอดี ปัญหาก็คือว่า facilities ที่โรงเรียนดีมากก็จริง มีทุกอย่างครบ จะทำหนังสือตั้งแต่ต้นจนจบ สร้างเฟอร์นิเจอร์ ทำ vr ได้หมดเลย แต่คราวนี้มันไม่มี studio space ให้กับเด็ก ห้องเรียนเฉย มันก็ไม่ค่อยดี ไม่น่านั่งทำงาน ไม่มีโต๊ะของเราเอง ไม่มีที่เก็บของที่จะไม่มีคนมายุ่ง มันก็ทำให้เด็กไม่อยากอยู่ เรียนเสร็จกลับบ้านไปทำงานสบายใจกว่า ทีนี้พอกลับไปทำงานที่บ้านก็ไม่ได้ใช้ facilities แล้วพอกระจายกันก็จะไม่มีเพื่อนมานั่งทำงานด้วยที่โรงเรียน มันก็จะไม่มี productive energy ที่จะกระตุ้นคนข้าง มันเลยทำให้ทุกคนโดดเดี่ยว และมีเยอะมากในคลาสเราที่เรียนเสร็จแล้วหายไปเลย เจอกันใหม่คลาสหน้า

การที่เขาไม่ปรับปรุงสถานที่ หรือห้องไม่พอให้เด็กเรียน มันส่งผลกระทบมาก กับการที่เด็กได้มาเรียนหลักสูตรนี้ เรารู้สึกว่าของรุ่นเราเขาให้งานน้อยไป ทำให้เด็กไม่อยากอยู่ที่มหาลัยเท่าไหร่ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะต้องอยู่ มันก็เลยทำให้มันมีความเคว้งคว้างนิดนึง อย่างแบบฝึกหัดที่เขาให้ทำกระจุกกระจิกมันควรจะมีการให้คะแนน ไม่งั้นกูก็ไม่ทำสิเพราะมันไม่นับคะแนน ไม่เกี่ยวกับการจบเลย คะแนนที่นับมีแค่ตัวจบ ระหว่างนั้นเด็กจะโหลยโท่ยแค่ไหนก็ได้ ไม่มาโรงเรียนก็ได้ ถ้างานจบดีมันก็จบ

เราว่ามันค่อนข้างกระทบการทำงานสายครีเอทีฟนิดนึง การทำงานคนเดียวมันก็จะได้แค่นั้น พอ feedback ไป รุ่นใหม่เขาก็เลยทำตรงกันข้าม คือให้งานเยอะสัส (หัวเราะ) แบบของเราเดือนนึงงานชิ้นนึง เด็กใหม่อาทิตย์ละสองชิ้น ซึ่งโหดมาก เราว่าเขายังหาบาลานซ์ไม่ได้แหละเรื่องระบบการสอน มันยากกับการต้องปรับตามนักเรียน แล้วคณะเราค่อนข้างต่างจากชาวบ้านมาก เพราะคณะอื่นในมหาลัยออกไปในเชิงสื่อ มีแต่เด็กเรียนภาพยนตร์ ถ่ายภาพ โทรทัศน์  sound engineer ของเราอยู่ดี ก็ contemporary art มันก็เลยยังไม่ค่อยลงตัว

คนส่วนใหญ่ที่มาเรียนมาจากประเทศอะไร

จีน (SLICE: เด็ก local เลยไม่ค่อยมี?) มีเด็ก local ในคลาสเราแค่ 4 คน จากทั้งหมด 29 คน ที่เหลือเป็นอินเดีย ไต้หวัน จีนเกินครึ่ง และไทยคือเราคนเดียว คือส่วนใหญ่เขาก็ไม่ค่อยเรียนมหาลัย จบ high school แล้วก็ไปทำงาน เอาจริงปริญญาโทมันไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ถ้าจะเอาไปใช้ในการทำงานจริง มันสำหรับคนที่จะไปเป็นอาจารย์ อยากไต่เต้าไปถึงเอก ได้ PhD  

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

แต่กว่าที่จะสตรองได้ ช่วงแรกตุลถึงกับพัง

ทีแรกเราไม่ได้อยากเรียนที่ลอนดอน เราอยากไปนิวยอร์ก แต่ด้วยเหตุผลหลาย อย่างนิวยอร์กมันไม่เหมาะเท่าไหร่ มีความเสี่ยงสูงทั้งการเงิน ความสัมพันธ์ ที่บ้าน และอื่น เลยเลือกลอนดอน แล้วพอไปถึงลอนดอนก็รู้สึกว่า ทำไมฉันไม่เลือกอะไรที่ตัวเองอยากทำ รู้สึกว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้ใช้ gut feelings แต่ดันไปใช้กลไกการตัดสินใจของคนรอบข้าง เอามาชั่งน้ำหนัก ซึ่งจริง แล้วมันทำร้ายเรามากเลยนะ นี่ก็เลยเป็นอะไรที่เก็บไปเรียนรู้อย่างนึงเหมือนกันว่า เราจะเป็นคนที่หนักที่สุดเลยถ้าเราไม่เลือกอันที่เราอยากทำจริง เพียงเพื่อให้คนอื่นสบายใจ ถ้ารู้อยู่แล้วว่าอยากทำอะไร ต้องเลือกอันนั้น ไม่งั้นจะเป็นอย่างงี้ จะพ่ายแพ้ แล้วยังต้องต่อสู้กับระบบที่มหาลัย ความที่มันเปิดกว้างมาก fine art มาก ๆ เราก็จะแบบ ‘เฮ้ยไม่ได้ดิวะ ต้องใช้เหตุผล’ เพราะเราเป็นดีไซเนอร์ แต่สุดท้ายก็ต้องเรียนสิ่งนี้ไปอีกปี เป็นศิลปินเต็มตัวไปเลยก็ได้ ก็ต้องกอบโกยตัวเองขึ้นมา สุดท้ายแล้วเราก็ชอบลอนดอนนะ

ผ่านจุดนั้นมาได้ยังไง

ตอนนั้นก็ depressed ช่วงที่คิดเยอะจนเกินไป มันเป็นตัวการของการวาดรูปไม่ออก รู้สึกตัน แต่มันก็ต้องระบายอะไรสักอย่าง เลยวาดออกมาเป็นเส้นยาว เอากระดาษมาต่อกัน วาดไปเรื่อย นั่นเป็นครั้งแรกที่เราวาด comic เกี่ยวกับตัวเอง พูดเกี่ยวกับเรื่องตัวเองตลอดการเรียน เป็นโปรเจกต์แรก ๆ รู้สึกว่าพอเขียนออกมาแล้วเขียนได้เยอะมาก มันเหมือนเป็นการทิ้ง การอ้วกออกมา เพื่อที่จะได้เริ่มทำสิ่งต่อไป เพราะเราไม่เคยวาดเกี่ยวกับตัวเองเลยตั้งแต่เราทำงานมา ทุกคนก็ไม่เคยเข้าใจว่าเราเขียนเรื่องความสัมพันธ์อย่างนั้นได้ยังไงทั้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง 

Tuna Dunn Running Thoughts

Tuna Dunn Running Thoughts

ไม่เคยเขียนเรื่องส่วนตัวลงในงานเลยจริง ๆ หรอ

เลี่ยงมาตลอด เพราะไม่ชอบที่มันรู้สึกใกล้ตัวเกินไป ที่เราเขียน comic เรื่องยาวบางทีเราไม่เขียนตัวเอกเป็นผู้หญิง จะเขียนเป็นผู้ชาย หรือให้มันอยู่ต่างประเทศไปเลย มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ที่เรามโนขึ้นมาเอง แต่อันนี้เป็นความรู้สึกเราจริง ที่ส่วนตัวมาก แต่ขนาดเราเขียนส่วนตัวแล้วเรายังเขียนตัวเองเป็นผู้ชายเลย เราว่ามันเป็นแบบฝึกหัด เป็นการทดลองอย่างนึงที่ได้ detox ความคิดออกมา เพื่อที่จะได้กด start เริ่มทำงานได้

ทำไมวาดเป็นกระดาษม้วน

มันเป็นวิธีวาดที่ต่อเนื่องดี เราเป็นคนวาดรูปไม่ใหญ่ เวลาวาด comic ก็จะเล็กมาก แล้วถ้าวาดเป็น A4 เราจะเห็นเรื่องทั้งหมดบนกระดาษหน้าเดียว แต่ถ้าเราวาดซ้ายไปขวา แล้วเราวาดเป็นโรล เราสามารถโฟกัสได้แค่หนึ่ง panel ต่อการวาดหนึ่งครั้ง มันก็จะไปได้เรื่อย เร็วกว่า เหมือนเป็น machine เราก็ตัดกระดาษธรรมดาแปะ  ต่อกันไว้ แต่โรลที่ทำตอนสุดท้ายมันเป็นโรลใบเสร็จที่อยู่ในเครื่องแคชเชียร์ มีคนทิ้งไว้เยอะมากในเวิร์กช็อปเลยไปหยิบมาใช้ เรารู้สึกว่าถ้าเราต้องระบายอะไรออกมาแล้ว comic เป็นทางที่ดีที่สุด เพราะมันคือสิ่งที่ต้องใช้ทั้งภาพและคำในการเล่า และถ้าวาดใส่โรลมันก็จะออกมาได้เยอะและเร็วกว่ามานั่งวาดรูปอย่างเดียว หรือเขียนอย่างเดียว

ม้วนกระดาษยาวขนาดไหน

อันเก่านี้น่าจะประมาณ 5 เมตรนะ เราใช้เวลา 4 คืน มันอะไรก็ไม่รู้ เหมือนอ้วก ๆๆๆๆๆ ออกมาเลย ซึ่งมันดูเป็นชิ้นที่สำคัญมากในประสบการณ์การไปเรียนของเรา เหมือนเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เห็นว่า เฮ้ย! เราก็ทำแบบนี้ได้นี่หว่า

Tuna Dunn Running Thoughts

รู้สึกยังไงบ้างหลังจากได้เห็นสิ่งที่ตัวเองระบายออกมาผ่าน comic

มันก็เปิดโอกาสหลายอย่างนะ เห็นว่าเราได้ทดลองกับรูปทรงในการเล่าเรื่อง มันค่อย พัฒนาเป็นอย่างอื่น จนกลายเป็น abstract ไปแล้ว อยู่ดี การเล่าเรื่อง (narrative) ก็หายไปเลย คือเริ่มโล่ง อยากทำอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่เคยทำ พอ detox ออกไปแล้วมันก็เหลือแค่รูปร่าง

อ่าน comic ที่คัดมาจากงานนี้ได้ที่ลิงก์นี้
https://cargocollective.com/tunlayadunn/Running-Thoughts

พอวาดแล้ว หายเครียดแล้ว ทำอะไรต่อ

ถ้าให้วิเคราะห์ด้วยตัวงานเฉย เราเริ่มรู้สึกว่ารูปร่างของสิ่งที่วาด กับเรื่อง มันเชื่อมโยงกัน จากการที่มันเป็นม้วนกระดาษ มันก็เป็น shape ของความคิดที่กำลังทำงานอยู่ ความรู้สึก สิ่งที่อยู่ในหัวเรามันไหลออกมาเป็นกระดาษเส้น ก็เห็นว่าการเล่าเรื่องที่เป็นเส้น ตัวเส้นเองก็เกี่ยวข้องกับเรื่อง เราเลยลองเล่นกับ shape อื่น ทำ loop comic แบบเปิดวนไปได้เรื่อย ๆ เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำให้มันเป็นรูปหยึย แล้วพอมันเป็นรูปร่างพวกนี้เราก็อยากเล่นกับมันมากขึ้น มันก็ค่อย develop เป็นสเกตช์อันอื่น อย่างอันนี้เราเล่นกับการที่อ่านแล้วมันลูปไปเรื่อย เหมือนเล่าว่ามันก็มีความเครียดอยู่เรื่อย แต่เราไม่ค่อยเอามาเล่าแค่นั้นเอง

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

Tuna Dunn Negative

หรืออันนี้เป็น ‘neverending zine’ อันนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเรียนเย็บหนังสือแบบนี้ แล้วมันอ่านไปได้เรื่อย ถ้าอ่านไปถึงอันจบ แล้วมันก็จะกลับมาที่หน้าหนึ่ง เลยเล่นกับ shape มากขึ้น

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

แล้วอาจารย์เขาจะมีแบบฝึกหัดให้วาด ไปเลย ให้เวลา 30 วินาทีวาดอะไรก็ได้ เราก็รู้สึกว่าเริ่มชอบที่มันมี shape ชอบความโล่ง ตอนแรกเราก็เป็นคนทำงานมินิมัลอยู่แล้ว แต่ไม่เคยคิดว่าจะทำมินิมัลขนาดนี้ แล้วก็รู้สึกชอบมันขึ้นเรื่อย เพราะมันโล่งหัวดี ก็เลยเริ่มวาดสิ่งที่เป็น silhouette ระหว่าง positive กับ negative space แล้ว shape พวกนี้ค่อย transform เป็นอย่างอื่น

Tuna Dunn Negative

อันนี้เป็นอันที่เขาให้ทำ เหมือนเป็น zine ที่ให้ explore ในเทอมสุดท้าย แล้วเรารู้สึกว่า การที่ shape กับเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกันมันน่าสนใจมาก ถ้าอ่านแบบนี้ก็อ่านได้ แต่อันนี้เป็น zine ที่เปิดออกมาตรงกลาง มันจะเป็นหนึ่ง shape แล้วถ้าเปิดข้างหลังจะกลายเป็นอีกหนึ่ง shape ทุกอย่างมัน connect หมดเลย แล้วเราชอบอะไรแบบนี้มาก

อันนี้เป็นอันที่พูดถึงว่า ‘I am embracing emptiness’ พอเริ่มโฟกัสความว่างเปล่า ก็รู้สึกว่าความว่างเปล่ามีอะไรบางอย่างที่น่าค้นหา เหมือนมันอยู่ในจุดที่ในเมื่อเขาอยากให้ explore อะไรก็ได้ที่ไม่ commercial แล้ว อะไรที่เราชอบทำ ก็ทำไปเลย ตอนแรกเราไม่ค่อยชัวร์กับอะไรแบบนี้ เพราะรู้สึกว่าไม่มีความหมาย ไม่ได้สื่อถึงอะไรเลย แต่จริง มันก็มีความหมายของมันอยู่

อันนี้คืออันที่เราทำก่อนที่มันจะกลายเป็นอันที่ตัดไม้ อันนี้เหมือนเราสเกตช์เล่น ในสมุดแล้วเอามาทำ เป็น therapy มาก แค่วาดสีดำนิด หน่อย เพื่อสร้าง shape เรายึด quote อันนึงของช่างภาพที่พูดว่า ‘If you photograph an absence, you also reveal its presence’ (การถ่ายรูปความไม่มี นั่นคือการเปิดเผยการมีอยู่ของมัน) เราเลยทำอันนั้นต่อ ที่เป็นไม้อัด plywood ชื่อAbsence-Presenceแล้วก็มีอะคริลิก เป็นซีรีส์ มันก็ไปเรื่อย ของมันเนี่ยแหละ

Tuna Dunn Absence-Presence

จากที่ทำ comic เล่าเรื่องมาโดยตลอด สู่งาน abstract

เราแค่ heal ตัวเองไปเรื่อย ด้วยอะไรก็ไม่รู้ จริง การทำงานที่ไม่มี narrative เป็นเรื่องน่ากลัวนะ เพราะเรารู้สึกว่าต้องสื่อสารตลอด แต่เราเริ่มอิ่มกับ comic กับเริ่มเข้าสู่ขอบเขตของการทดลองหาอะไรใหม่ ๆ เลยเริ่มหาอะไรใหม่ ขึ้นมา พอดึง narrative ออกแล้วก็รู้สึกว่ามันยังไม่จบ ต้องตัดกระดาษ ตัดโฟม ตัด plywood อะคริลิก มันค่อนข้างผลักดันให้เราไปทำอะไรที่เป็น 3D ขึ้นมา มันยังมีอะไรที่ดึงดูดให้เราทำต่อ ก็ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ

คือเอาวัสดุมาใช้เป็นการนำเสนอแทน?

ใช่ เรารู้สึกว่าหลัง sceme สีเราเปลี่ยนนิดนึงด้วย คือเราเริ่มมาอินสีที่ subtle มาก ชอบสีเทา อะไรที่ค่อย กลืนหายไปนิดนึง สมัยก่อนคนอาจจะคิดว่าเราเป็นงานแบบพูดน้อยต่อยหนัก แต่มันก็เป็นในเชิงลายเส้น แต่อันนี้มันอยู่ในจุดที่เป็น essence ของงานแล้วว่าเราจะ push ให้มันเงียบขนาดไหนพราะเราชอบงานที่มันเงียบมาก ดูเป็นงานที่ไม่มีอะไรแต่จริง แล้วมันพูดเยอะมาก  เราเลยทำงานที่ใช้วัสดุที่ไม่โฉ่งฉ่างเท่าไหร่ เช่น ไม้อัด plywood แล้วไม้อัดเราไม่ทำอะไรกับมันเลยนะ ไม่เจาะอะไรเลย ก็แปะลงไปกับผนังขาว ทีแรกมันก็เป็นการทดลองแหละ แต่พอเอาไปพรีเซนต์แล้วอาจารย์ชอบมากกับการที่เราทิ้งให้มันดิบ

จริง เราเชื่อมโยงกับวิธีการคิดของเราด้วย เพราะ shape ที่เราสร้างขึ้นมามันเป็นความคิดดิบ ของเรา เราไม่ได้กรอง ไม่ได้ดีไซน์มัน คือมันผ่านการ lasercut ซึ่งเป็น process ที่เป็น manmade ไปแล้ว ถ้าเราไปทำให้ดู manmade มากขึ้นมันจะดูแข็งไปหรือเปล่า มันเป็น doodling ถ้าเรานำเสนอไอเดียนี้ออกมา มันก็ต้องออกมาแบบดู raw  เราเริ่มอินกับการที่มันมีพื้นผิวนิดนึง มีมิตินิดนึง งานมันเริ่มไม่แบนแล้ว

Tuna Dunn Absence-Presence

และอันที่เป็นอะคริลิกก็คือวางให้มันตัดกันเลย จะได้เห็นว่าตัววัตถุเป็นแบบนั้น และมันมีแสงผ่านได้ เราชอบอะไรที่มัน transform ได้ เราวิเคราะห์ไปเรื่อยอะนะ แต่ในธีสิสเราคือเรามองว่า ความว่างเปล่าเป็นเครื่องมือในการ transform ตอนนั้นที่ถามว่าอะไรคือความเชื่อมโยงของความว่างเปล่ากับ abstract ก็คือทั้งสองอย่างเป็น cration tools สำหรับ transformation คือ abstract มันคือ transformed idea, transformed shape, transform การตีความของคน

Tuna Dunn Absence-Presence

Tuna Dunn Absence-Presence

เวลาทำงาน abstract แบบนี้ ตุลไม่มีอารมณ์ความรู้สึกระหว่างการวาดได้หรอ

มันน่าจะเป็น satisfying emotion มากกว่านะ มันเพลินอะ เป็นความค่อย วาด แล้วเราชอบมากเวลาวาดแค่ตึ๋งเดียวแต่มันออกมาเป็นภาพ มันเป็น meditative process ประมาณนึง ก็แปลกดี

Tuna Dunn Negative

Tuna Dunn Negative

งานแบบนี้คล้าย การออกแบบลวดลายหรือเปล่า

มันจะมีการถกเถียงกันเยอะว่ามันเป็นพวก decorative art เฉย หรือเปล่า ซึ่งเรายอมแพ้แล้วกับการ debate นี้ เพราะที่ไปเรียนมาก็เจอกันถกกันอยู่แล้วว่า art กับ design มันต่างกันยังไง มันเป็นอะไรที่ไม่มีทางมีข้อสรุป จะถกกันไปทำไมไม่รู้ 3-4 ชั่วโมงก็ไม่จบ มันเละไปหมดแล้วทั้งในทางที่ดีและไม่ดี เราไม่สามารถควบคุมหรือจำกัดความอะไรได้เลย

คือเราไปดูธีสิสเด็กเรียนกราฟิกดีไซน์ของมหาลัยอื่น งานมันก็ไม่เหมือนกับกราฟิกดีไซน์ที่นี่แล้ว เขาไม่มานั่งทำโลโก้ ทำงานทดลองกันหมดแล้ว มันไม่มีแล้วมั้งเส้นระหว่าง design กับ fine art คนทำ illustration คืออะไรก็ไม่รู้

Illustrator ไม่ใช่ designer แล้วก็ไม่ใช่ fine artist ด้วย illustrator จะอยู่ตรงกลาง เรามีเพื่อนของพี่มาพักที่บ้าน พี่ไม่อยู่เราเลยต้องรับแขก แล้วเขาก็ถามเราว่าทำงานอะไร พอต้องอธิบายให้คนที่ไม่ใกล้วงการนี้แม้แต่นิดเดียวฟังว่า illustrator มันคืออะไร มันยากมากเลย เล่าไปเขาก็ดูงงกว่าเดิม ถ้าคนบอกว่าเป็นกราฟิกดีไซเนอร์มันชัด ยูออกแบบโลโก้ ทำ branding ทำ CI (corporate identity) ทำ motion แต่ถ้าบอกว่าเป็น fine artists ก็พอนึกออก ยูปั้น เพนต์ ทำวิดิโออาร์ตงี้ แต่พอเป็น illustration ทำภาพประกอบ ประกอบอะไรบ้างเต็มไปหมดเลย ทำตอบสนอง commercial ลูกค้าก็จริง แต่คนที่เป็น illustrator ก็เอางานไปแสดงในแกเลอรีก็มีเหมือนกัน

เรารู้สึกว่า illustrator เป็นอะไรก็ได้ แต่ละที่จะถูกกำหนดด้วยสไตล์ ทั้ง ที่มันไม่ใช่อะไรที่ต้องมา define แต่มันมักถูกมองแบบนั้น พอสมมติวาดภาพประกอบเป็นพี่ Pomme Chan แต่เริ่มแรเงา ใส่น้ำหนัก เพนต์ลงผ้าใบใหญ่ ไม่ได้ลงโปรดักต์อะไรเท่าไหร่ แกก็จะเป็น fine art รึเปล่า? มันขึ้นอยู่กับว่างานเราไปอยู่ตรงไหน และในเชิงเดียวกัน สมมติ Banana Blah Blah เขาวาดรูปสไตล์เขา ถ้าสไตล์นี้ไม่ได้อยู่ประกอบ Maho Rasop ไม่อยู่บนโปรดักต์ แต่กล้วยขาย print เฉย ตั้งใจทำเป็น painting อย่างเดียว คนจะมองว่าเขาเป็นอะไร? แค่เพราะว่าสไตล์นั้นมันก็ดูเป็นแบบ ‘illustrator’ แต่เพราะ illustrator ทำได้ทุกอย่างหมดเลย แค่ถ้าถามว่าอยู่ category ไหน ก็จะไม่ได้อยู่ฝั่งไหนเลย มันจะไม่ถูกยอมรับว่าเป็นดีไซเนอร์เท่าไหร่ หรือเป็น contemporary artist, fine artist มั้ย ก็ไม่ใช่เท่าไหร่

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

การที่เราไปเรียนสุดท้ายทำให้เรายอมรับได้ว่าทุกอย่างที่เราทำ สุดท้ายก็เป็นงานเราอยู่ดี เราควรเลิกคิดว่า การเปลี่ยนไปทำแบบนี้ (fine art) จะเป็นงานเราหรือเปล่า หรือแบ่งตัวเองออกเป็นครึ่งนึงทำแบบนี้ (fine art) อีกครึ่งนึงทำอีกแบบ (commercial art) มันไร้สาระ เพราะสุดท้ายมันก็คือตัวเรา ทำมาจาก intuition ทุกอย่างที่เรากำลัง explore มันเป็นผลของ personal history เราผ่านอะไรมา เราวาดอะไรมา

ากประสบการณ์ที่เจอคนนั้นคนนี้ พอมาเจองานเก่า เขาจะมองว่ามันเป็นงานเราอยู่ดี โดยที่ตัวเราเองจะมองไม่เห็น และการที่เราไปเรียนทำให้เราต้องไปศึกษางานตัวเองที่ผ่าน มา เพื่อเขียนอะไรออกมา มันทำให้เราเข้าใจได้ว่า โอเค มึงหยุดพยายามที่จะแยกร่าง ว่าอันนี้ไม่ใช่เรา อันนี้ใช่เรา ทำไปเลย ทำไปเรื่อย ทุกอย่างคือสิ่งที่เราทำอยู่ดี เราค้นพบว่าเราทำสิ่งเดียวไปตลอดไม่ได้อยู่แล้ว มันจะต้องเปลี่ยนไปเรื่อย

มีช่วงนึงเคยเกือบจะแบ่ง instagram ออกเป็นสองอัน เพราะยังอยากวาดอะไรที่เป็น comic อยู่ แต่ก็ชอบอะไรที่เป็น abstract อย่างนี้มากเลย แล้วเราก็รู้สึกว่าทำไปทำไมก็ไม่รู้ คือจริง ทำก็ได้แหละ แต่ไม่รู้จะคิดมากทำไม จนมาเป็นงานชิ้นสุดท้ายที่ทำจบ มันก็มารวมกันเป็นชิ้นเดียวได้ ซึ่งมันผ่านการทดลองเยอะมากกว่าจะมาเป็นอันนั้น

งานจบเราชื่อ ‘Breathe’ ตอนแรกเราจะทำสองอัน อันนึงเป็นการโชว์ด้าน experiment comic ของเรา เราจะเล่าเรื่องด้วยเชป อีกอันเราติดใจไอเดียนึงในหัว ไม่ยอมปล่อยเลย ชื่อ ‘Breathing Canvas’ เราอยากทำผ้าใบเปล่า ที่แขวนไว้เฉย เหมือนไม่มีอะไร แต่จริง มันหายใจได้ เสร็จแล้วก็ทดลองไปเยอะมาก เรารู้ว่า comic ทำได้อยู่แล้วไม่มีปัญหา แล้วการที่ทำทดลอง ‘การหายใจ’ ของมันไปเรื่อย เราจะพบกับปัญหาและทางแก้ในทุกวีค จากที่เราทำอะไรไม่เป็นเลย ต้องวิ่งไป 3D workshop ไป technology lab ให้คนต่อไฟให้ ลองพัดลม ลองท่อ เขียนโค้ด ซื้อของมาใหม่ ทำกับวัสดุต่าง ทำลูกโป่งเอง แล้วต้องไปปรึกษาอาจารย์อยู่เรื่อย

Breathe

มีอาจารย์คนนึงเราชอบมากชื่อ James Erwin เป็นอาจารย์พิเศษที่ไม่ได้มาตลอด แต่เขาใจดีมากและ so supportive เขาเห็นว่าเราสเกตช์อันนึง แล้วเขาบอกว่าชอบอันนี้นะ เขาว่าลงตัวดี

จริง เราไม่ได้แพลนจะทำออกมาเป็นเส้น แค่ไปเจอกองม้วนอันนี้เต็มเวิร์กช็อป แล้วเรากำลังเครียดกับเครื่องมืออะไรไม่รู้ของเราในการต้องมาเป็นวิศวกรเนี่ย เราก็ต้องเขียนระบายออกมาด้วย ก็เขียนไปก่อน ไม่รู้จะทำไรเหมือนกัน ลองวาดเล่น ดูว่าเอากองนี้มาวางบน mechanic หายใจของเราจะเป็นยังไง เขาก็บอกก็นี่ไง กลายเป็นหนึ่งงานไปเลย’ ก็เลยกลายเป็นว่า แทนที่เราจะมาทำ comic อันนึง กับ abstract หายใจได้อีกอันนึง ก็เอามารวมกันสิ การที่เราตัดสินใจให้มันออกมาเป็น shape มันควรจะถูกนำเสนอออกมายังไงในเมื่อมันเชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องมาก  แล้วมันนำเสนอไอเดียได้แข็งแรงกว่าสองชิ้นแยกกันด้วยซ้ำ เพราะเหมือนมันเป็นจุดจบของงาน abstract ที่พยายามเป็น theraputic work แล้วก็เป็น shape อะไรของเราก็ไม่รู้ มันมารวมกับ narrative แล้ว แล้วมันนำเสนอชิ้นงานอันนึงที่เราก็ค่อนข้างจะภูมิใจกับมัน เพราะมันสื่อสารได้ดี ภาพรวมของงานมันเชื่อมโยงกับวิธีการเล่าเรื่องมากกว่าที่เราคิด ก็คืออันนี้แหละ เครื่อง Breathe ของเราที่พังตั้งแต่คืนแรก (หัวเราะ)

Breathe

คนจับเยอะมาก ติดป้ายไว้คนก็จับอยู่ดี มีผู้หญิงคนนึงเอามือกดลงไปตรงกลาง กูแบบวอทเดอะฟัค’ ทุกคนเฝ้างานเราสุด เพราะมันมีความน่าสนใจ น่าจับมากด้วยอะไรก็ไม่รู้ พยายามซ่อมแล้วก็พังอีก เพราะมันซ่อมยาก การที่จะเอากระดาษทั้งหมดออกแล้วซ่อมกล่อง มันเกินไป วันสุดท้ายเราเลยปล่อยให้มันอยู่นิ่ง ไป ไม่งั้นต้องอยู่ในกล่องแก้วไปเลย คือเราว่าคนมันประหลาดมาก มีอีกโชว์นึง มีคนทำภาพสีน้ำมัน แล้วมีคนเอามือไปจับจนเป็นรอยนิ้วมือแล้วเขาเอาไปขายต่อไม่ได้ แปลกมาก ไม่เข้าใจเลยจริง ถ้างานพวกนี้อยู่ในแกเลอรีคุณคงไม่จับหรอก แต่ทำไมกับ degree show ของนักเรียนต้องมาจับกันวะ

อ่าน comic ที่คัดมาจากงานนี้ได้ที่ลิงก์นี้

https://cargocollective.com/tunlayadunn/BREATH

ความรู้สึกหลังจากการทำงานจบเสร็จสมบูรณ์

เราตั้งใจว่าจะไม่เครียดแล้ว จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ แล้วก็อยากทำหมดเลย ก่อนหน้านี้เรารู้สึกว่าการอยากทำหมดทุกอย่างมันดูสะเปะสะปะไปปะวะ มันจะมีอะไรที่กำหนดตัวเราปะวะ แต่เราก็ยังไม่อยาก settle down ก็ทำมันให้หมดทุกอย่างแหละ ซึ่งมันก็ดีแล้ว เพราะตอนนี้เราอยากทำอะไรเยอะมาก abstract ก็อยากทำ print ก็อยาก ไปตัดไม้เพิ่มก็อยาก comic ก็ยังอยากทำอยู่ แล้วก็อยากทำ comic ที่อิงกับตัวเองมากขึ้น เพราะรู้สึกว่ามันกลายเป็นว่ามีประโยชน์มากเวลาเขียนเรื่องตัวเอง

เรียนรู้ที่จะต้องเจอกับความว่างเปล่ามากเป็นพิเศษ

มันเป็นความรู้สึกที่จริง เราก็ไม่ได้ belong ที่ไทยเท่าไหร่ มาอยู่นี่ก็เป็นเด็กเอเชียนอยู่ในเมืองอังกฤษ เราก็ไม่ได้อยากเข้าไปอยู่ในกลุ่มคนไทย คนจีน ตลอดเวลา แต่มันก็ยากที่อยู่ดี จะไปอินกับเพื่อนฝรั่งทันที มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น อยู่ตรงกลาง เคว้ง  ก็ต้องดีลกับการอยู่กับตัวเองมากหน่อย ก็เลยเอามาทำเรื่องธีสิส พูดเรื่อง abstraction กับ ความว่างเปล่า ว่ามันเชื่อมโยงกันยังไง ไม่ค่อยเกี่ยวกับตัวจบ คือเขาให้ทำหัวข้อแยกได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

สุดท้ายความรู้สึกเคว้ง ก็ทำให้ได้ลองทำทุกอย่าง ที่ทีแรกไม่คิดจะทำ

ตอนแรกที่เข้าไปเรียนก็ไม่คิดหรอกว่าตอนจบจะมาทำเครื่องหายใจ (หัวเราะ) กะจะไปเรียนทำอนิเมชัน หรืองานดิจิทัลด้วยซ้ำ แต่มันเสียดายด้วยแหละ เพราะ facilities เขาพร้อมมาก จะไปทำงานดิจิทัลก็เสียของ เป็นจุดที่ช่างแม่งด้วยแหละ คือ ‘มึงอยากสอนให้กูเป็น contemporary artist มากใช่ปะ กูก็จะเป็น contemporary artist ให้มึง กูก็จะทำอะไรก็ไม่รู้ของกูเนี่ยแหละ มึงไม่ได้คาดหวังอะไรกับกูอยู่แล้วนี่’ แต่เราว่ามันขึ้นอยู่กับคนมากเลย

อาจารย์ที่จุฬา เราเคยบอกว่าอเมริกากับอังกฤษต่างกันมากเวลาสอนพวกนี้ อเมริกาเขาจะสอนแบบ commercial หน่อย ค่อนข้างเคี่ยวเข็ญ จะเข้มงวด จะดุ ถ้าคุณแย่ก็คือแย่ ถ้าคุณห่วยก็จะโดนประนาม เพื่อนก็จะว่าคุณ อังกฤษจะปลายเปิด เขาจะคอมเมนต์เราว่า ‘interesting’ มันเลยกลายเป็นโจ๊กเวลาอยู่ที่นู่นเวลาที่เขาบอกว่า interesting เราจะแปลว่า ‘shit’ (หัวเราะ) คือมันต้องรู้เอง ก็จริงแหละที่อาจารย์ใหญ่เขาบอกว่า อยู่อังกฤษต้องขยัน ถ้าไม่ขยันจะไม่ได้อะไรเลย ซึ่งจริงมาก ถ้าคุณปล่อยด้วย แล้วไม่หาอะไรทำ คุณก็จะอยู่ที่เดิม

เห็นว่าจัด exhibition กันเองในกลุ่มเพื่อนด้วย

ชื่อ Many A Moon เป็น pop up exhibitionจัดวันเดียว เขาให้เช่าฟรีเพราะเป็นนักเรียน เห็นว่าเอกคณะอื่นเขาได้จัดนู่นจัดนี่กันเยอะ ทำไมอาจารย์คณะเราไม่ได้ให้จัดกันบ้างเลย ก็เลยจัดเองแม่ง เวลาทำงานพวกนี้ อย่างอันไม้อัดก็ได้โชว์อาจารย์แค่สเตจเดียว เวลาส่งงานก็ส่งเป็น pdf อธิบายว่าทำอะไรมาบ้าง ก็น่าเสียดายเลยเอามาโชว์กันแถว Hoxton

ไม่ได้มีอะไรมากก็สนุกดี พอเขาดูงานเสร็จก็เหมือนนัดเพื่อนมาเจอกัน คือมันคนมานั่งกินเบียร์อยู่หน้าแกเลอรี่เยอะมาก (หัวเราะ) เราทุ่มทุนกันซื้อเบียร์มาแจก แล้วเพื่อนฝรั่งเศสก็แดกไปคนเดียวลังนึง

Many A Moon

จากไปเรียนที่นู่นมา คิดว่าคณะออกแบบที่ไทยยังขาดอะไรอยู่

ไม่รู้ว่าที่ทำธีสิส เขาสอนกันไปถึงไหนแล้ว ตอนเราทำธีสิสที่จุฬา ฯ คือเราต้องเขียนอะไรออกมาไม่รู้เต็มไปหมดก่อน แล้วถึงจะเริ่มทำ แต่เรารู้สึกว่าการที่ทำก่อน หรือทำไปด้วยพร้อม กับเขียน มัน make sense กว่า มันต้องเรียนรู้โดยการทำนึกออกไหม? ไปรวบรวมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมามันก็จำเป็นแหละถ้าทำอะไรแบบ commercial มาก แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราไม่ได้ทำและทดลองไปด้วย บางทีมันไม่เวิร์ก เช่น ถ้าลูกค้าบอกว่าชอบฟอนต์นี้ ชอบสีนี้ แต่พอมันรวมกันแล้วมันแย่ (หัวเราะ) แล้วพอต้องทำมันต้องมาอิงกับที่เขียนจบไป ทำให้เกิดข้อจำกัดในการออกแบบมาก เพราะอาจารย์ก็จะแบบคุณรีเสิร์ชมาแบบนี้ แต่ทำไมมันออกมาแบบนี้’ แล้วมันยาก

เสียดายนิดหน่อยตอนที่เรียนจุฬา ถ้าเรามี facilities แบบที่เรียนที่อังกฤษ เด็กจะได้สร้างงาน ได้ลองทำขนาดไหน ที่นู่นคือจะทำอะไรขึ้นมาก็สร้างไปเลย แล้วเขาช่วยมาก ทุกอย่าง ตอนนั้นเราอยากได้กล่อง เขาก็เอาไม้มาหั่น ตอก กันเอง เสร็จ ไม่ต้องไปสั่งเลย ตอนเราแสดง degree show ของจุฬา เราต้อง outsource เองเยอะมาก เช่าคอม หรือโพเดียมก็ต้องไปหามาเอง มหาลัยไม่ได้จัดหาไว้ให้ แล้วที่คณะมีเครื่องปรินต์เครื่องเดียว ที่แชร์กับทุกภาค เด็กกราฟิกต้องตะเกียกตะกายไปยืมข้างนอก ไม่ก็ไปยืมเด็กถาปัด

เรารู้สึกว่าการที่ facilities น้อยมันจำกัดเด็กประมาณนึงเลย มันไม่ได้ลอง ไม่ได้ทำอะไรออกมาเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ได้รู้วัสดุกระดาษ เราต้องไปมั่วกันเอง แต่มันก็ดูเป็นสไตล์คนไทยอะนะช่วยตัวเองนะลูก’ ก็เข้าใจว่ามันต้องใช้เงินเยอะมาก ที่นู่นค่าเรียนเลยแพงเพราะมันมี facilities เยอะขนาดนี้

Tuna Dunn Fungjaizine SLICE

สิ่งที่ทำให้รักลอนดอนขึ้นมาได้ เพราะซีนดนตรีกับปาร์ตี้

มีจุดนึงในชีวิตที่รู้สึกว่า ความสุขที่แน่นอนสองอย่างในชีวิตตอนนั้น คือการได้เจอหมาตามถนนกับการดูคอนเสิร์ต แค่นั้นเลย (หัวเราะ) ช่วงแรกถ่ายหมาเยอะมาก หลัง ชอบเจอเจ้าของหมาด่า ทำไมไม่ขอก่อน รู้สึกหลอน โดนคนว่ามาคนสองคนละ เขาหวง privacy หวงหมาตัวเองมาก บางคนเขาโอเคแหละ เขาก็รู้ว่าหมาชั้นน่ารัก แต่บางคนเขาจะมอง นิดนึง เหมือนเราไปถ่ายหน้าลูกใคร เขาก็ไม่โอเค ก็รู้สึกว่าเราเป็น creep นิดนึง เลยหาจังหวะที่แอบถ่ายได้ จะไม่ถ่ายมั่วซั่ว หรือแค่มองไกล ๆ ก็ได้วะ

แล้วก็ได้ดูคอนเสิร์ตเยอะมาก เป็นความโชคดีที่ที่นู่นบางวงยังได้ดูในราคาต่ำกว่าพันอยู่ เลยทำให้ได้ดูเยอะมาก ได้ดูเกือบทุกวงที่อยากดู อยู่เมืองไทยบัตรคอนเสิร์ตแพ้งแพง ทุกอย่างเกินพันหมด ที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะได้ดูก็ไปมา พีคมากอยู่หลาย ๆ อัน Florence + the Machine เงี้ย ตอนสมัยม.ปลายก็คิดว่าเขาคงไม่มาไทยหรอก ก็ไปดูที่อังกฤษ ดูคอนเสิร์ตสุดท้ายของ Superfood ก่อนวงแตก หรือใน Foals โหดมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตัดสินใจทำไปขนาดนั้น คือมันไม่ได้มอชกันกลุ่มเดียว แค่เพลงที่สองทุกคนก็เฮไปข้างหน้ากันแล้ว เรากับเพื่อนก็ไปด้วย แล้วเขามอชกันทั้งคอนเสิร์ต ไม่พัก หัวใจจะวาย มีจุดนึงที่ใจสั่นแบบไม่ไหวแล้ว แต่มันสนุกมาก โยนรองเท้าทิ้งเลย คนที่นู่นมันเอาอะ เวลาเขาไปดูวงที่เขาชอบจริง ก็เป็นเหมือนแฟนคลับ มันก็จะมีพลังงานที่ดีอยู่รอบ เรา vibes มันได้ เลิกคอนเสิร์ตเขาเปิดเพลง Oasis คนก็ร้องตาม แหกปากเดินขึ้นรถไฟกัน มันรู้สึกดีมาก ไม่รู้ทำไม อาจจะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว

เราว่ามันมีตัวเลือกเยอะในลอนดอน ยูอยากไปฮิปฮอป แทร็ป คลับเกย์ เปิดเฮาส์ ฟังก์ EDM โซล มีหมดเลย แต่เราชอบที่มันมีอินดี้ร็อกแค่นั้นแหละ อยู่ไทยไม่ค่อยมีการไปเที่ยวกลางคืนที่จะเปิดเพลงแบบนั้น ต้องรอ Dudesweet จัดหรอถึงจะได้ดู เราไม่ได้อยากฟัง EDM หรือเทคโนตลอดเวลาขนาดนั้น

แต่ก็เห็นว่าเร็ว นี้ก็มีคนเริ่มจัดงานเปิดเพลงอินดี้ร็อกเยอะแล้ว เราเองก็อยากจัด จริง format ไม่มีอะไรเลย อย่างอันที่เคยไปมันอยู่ชั้นสองของคลับอีกอัน มีบาร์ มีแดนซ์ฟลอร์ มีดีเจ ไฟก็จัดธรรมดา แต่ทุกคนเอาสัส เพราะมันเปิดแต่ indie hits ทุกเพลง มาครบ Arctic Monkeys, New Order, Franz Fedinand, Taking Heads แล้วทุกคนเต้นแบบไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ทุกคนไม่เก๊กเลยในซีนอินดี้ร็อก แล้วมันจะเละมาก แล้วก็จะเจอคนแปลก เยอะมาก มันสนุกดี ไม่รู้ว่าคนไทยจะไปยืนเต้นกันหรือเปล่า เราเป็นห่วงเรื่องนี้แหละ กลัวบรรยากาศมันจะกร่อย เพราะมันดูไม่ใช่เนเจอร์คนไทยนิดนึงอยู่แล้วที่จะไปเปิดฟลอร์ มันต้องมีหน้าม้า มีคนเริ่มก่อนที่ hyped นิดนึง มันแอบยาก และมันเป็นอินดี้ร็อกซึ่งไม่เปิดในคลับ คนก็ยิ่งไม่ associate กับการไปยืนเต้น Arctic Monkeys มั้ง

Lig Goods สิ่งที่ต่อยอดจากที่ Tuna Dunn ให้สัมภาษณ์ว่า “ถ้าเราวาดการ์ตูนลงเฟซบุ๊กไปเรื่อย ๆ อีกสักห้าปี เราตายแน่นอน”

เราอยู่ในยุคที่คนเราทำงานหนึ่งงานไม่ได้แล้ว เราไม่รอดนะคะ ก็ต้องมีการขยับขยายทำอะไรอย่างอื่นไปด้วย ซึ่งตอนนี้ Lig Goods มันเป็น life style product มันก็มีส่วนที่เราทำกันเองด้วยกับพี่ Nut Dao แต่พักไปก่อน เหมือนปีที่แล้วไม่ค่อยอยู่เลยไม่ได้ทำอะไรเท่าไหร่ ปีนี้จะกลับมาโฟกัสมากขึ้น คือเอาจริงทำแล้วก็ไม่ได้ได้กำไรขนาดนั้น ก็ค่อย ๆ ขยับ บิลด์พอร์ตกันไป ตอนนี้ก็จะมีคอลเล็กชัน Artist Archives ที่ทำกับ Standard Archives  ที่ทำกับดีไซเนอร์หรือเอาแบบมาทำเพื่อสร้างโปรดักต์ รอบก่อนมี Juli Baker กับพี่เบนซ์ Bloody Hell Big Head ตอนนี้มีพี่ Nut Dao กับพี่มิน The Archivist มันก็จะมีออกมาเรื่อย ๆ คือพี่กานต์ Standard Archives เขาเป็นเจ้าของโรงงานที่ทำผ้ายืด กางเกงในพวกนี้ แล้วเขาก็อยากมีไซด์โปรเจกต์ที่ได้ทำงานกับครีเอทีฟ เขาก็เลยค่อนข้างโอเคมากกับการร่วมงานกับเรา 

Lig Goods

Lig Goods

คอนเซ็ปต์รอบนี้ ของพี่ Nut Dao สไตล์ inspired มาจากพวกรูปถ่ายที่เขาไปถ่ายสถาปัตยกรรมในลอนดอนตอนที่เขาไปเที่ยว มันก็จะออกมาแบบถาปัด หน่อย ส่วนของพี่มินจะเป็นการทับซ้อนสีเป็นเลเยอร์ ก็ค่อนข้าง abstract กว่าอันที่แล้วประมาณนึง จะโตกว่าหน่อย มีผ้า เสื้อคาร์ดิแกน แล้วก็ที่นอนหมาด้วย

Lig Goods

Lig Goods

ฝากอะไรถึงคนที่สร้างงานศิลปะยุคนี้

ก็ยากอะเนาะ ชีวิตเรา (หัวเราะ) มันก็ดูมีปัจจัยเยอะเหลือเกินว่ายูจะรุ่งไม่รุ่งในวงการ มันก็ต้องปรับไปเรื่อย ก็ควรจะยึดอย่างที่หลายคนแนะนำแหละ คือทำงานเยอะ ๆ ทำไปเรื่อย ๆ เราว่าสุดท้ายแล้วมันมีประโยชน์มาก มีตอนนึงที่เราไปเรียนแล้วเขาให้ทำวิเคราะห์ จำไม่ได้ว่าโจทย์คืออะไร แต่เราทำ presentation เกี่ยวกับว่า การที่ commercial work กับ personal work เกี่ยวข้องกันยังไง และ personal work กลายเป็น commercial work ได้กี่แบบ เรายกตัวอย่างมาสามนักออกแบบ มี Christoph Niemann Abstract Sunday ที่เขาเอาของมาวางแล้ววาดต่อ อันนี้เป็นแบบฝึกหัดที่ได้ลับคมตัวเอง เขาพูดถึงว่านักกีฬา นักดนตรียังต้องซ้อม ทำไมศิลปินจะไม่ต้องซ้อม และนี่คือการซ้อมของเขา’ หรือ Stefan Sagmeister ทำงานส่วนตัวที่ดึงมาจากความคิดส่วนตัวแบบในหนังสือ ‘Things I Have Learned in My Life So Far’ แล้วเขาเอามาทำงาน typography จนมันกลายเป็นงาน commercial ที่มีคนจ้างเขาทำเพื่อไปประกอบ expo อะไรก็ตามแต่ อีกคน Jordy van den Nieuwendijk เขาคือคนที่วาดเส้น หลาย สี เขาเริ่มผันตัวมาทำงาน painting ซึ่งมาจากการวาดเล่นของเขาเอง เกิดสไตล์ใหม่ขึ้นมาจนมันแตกออกมาเป็นอีกอาชีพ ทำให้กลายมามีอีกหนึ่ง persona เป็น fine artist  คือเขายังวาดเส้นอยู่ แต่เขาเริ่มชัดว่าเขาเก็บเส้นเดิมไว้วาดกับงาน commercial เท่านั้น แล้วไอ้เพนต์เขาเอาไว้เพื่อเป็น fine artist เลยรู้สึกว่า มันก็ใช่แหละ สุดท้าย personal work ก็คือ commercial work และ commercial work ก็คือ personal work ถ้าจัดการได้ดี personal work มันไปต่อได้อยู่แล้ว อย่าดูถูก personal work

ติดตามผลงานเพิ่มเติมของ Tuna Dunn ได้ ที่นี่
Photo courtesy of Tuna Dunn

อ่านต่อ

Tuna Dunn Playlist

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้