Article Interview

คุยกับ เมื่อย Scrubb หนึ่งในทีมโปรโมเตอร์อินดี้ DOOD ร่วมเสริมทัพใน Jam Fest

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Narawit Suksawat

หลังจากที่ประกาศไลน์อัพไปได้ไม่กี่วัน งาน Jameson & What the Duck present Jam Fest ก็ขายบัตรหมดในเวลารวดเร็ว แต่นอกจากที่จะได้พบกับหลายวงที่คิดถึง เรายังจะได้ลิ้มลองวงใหม่ ๆ ที่ DOOD Stage ซึ่ง เมื่อย Scrubb มีแนวคิดที่น่าสนใจในการนำเสนอความพิเศษของเวทีนี้ มาฟังเขาเล่าก่อนไปสนุกกันในวันที่ 27 ตุลาคมนี้กันดีกว่า

คอนเสิร์ต Scrubb 18+ ที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง

ก่อนเล่นก็กดดันครับ เครียดมาก เพราะว่าเราต้องเล่นเพลงเก่า ที่ไม่ค่อยได้เล่น แล้วถ้าเล่นครั้งนึงจำเนื้อไม่ได้นี่จะแย่มาก แล้วก็มีการเรียบเรียงดนตรีใหม่หลาย ส่วนด้วย แต่พอเหตุการณ์ผ่านไปแล้วก็โล่งอก เพราะว่าการตอบรับของแฟนเพลงที่ดี ความรู้สึกเวลาที่เราเล่นตลอดสามชั่วโมงก็รู้สึกว่าอิ่มเอมเหมือนกันครับ ก็น่าจะเล่นดนตรีได้ต่อ (หัวเราะ)

สรุปว่าได้เล่นเพลง กลัว ทุกเบรกไหม

ไม่ได้เล่นครับ เพราะพี่บอลไม่เอาด้วย ไม่ยอม

จนตอนนี้ก็ได้รับมอบหมายให้ทำเวที DOOD Stage ส่วนหนึ่งของงาน Jam Fest

หลัก ก็คือ DOOD ได้รับเชิญจาก Jam Fest ให้ทำเหมือน mini festival ของเราตั้งแต่บ่ายสองถึงเที่ยงคืน มีวงประมาณ 12 วง ทุกรูปแบบเลย มีค่ายก็มี ไม่มีค่ายก็มี แต่ทุกวงมีเงื่อนไขเดียวกันคือเล่นเพลงตัวเองเท่านั้น หรือว่าอาจจะมีน้องบางวงทนไม่ไหวจริง อยากเล่นเพลงคัฟเวอร์ เราก็จะให้เขาเล่นเพลงคัฟเวอร์ที่เขาชอบ ไม่ต้องมาสนใจว่าคนฟังจะต้องชอบหรือไม่ชอบ แล้วเราก็จะมีทีม visual lighting เหมือนเดิมชื่อทีม ‘Hatchew People’ จริง น้องส่วนนึงก็เป็นทีม DOOD อยู่แล้ว แต่ตอนนี้เขาทำเป็นเรื่องเป็นราว เพิ่งตั้งโปรดักชันกัน แล้วก็ที่น่าสนใจคือผมเริ่มคิดต่อว่าจะชวน visual artists มาเล่นด้วย เป็นคนที่อยากทำแล้วรู้จัก ๆ ที่เขาหัดใหม่ หรืออาจจะไม่ใช่สายตรงก็ได้นะ ก็จะเป็นอีกที่ที่ให้เขามาลองสนามได้ อาจจะไม่ได้ประกบหนึ่งต่อหนึ่ง แต่อาจจะเป็นสามวงนี้ให้คนนี้รับผิดชอบไปเลย เราก็เตรียม format ให้เขาลองไปตีความดูว่าเพลงเหล่านี้เขาจะเล่นวิชวลยังไง แล้วก็ให้น้องในทีมคอยคุมโทนอีกที  ก็น่าจะตื่นเต้นไปพร้อมกันทั้งผู้จัด คนดู คนเล่น เพราะผมเองก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าพอถึงหน้างานจริงจะเป็นยังไง โครงสร้างคร่าว ว่าจะมี mapping ตรงนี้ มี object ตรงนี้ แต่อารมณ์ภาพและเสียงคงจะได้มาลุ้นพร้อม กันครับ

คิดว่า visual lighting ช่วยเสริมประสบการณ์การดูคอนเสิร์ตยังไงบ้าง

ผมได้รับประสบการณ์ตรงเลยตอนที่มีโอกาสได้เอาไซด์โปรเจกต์ (Pop Dub) ไปเล่นที่ญี่ปุ่น ตอนนั้นยังไม่มีอัลบั้มเลยเขาก็จะได้ดูจากใน YouTube แล้วมีคนมาเปิดวิชวล มีครั้งนึงคนเล่นวิชวลเป็นผู้หญิง เตรียมเน็ตบุ๊กมา 6-7 อัน เปิดวิชวลค้างไว้แล้วใช้ mixer สลับแชแนลเอา แล้วเขาทำเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผมรู้สึกว่าเวลามี visual lighting อะ มันสามารถพยุงคนดูได้ในพาร์ตดนตรีที่คนยังไม่รู้จัก หรืออาจจะเป็นช่วงที่ซาวด์มันดิ่งมาก วิชวลนี่มันก็อาจจะช่วยเบรกคนหรือทำให้คนยังมีสมาธิกับโชว์ได้

ผมว่ามันแตกต่างมากนะระหว่างโชว์ที่มีแต่เสียงอย่างเดียวกับโชว์ที่มีภาพประกอบด้วย คือหูเราก็ได้ยินเสียงใช่ไหม ตาเราก็ได้ดูภาพไป ผมว่ามันมีโอกาสที่จะทำให้คนชอบวงใหม่ ได้มากกว่า บางทีเขาอาจจะไปสะดุดกับฟีลลิงทั้งภาพ เสียง แสง ที่มันถูกต้อง ก็ทำให้ประทับใจวงใหม่ เพิ่มขึ้นได้ ก็คิดแค่นี้แหละ แล้วก็อยากจะให้วงรุ่นใหม่เขาสะสมแฟนเพลงจากการเล่นสด อันนี้สำคัญเลย ไม่ใช่เอาแฟนเพลงจาก YouTube หรือคำบอกเล่าที่อื่นก็ดี สุดท้ายมันก็ไม่เท่าไปดูเล่นสดหรอก คุณจะได้เห็นว่า สิ่งที่ชอบฟังอะ มันใช่จริง ๆ หรือเปล่า คราวนี้ถ้าชอบก็ชอบ ไม่ชอบก็ไม่ชอบ มันจะไม่มีตรงกลางละ แล้วก็ถ้าทุกวงเขาเล่นสดแล้วคนได้เห็นเขาอะ ผมว่ามันมีโอกาสที่คนจะประทับใจได้ทุก วงเลย เหมือนว่าทุกวงไปอยู่ในถ้ำแล้วฝึกปรือฝีมือ คือบางวงเขาไม่ใช่อาชีพนักดนตรีด้วยซ้ำ ทำอาชีพสถาปนิกแล้วทำงานเก็บตังมาทำอัลบั้ม ซึ่งถ้าพูดถึง attitude การทำงานมีความเป็นมืออาชีพกว่าบางวงด้วยซ้ำ แต่ว่าเขาแค่ไม่มีโอกาส ไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสม เขาอาจจะได้เล่นแต่ไม่ได้โชว์ประสิทธิภาพของเพลงเขาเต็มที่ อาจจะมีบางอย่างฝังหัวแบบนักดนตรีรุ่นผมว่า ต้องมีคัฟเวอร์ แต่ DOOD เท่าที่ทำมา 5-6 ปีเราก็ชวนวงที่เล่นเพลงตัวเอง Moving and Cut เป็นตัวอย่างที่ดี เขาไม่เคยเล่นหมดทั้งอัลบั้มเขาสักทีเพราะคิดว่าเพลงหม่นไปหรือเปล่า ผมก็ชวนเขามาเล่นหลังจากอัลบั้มวางไปแล้วปีนึง ก็เป็นครั้งแรกที่เขาได้เล่นทั้งหมด พอเขาได้เล่นของเขาเอง มี visual lighting คอยช่วย ทริปนั้นก็แฮปปี้ (งานแต่ละครั้งของ DOOD จะเรียกเป็น ‘Trip’ แล้วตั้งชื่อธีมในครั้งนั้น ๆ เช่นครั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นชื่อ ‘ Counter Culture Trip’ — Fungjaizineแล้วตอนนี้ Moving and Cut ก็ไปเล่นที่ประเทศต่าง ผมก็สะใจมากเลยแบบ เฮ้ย สิ่งที่ผมเชื่อลึก ว่าทุกวงสามารถเล่นได้ ไม่เกี่ยวกับหม่นหรือว่าสว่าง มันอยู่ที่เขาเล่นสิ่งที่เขาคิดจริง หรือเปล่า ผมก็ได้ไปเจอแก๊งเขาแล้วก็พบว่าตัวนักร้องเขาก็เป็นคนหม่น จริง อะ แล้วสุดท้ายคนฟังก็อาจจะไม่ได้อยากฟังเพลงที่เพราะอย่างเดียวก็ได้ เขาอยากฟังเรื่องเล่าที่มันออกมาจากนักดนตรีจริง ไม่ใช่เอาเรื่องเพื่อนมาเล่า ไปอ่านหนังสือแล้วมาเล่า ไปแปลงเพลงฝรั่งแล้วมาเล่า ถ้าวงทำเพลงตัวเอง มันไม่จำเป็นต้องดีเลิศนะ แค่เล่าเรื่องจริง ซื่อสัตย์กับสิ่งที่ตัวเองร้อง เราเล่นดนตรีได้ไม่เก่ง เราก็เรียบเรียงให้เล่นในแบบไม่เก่ง ไม่ต้องไปฝืน ใครเก่งก็เล่นแบบเก่ง ไป มันก็มีตัวอย่างว่าวงที่ประสบความสำเร็จครึ่งนึงด้วยซ้ำอาจจะไม่ใช่นักดนตรีที่เก่ง แต่ทำทุกอย่างถูกต้อง เล่นพร้อมเพรียง เล่าเรื่องตัวเอง แล้วก็ไม่คิดถึงความรู้สึกของคนอื่นเยอะนอกจากว่าตัววงชอบอะไร

มีหลายวงที่ไม่กล้าไปเล่นสดเพราะเพลงยังไม่ครบ หรือยังไม่ปล่อย

เอาจริง DOOD ทำงี้อยู่แล้ว แม้กระทั่งวงที่มีแค่สองเพลงก็เล่นแค่นั้น บางวงยังไม่ได้อัด เอามาเล่นก่อน จะได้รู้ว่า tempo ที่เถียงกัน 100-105 อันไหนเวิร์กกว่า แล้วก็จำ เพราะว่าอันนั้นคือของจริง ถ้าเขาโยกก็คือ tempo นั้นแหละ ไม่ใช่มานั่งเถียงกัน หรือรอทำ mv สวย ให้คนมาดูในเฟซบุ๊ก การเล่นสดมันจะมีรายละเอียดมากกว่านั้น แล้วการที่วงวงนึงที่ยังไม่อัดเพลงแล้วจะเอาเพลงนี้ไปเล่นสดมันดีมากเลย เราจะได้ทำให้โลกที่ไปเล่นสดกับโลกที่อยู่ในสตูดิโอมันใกล้เคียงกันมากขึ้นว่า อ๋อ พอเล่นจริงแล้วเราเล่นกันได้ประมาณนี้ว่ะ ส่วนมากคนดูมักจะผิดหวังเวลาไปฟังสตูดิโออัลบั้มดี แล้วไปฟังเล่นสดแบบ โอ้โห นี่มึงหลอกกูมาหกเดือนเลยหรอ ซึ่งเรารู้สึกว่าอันนั้นก็ไม่ผิดนะ แต่การที่ถ้าเป็นนักดนตรีแล้วเล่นสดได้ไม่ประทับใจเท่าสตูดิโออัลบั้มก็เหมือนเป็นการฆ่าตัวตาย ไม่งั้นไม่เล่นดีกว่า ก็ทำแต่อัลบั้มไปเลยหรือดีเจเซ็ตอะไรก็ว่าไป แต่ถ้าวงที่โฟกัสกับการเล่นสดประมาณนึงเขาก็จะรู้แล้วว่า เวลาที่ทำสตูดิโออัลบั้มเขาควรจะวางตำแหน่งความเก่งของเขาไว้ประมาณไหน ผมว่ามันช่วยได้ คนที่ฟังสตูดิโออัลบั้มแล้วได้ยินเพลง เห็นภาพ เห็นบุคลิก แล้วเขามาเจอตัวจริงแล้วเขายังรู้สึกว่า เออ แม่งโคตรมันเลย ก็จะโชคดีกับน้องไป เพราะมันเท่ากับว่า เราสื่อได้แล้วว่าเราเป็นอย่างนี้ คนรู้สึกได้ แล้วก็ทำต่อ เล่าเรื่องตัวเองต่อไป

ก็อยากบอกน้อง ว่าอย่าคาดหวัง เพราะไม่รู้หรอกว่าเรื่องเพลงมันจะเป็นยังไงต่อไป เราแค่เตรียมตัวเองให้พร้อม ในวันที่มันไม่มีคนชวนเล่นก็ต้องหาที่เล่น หาที่ซ้อม เพื่อวันนึงมีโอกาสก็จะได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่ารอมีงานค่อยซ้อม ผมว่ามันก็ได้สำหรับคนที่เก่งมาก ถ้าถามผมเนี่ย เป็นนักดนตรีมันต้องเล่นให้ได้ แล้วก็ ต้องอย่าดูถูกคนฟัง เพราะบางวงอาจจะอุ่นใจว่าเพลงเราฮิต แต่สุดท้ายถ้าเราไม่ตั้งใจเล่นแล้วคิดว่า เฮ้ย ไม่เป็นไรหรอก คนดูเราตั้งเยอะ เดี๋ยวเขาก็จ้างเราอีกเพราะยอดวิวเราเยอะ ผมรู้สึกว่าแบบนั้นในระยะยาวมันเครียดอะ เพราะเขาอาจจะให้ความสำคัญผิดทาง

ถ้าวงนึงทำขึ้นมาแล้วมีที่เล่นสด แล้วมึงเล่นให้ดี mv อาจจะไม่จำเป็นเลย แค่การถ่ายจากที่เล่นที่ไหนแล้วอัดเสียงดี คนก็ชอบแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปหลอกเขาด้วยอะไรก็ตาม เราเล่นดนตรีเราก็เอาดนตรีชนกับคนฟัง ไม่ต้องใช้ภาพสวยอันนั้นถ้าทำได้ก็ดี แต่ว่าถ้าในวันที่ต้องเลือกระหว่างเอาเงินก้อนนึงไปทำ mv สวย กับหาที่เล่นสด มึงเอาไปหาที่เล่นเหอะ เอาไปคุยกับสเปซ ชวนเพื่อนจัดแล้วเล่นเองดีกว่า ผมว่า impact มันเข้าคนดูกว่าอยู่ใน mv อีก แล้วคนที่มาเห็นเราจะรู้ได้ไม่ต้องไปโดนหลอกใน mv สวย ว่าวงนี้ต้องเก่งมากแน่เลย เล่นกันโคตรแน่น แล้วพอมาดูจริง ๆ …โห อันนี้ก็แล้วแต่ครับ แต่ละวงมันมีวิธีคิดไม่เหมือนกัน แต่พวกวงที่ผมชวนมาเล่น DOOD ก็จะพยายามโอนไปทางฝั่งเนี้ย เป็นนักดนตรีก็ต้องเล่นสด มีเวลาเหลือค่อยไปทำ mv ค่อยไปเล่นเฟซบุ๊ก ไม่ต้องไปโฟกัสกับอย่างอื่นมากเกินไป

ศิลปินที่มาเล่นในเวทีนี้

มีทั้งใหม่ทั้งเก่าครับ คนนึงคือ Ewery เป็นคนที่อยากชวนมาเล่น DOOD นานแล้ว เป็นวงรุ่นพี่สุด แล้วก็มี Wednesday, Follows, Stoic, De Flamingo, Yented, Old Fashioned Kid, Mints, Boyjozz, Love Fuzz, Radio Star โปรเจกต์ของต่อ Ten to Twelve มี hidden band วงนึงด้วยครับ 

จริง  ที่เราจัดก็เคยมีวงที่มีชื่อเสียงมาเล่นหลายวงอย่าง Polycat แต่ให้เล่นอัลบั้มที่เขาทำที่ญี่ปุ่นนะ ส่วน แสตมป์ อภิวัชร์ ก็ให้มาร้องเพลงที่เขาทำอัลบั้มภาษาอังกฤษ แล้วผมก็ซื้อบรรยากาศเงี้ย เวลาน้อง รุ่นใหม่เห็นรุ่นพี่ ผมอยากให้เขาเห็นตัวจริงของรุ่นพี่ในอาชีพ ความไม่เรื่องมาก ความรักที่จะเล่นให้ดี มันมีหลายอย่างให้เรียนรู้ พา Penguin Villa มา เจเขาก็ไม่ได้ทำตัวแบบ ‘กูเจ เพนกวิน’ อะ ผมรู้สึกดีมากเลย แล้วน้อง ได้เห็นกับตาว่าเขามีคน respect เยอะจะตาย เขาไม่เห็นต้องมาอวดว่าเขาเป็นยังไงเลย ก็เป็นอีกแง่นึงที่พอจัดไปแล้วเห็นปฏิกิริยาที่ผมรู้สึกว่า เออ เขาไม่เห็นต้องมากินให้เมาเละเทะหรือทำอะไรแบบที่เคยไปอ่านเจอมาในหนังสือ สุดท้ายอยากให้ทุกคนเล่นดนตรีให้ดี เล่นดีเสร็จอะไรจะเกิดขึ้นค่อยว่ากัน การเตรียมตัว การวางตัว หรือการที่อ่อนน้อมถ่อมตน วงพี่ เขาอยู่ได้เพราะอย่างนี้แหละ อยากให้น้อง เรียนรู้ว่าเราเป็นคนไทยทำดนตรีอยู่ในเมืองไทย มันจะเป็นแบบอเมริกันไม่ได้หรอก มีความเคารพแบบมีเหตุผล ผู้ใหญ่งี่เง่าก็ด่าได้ แต่ถ้าไม่งี่เง่าก็ต้องฟังเขาไว้หน่อย 

DOOD

รู้สึกยังไงที่ปกติเป็นงานสเกลเล็ก แล้ววันนึงมาอยู่ในเฟสติวัลใหญ่

อันนี้ถึงอยู่ในเฟสติวัลก็ตามแต่เราจะดูแลคนแค่ 100 คนเหมือนเดิม สเปซมันจะอยู่ใน canteen ของ Voice Space ที่เป็นกระจก คือ DOOD ครั้งนี้โชคดีเพราะว่ารวมศิลปินเยอะ แล้วก็ได้รับโอกาสจาก Jam Fest ได้ budget มาก้อนนึงทำให้เรากล้าท่ีจะจัดเวที กล้าทำอะไรอย่างที่เราคิดว่าจะทำไม่ได้ ผมก็รู้สึกดีอยู่แล้ว เท่ากับว่ามีเวลาให้วงตั้ง 12 วงได้เล่น แล้ววงเหล่านี้ผมเชื่อว่าอาจจะไม่ใช่ทุกวงที่ได้ทำต่อไปเรื่อย บางวงอาจจะเป็นแค่ครั้งเดียวที่เขาได้เล่นก็ได้ แล้วเพลงดี ทั้งนั้นเลย อยากให้มาลองฟังว่าจริง มีวงดนตรี มีเพลงอีกมากมายหลายรูปแบบ อาจจะทำให้คนที่ชอบฟังเพลงประทับใจได้

เลือกวงที่มาเล่นจากอะไร

ความชอบส่วนตัวเลยครับ ตอนนี้มีทีม DOOD สี่คนเราก็ช่วยกันดู ผมก็ curate วงแหละ แต่จะมีน้องอีกคนช่วยดู visual artists ในอนาคต แล้วก็แบ่งหน้าที่กันไป โดยที่พอได้อะไรมาก็มากางดูด้วยกัน เพราะสุดท้ายแล้วผมต้องขอ playlist ทุกวงให้น้อง ไปทำวิชวล งานใหญ่ งานช้าง จริง มีพี่ Lolay ด้วย เขารับผิดชอบเรื่องโปสเตอร์ทั้งหมดเลย ถ้าเขาไม่ติดเลี้ยงลูกนะ ตอนนี้ไปญี่ปุ่น แม้แต่คำว่า DOOD ก็คิดโดยพี่โลเลนะ เขาบอกว่าเหมือนแทนที่เราจะฟังดนตรี เรา ‘ดูด’ ดนตรี อาการดูดคือมันเลือกไม่ได้อะ ถ้าคุณไม่ชอบก็ต้องสำลักออกมาอย่างเดียว หูมันยังเดินหนีได้ เราคิดว่าเรามีเสียง ชวนวงดี มา เอา visual lighting มาห่อ คนน่าจะอยากดูดมันเข้าไป

จากการเป็นศิลปินมาเป็นโปรโมเตอร์ เห็นอะไรที่เป็นช่องโหว่อยู่บ้าง

เห็นเรื่องเดียวคือเมืองไทยมีสเปซสำหรับวงคัฟเวอร์เยอะไปหน่อย มันมีอีเวนต์มากมายว่าคัฟเวอร์วงนั้นวงนี้ แล้วก็มีวงคัฟเวอร์เจ๋ง มา ซึ่งนั่นไม่ผิด มันมีพื้นที่ให้วงที่มี original song น้อยไปหน่อย อยากให้มีคนอยากดูวงนี้เพราะอยากรู้ว่าเพลงเขาเป็นยังไง แบบ มาโดยไม่คิดอะไร ต้องมานั่งท่องเนื้อเขาก่อนไป สมมติ Follows มีอัลบั้มใหม่อาจจะรู้สึกว่าเฮ้ย มันทำอะไร มันมีอะไรอีก แล้วก็หาโอกาสไปดูเขาเล่นสด ค่อยมาไล่ดูตาม mv แก้คิดถึง

อุปสรรคก็คือคนฝั่งนักดนตรีและผู้จัดต้องทำงานหนัก ค่อย จัดงาน นักดนตรีก็หาที่เล่นไป มันอาจจะยังไม่ใช่เวลาที่จะมาคาดหวังว่าต่อไปจะเป็นยังไง ยังเป็นช่วงที่ต้องระดมข้อมูลกันอยู่เลย วงก็ไม่ได้มีอะไรเยอะพอที่จะมาคาดหวังได้ว่า เรามีร้อยวงแค่นี้ ในสนามที่ DOOD จัดนะ วงที่อยากเล่นแต่เพลงตัวเองก็คาดหวังว่าวันนึงจะมีคนมาดูวงเราเล่นเพลงตัวเองแบบเสียเงินนะ ซึ่งผมเชื่อว่ามันอยู่ในช่วงที่ทำไปเรื่อย ก่อน ใครสะดวกจัดก็จัด วงก็ไม่ต้องรอผู้จัด หาสเปซ บางวงเขาก็ไปเองเลย แล้วแต่ความอยากทำของเขา บางวงไม่ได้ตั้งใจจะทำเป็นอาชีพ บางวงได้มาเล่นก็ฟลุ๊กได้ทำเทป มันมีหลายโอกาส หลายสถานการณ์ ผมรู้สึกอยากชวนเขาออกมาเล่นกันก่อน ยังไม่ต้องคุยถึงอนาคตหรอก ให้โชว์อยู่ภายใน 20-50 คนแล้วค่อนเดินทางไปเรื่อย มาคิดว่าเมื่อไหร่จะดังมันปวดหัว เอาเวลาไปซ้อม ไปหาที่เล่นสดดีกว่า จะได้มอนิเตอร์ว่าอยู่ในเลเวลไหน บอกว่าเพลงมึงเจ๋ง เล่นต่อหน้าคน 50 คนอยู่หรือเปล่า มันมีรายละเอียดเยอะ แล้วผมรู้สึกว่าวงดนตรีต้องเล่นสดแหละ ไปโฟกัสกับอะไรที่ไม่ใช่เล่นสดมันก็เสียเวลา นอกจากว่าวงเล่นสดจนเบื่อแล้วก็เอาเวลาไปทำอย่างอื่น อาจจะแก้คิดถึงคนฟังด้วยการทำ live session ในบางช่วงเราอาจจะไม่ได้เล่นสดบ่อย

สิ่งที่ทำให้คุณต้องมางานนี้

ผมคิดว่าทุก วงมีศักยภาพหมดเลยแต่แค่ว่าเขาไม่มีคนเห็น แล้วพอวันนึงเขารู้สึกว่ามันไม่ใช่เขาอาจจะฝ่อไปเอง ผมไม่อยากให้เขารู้สึกแบบนั้น อยากให้เขาเล่นแล้วมีคนเห็น แล้วพอมีคนเห็นมันก็อาจจะทำให้คนดูกลุ่มเล็ก กระจายต่อไปว่า เฮ้ย วงนี้ดีนะ อาจจะไปกระจายเจอเจ้าของอีเวนต์สักอันที่อยากจัดแปลก เราขอแค่คนสองคนเพื่อให้วงเหล่านี้ได้ไปต่อแค่นั้นเองครับ ก็ไม่รู้ว่ะ แล้วแต่วง แล้วแต่โชคชะตา รู้สึกว่าเราทำให้เขาสุดทางละ ถ้าเขาเล่นมันอยู่ที่เขาแล้ว เพราะผมก็ตอบเขาไม่ได้ว่าเขาจะไปไหนได้ต่อ คนที่ตอบคือคนดู ผมกับเขาอยู่ฝั่งเดียวกันก็มาลุ้นพร้อมกัน แล้วก็ โชคล้วน เลยอะ แล้วแต่ดวงละ อาจจะมีวงอกหักอยู่วงนึง แล้ววันนั้นคน 50% เสือกอกหักมากันหมดเลย วงนี้ก็มีโอกาสที่จะได้รับความนิยมโดยไม่มีเหตุผล

ผมคิดว่าผมพยายามบอกน้อง ว่า ไม่ว่าเราจะทำเพลง instrumental หรือร็อก หรือป๊อป เราไม่รู้หรอก เราทำให้เต็มที่ในฝั่งเราก่อนดีกว่า คนฟังมันจะเป็นยังไงก็ได้ ห้ามตีโพยตีพาย ถ้าเขาไม่ชอบก็คือเขาไม่ชอบ เขาไม่จำเป็นต้องไม่ชอบเพราะแบบ โห มึงโง่มากเลยไม่รู้ทฤษฎี เขาไม่สน เขามีหน้าที่ฟังอย่างเดียว เขาไม่ชอบเขาก็เดินไป เขารื่นหูเขาก็อยู่ต่อ ฝั่งนักดนตรีตีโพยตีพายเรื่องเทคนิคก็จะเป็นอย่างหลาย วงที่เห็น มันก็กลายเป็นว่าดูถูกคนฟัง เราไม่มีสิทธิจะคิดว่างานของเราเลเวลไหน คนฟังเลเวลไหน แต่ถ้าวงอยากให้คนดูแฮปปี้ก็ต้องศึกษาปรับวิธีกันไป ถ้าอยากเป็นตัวของตัวเองก็เป็นไป ไม่มีทางไหนผิด แล้วก็อยากให้ออกมาเล่นสดกันเยอะ อย่าอยู่ในเน็ตเยอะไป

ใครที่มีบัตร Jam Fest แล้วก็เตรียมไปสนุกกับ DOOD Stage และแน่นอนที่ Main Stage พร้อมศิลปินที่เรารักอย่าง Flure, Monotone, Noi Pru, Scrubb, 2 Days Ago Kids, Whal & Dolph, The Tiys feat. Twopee, Fukking Hero 27 ตุลาคมนี้ ที่ Voice Space วิภาวดีรังสิต

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้