ต่อ คันฉัตร กับการ ‘ติ่ง’ ศิลปินไปทั่วโลก และมุมมองต่อกระแสไอดอลในไทย
- Writer: Peerapong Kaewthae
- Photographer: Chavit Mayot
- Art director: Benyatip Sittivej
เพราะทุกคนล้วนเคยติ่งใครซักคน หลายคนจึงรวมตัวกันขึ้นมาเป็นกลุ่มคนที่มีความหลงใหลในไอดอลหรือศิลปิน ที่ขับเคลื่อนให้พวกเขากล้าลุกขึ้นมาทำอะไรที่คาดไม่ถึง คนเหล่านั้นมักถูกเรียกขานด้วยนามอันแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ‘แฟนคลับ’, ‘ติ่ง’, ‘พ่อยก-แม่ยก’ หรือศัพท์ที่คุ้นหูในช่วงนี้อย่าง ‘โอตะ’ แต่ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอะไร ทุกคนล้วนมีความรักที่ท่วมท้นประเมินค่าไม่ได้เหมือน ๆ กัน
ต่อ—คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง คือหนึ่งในนั้น แม้เราจะรู้จักเขาในฐานะนัก
ประสบการณ์การติ่งนานาชาติของต่อ
มันก็เริ่มจากญี่ปุ่นก่อน เหมือนเราเป็นเด็กที่เติบโตมาในยุคปลาย ๆ 90s ที่โตมากับ J culture การ์ตูนโดราเอมอน ดราก้อนบอล นิตยสาร Boom กับ C-KiDs เกม PlayStation อย่าง Final Fantasy มันก็จะลิงก์ไปพวกเพลงญี่ปุ่น อย่างตอนนั้นมีการ์ตูนเรื่องหนึ่งดังเหมือนกันชื่อว่า ‘X พลังล้างโลก’ แล้วมันก็มีเพลง Forever Love ของ X Japan สุดท้ายพวกนี้ก็ลิงก์กันหมด เราเลยไปตาม X Japan เราก็ไปรู้จัก Luna Sea กับ L’Arc-en-Ciel แล้วก็วงอื่น ๆ
แต่ช่วงนั้นมันตลกมากเลยนะ ติ่งญี่ปุ่นในช่วงยุค 90s จะคล้ายกับติ่งเกาหลีในยุคก่อนหน้านี้ จริง ๆ ติ่งก็จะโดนผลักเป็นคนชายขอบแม้จะเป็นความแมสประมาณหนึ่ง แต่เพื่อนก็จะแบบ ‘อี๋ พวกบ้าญี่ปุ่น’ มันจะมีความเหยียด การเหยียดนี่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ (หัวเราะ) เราว่ายุคนี้การเหยียดติ่งเกาหลีก็ยังคงมีอยู่มั้ง มันจะมีพวกเกลียดติ่งเกาหลีอะไรอย่างงี้ใช่มั้ย แต่กลับกลายเป็นว่าถ้าชอบญี่ปุ่นเนี่ยดูดี ตลกมาก แล้วอีพวกติ่งญี่ปุ่นก็จะไม่ถูกกับติ่งเกาหลีบ้าบอคอแตกอะไรไม่รู้ คนก็จะฟังเพลงฝรั่งกัน Backstreet Boys, Oasis, Spice Girls แล้วยุคนั้นยังไม่มีโซเชียลมีเดียเราก็รู้สึกเหงา ๆ การเป็นติ่งญี่ปุ่นเหมือนเป็นเอดส์เลยอะ (หัวเราะ) เราก็ต้องหาคนที่เป็นเอดส์ด้วยกัน คนก็จะมองเราแปลกด้วยเพราะลุคเราเป็นเด็กเรียน ไม่เตะบอล นั่งทำการบ้านเลขในห้อง ดูไม่ใช่คนบ้านักร้อง อยู่ดี ๆ ฟัง X Japan ซึ่งยุคนั่นยังไม่มีเรื่อง gender diversity หรือ ความหลากหลายด้านเพศภาวะ คนจะเข้าใจว่า ‘อีเหี้ยวง X Japan แต่งหญิง อีเหี้ย ตุ๊ด!’ (หัวเราะ) ‘มึงฟังตุ๊ดทำไม! ทำไมโยชิกิต้องไว้ผมยาว อีฮิเดะทำไมต้องหัวชมพู!’ ถ้าเป็นการ์ตูนเนี่ยโอเค แต่ถ้าชอบ J-rock ก็จะโดนเหยียดจากผู้ชาย ส่วนใหญ่คนชอบจะเป็นผู้หญิงไง ถ้าเจอผู้หญิงที่ชอบเหมือนกันก็จะเม้าท์ ๆ แต่ไม่ได้อะไรมาก แต่พอเจอผู้ชายที่ชอบ J-rock เหมือนกันก็ เฮ้ย! ต้องแอบคุย หลัง ๆ มันมี ICQ ก็จะแอบทักไป สมมุตินะ ‘นาย ๆ เราอยู่ห้อง 3 นะ นายห้อง 5 ได้ข่าวว่านายชอบ X Japan หรอ’ (หัวเราะ) โคตรเหี้ยเลย ทำไมกูต้องแอบทำอะไรแบบนี้ด้วย
มันก็เป็นไซเคิลของมันอะเนอะ ก่อนยุคญี่ปุ่นจะดังก็มียุคฮ่องกง หลิว เต๋อหัว ซึ่งเราไม่ทัน แล้วก็จะมียุคไต้หวันมาพักหนึ่ง Jay Chou กับ F4 จาก ‘รักใส ๆ หัวใจสี่ดวง’ ปี 2000 ต้น ๆ ที่ฮิตอยู่พักหนึ่ง แล้วเริ่มมายุคเกาหลีละ TVXQ! กับ Super Junior จริง ๆ เราเคยเป็นคนที่แอนตี้เกาหลีมาก่อน แต่ก่อนมีเว็บ Bloggang เขียนบล็อกนั่งด่าเพลงเกาหลี (หัวเราะ) ไม่ได้ด่าแรงมากหรอก แต่จะรำคาญ แซะ ๆ อะไรงี้ มันจะเป็นแนวแบบเบื่อ ช่วงที่เราฟังเพลงญี่ปุ่นมันก็จะเป็นช่วงที่เราฟังเพลงอินดี้ด้วย แต่ไม่ลึกมาก เป็นช่วงที่อยากฟังเพลงให้หลากหลาย ก็เริ่มชอบ Radiohead แต่ก่อนจะมีเพลงฝรั่งที่แมส ๆ Linkin Park, Limp Bizkit, Slipknot อะไรงี้ก็ฟัง Nirvana ก็ลองฟัง แต่ Radiohead หรือ Björk มันแปลกดี ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงอินดี้มาก ช่วงนั้นก็เลยเกลียดเกาหลีเพราะสมัยนั้นยังไม่มี YouTube การฟังเพลงมันต้องเปิดเคเบิ้ลทีวีแล้วรอดู Channel [V] เน็ตแต่ก่อนยังไม่ไฮสปีดไงจะโหลดเพลงเพลงหนึ่งใช้เวลาครึ่งชั่วโมงกว่าจะได้ครบอัลบั้มเหมือนรวมพลังดราก้อนบอล (หัวเราะ) สมัยก่อนการฟังเพลงมันยากมากเลยนะเธอ ซึ่งยุคที่ต้องดู Channel [V] ก็จะเริ่มเบื่อเพราะกูอยากดูเพลงอินดี้หรืออัลเทอร์เนทีฟร็อก ๆ ทำไมต้องมีผู้ชายผมแหลม ๆ โผล่มา (หัวเราะ) ซึ่งตอนนั้นจะเกลียด Super Junior กับ TVXQ! มาก แต่เหมือนเป็นอคติอะไรยังเงี้ย แต่วันดีคืนดีก็ไปเจอสองวงที่ทำให้ชอบเกาหลีคือเจอ Big Bang ก่อน วงนี้เพลงมันก็จะไม่ป็อปมาก แบบฮิปฮอปหน่อย กวน ๆ กว่า ไม่ค่อยอ้อน ๆ เท่ ๆ เฮ้ยแม่งโอเคว่ะ ตอนนั้นก็เริ่มมีการต่อสู้ในจิตใจ (หัวเราะ) กูเกลียดเกาหลีไม่ใช่หรอทำไมกูชอบล่ะ เชี่ยกูเป็นอะไรเนี่ย คือญี่ปุ่นก็ยังฟังเรื่อย ๆ นะ ยังฟังป็อปด้วย Ayumi Hamasaki หรือ Namie Amuro แต่ก็มีหาย ๆ ไป วง J-rock ที่ชอบก็ตายไปหมด X Japan ยุบวง Luna Sea ก็ยุบวง วงโน่นนี่ก็ยุบวงไปขายก๋วยเตี๋ยวอะไรก็ไม่รู้ มันก็เลยหายไป แต่บางวงก็ยังอยู่นะแค่ไม่มีใครฟังแล้ว พอไม่มีโซเชียลเราก็ไม่รู้จะไปตามข่าวที่ไหน วงก็อัพข่าวลงเว็บหลักอย่างเดียว สมัยนั้นก็ยังไม่มี Google Translate ข่าวมึงคืออะไรวะ (หัวเราะ) ก็เลยห่างหายไป
หลังจากนั้นก็เจอ Girls’ Generation จำได้เลยเพลงที่เจอคือเพลง Genie ที่ mv สีชมพู ๆ ดูแล้วแบบ เฮ้ย แม่งติดหูว่ะ (หัวเราะ) เอาไม่ออก ช่วยด้วย แล้วเก้าคนนี้ก็สวยดีนี่หว่า มันเป็นเพลงที่มีท่าเตะตะกร้ออะที่โชว์ขาอ่อน เออแม่งดีว่ะ พอเจอบ่อย ๆ เราก็ อืม หรือเราจะลองเปิดใจฟังดู ตอนนั้นก็เลยไปซื้อแผ่นซีดีเพลงเกาหลีครั้งแรกคือ Big Bang EP Stand Up มันจะมีเพลง Haru Haru ที่ดัง ๆ ตอนไปซื้อเหมือนไปซื้อถุงยางครั้งแรก (หัวเราะ) มีใครเห็นเราปะเนี่ย พอถึงจุดหนึ่งก็เริ่มผ่อนคลายนะ คงเป็นเรื่องอายุด้วยแหละ มันจะมีช่วงหนึ่งที่เราเก็ตอินดี้อะ ฉันฟัง Sigur Rós ฉันฟัง post-rock ฉันเท่มาก แล้วหลัง ๆ ก็จะแบบฟังอะไรก็ฟังไปเถอะ แต่เราชอบเกาหลีช้านะ เราว่าเกาหลีมันมาตั้งแต่ 2005 มั้ง เรามาอินตอน 2010 แล้ว เราว่าจุดเปลี่ยนอีกอย่างคือตอนสอนหนังสือ ตอนเริ่มเป็นอาจารย์พิเศษมันเครียดมาก (กระแทกเสียง) เริ่มสอนใหม่ ๆ เลยรับมือไม่ถูก เหมือนทำงานบริษัทอาจจะเจอเจ้านายเหี้ย ๆ คนนึงหรือเพื่อนร่วมงานเหี้ย ๆ ซักสามคน แต่สอนหนังสือเรามีเจ้านาย 200 คนอะ เด็กก็มีปัญหาล้านแปด ช่วงแรก ๆ มีความโง่มากคือแจกเบอร์ในห้อง ซึ่งเป็นสิ่งห้ามทำไงแล้วเราไม่รู้ อยากแบบมีอะไรก็คุยกันง่าย ๆ (FJZ: แล้วคนสองร้อยคนก็โทรมา?) ตีสี่มันยังโทรมาเลย อาจารย์ขาหนูทำการไม่เสร็จ อะไรวะเนี่ย! กูกำลังเจอกับอะไรอยู่!!! Girls’ Generation ก็ปล่อยเพลงเพลง Oh! ที่แต่งตัวเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ก็พบว่า เชี่ย แม่งคลายเครียดว่ะ แม่งดีว่ะ ช่วยเยียวยาจิตใจ โอเคเข้าทางนี้เลยละกัน ก็เลยเริ่มฟังเกาหลี ช่วงฟังเกาหลีก็เริ่มมี YouTube มีโซเชียลมีเดียแล้ว มันเหมือนไวรัสอะ คลิกดู Girls’ Generation ก็มี Wonder Girls โผล่มา เลยเริ่มไปทางนั้น
เรามาฟังเกาหลีเนี่ย เราอินเพราะว่ามันง่าย กูไม่ต้องลำบากเหมือนแต่ก่อนแล้ว เราว่าวัฒนธรรมแฟนซับก็มีส่วน สมัยญี่ปุ่นนี่ไม่มีเลยนะการทำซับ คลิปที่ดูไปเมื่อยี่สิบปีที่แล้วเพิ่งมารู้ว่ามันพูดอะไรกันก็ปัจจุบันละ ยุคเกาหลีมันเฟื่องฟูมาก เป็นคอมมิวนิตี้มาก ๆ
การเป็นติ่งเปลี่ยนชีวิตตัวเองยังไงบ้าง
เราเป็นติ่งมาตลอดนะ เราก็ได้เห็นความเป็นติ่งในแต่ละยุคสมัย เราเป็นพวกบ้าอะไรจริงจัง แต่ละคนจะมีความติ่งในแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน แค่มันไม่ได้เรียกว่าติ่งเท่านั้นเอง อาจจะเรียกแฟนคลับ สาวก โอตะ geek nerd มันจะมีคนถามบ่อย ๆ แหละว่า ผู้ชายบ้าบอลทำไมไม่มีปัญหา แต่เป็นติ่ง เป็นโอตะถึงมีปัญหา มันมีลักษณะของการเหยียดอยู่ ติ่งกีฬาอาจจะง่ายอะ แพ้ชนะจบ แต่ติ่งดนตรีมันเป็นเรื่องรสนิยมที่มีความหลากหลายอยู่ ถ้าคุณไม่ชอบก็เริ่มมีปัญหาละว่าจะเถียงกันยังไงให้จบ เราก็เป็นพวกมี passion บ้าอะไรก็บ้าคลั่งเลย สมัยก่อนเล่น Final Fantasy VII เราเล่นจบไปสี่รอบอะ เก็บเลเวลไปเรื่อย ๆ คุยกับคนทุกบ้าน (หัวเราะ) เราเป็นคนมีเวลาติ่งเพราะไม่ค่อยใช้ชีวิตตามชาวบ้านเขา ไม่ได้อินดี้นะ อย่างเพื่อนไปเล่น Counter Strike ที่ร้านเกม เราก็ไม่ไป จะกลับบ้านไปเล่นเกมของเราเอง เพื่อนจะไปถ่ายรูปที่ตู้สติ๊กเกอร์แต่เราจะไปซื้อการ์ตูนอ่าน เราก็เหมือนมีแนวทางของตัวเองชัดเจน ใช้เวลากับตัวเองมากกว่า แถมเราเป็นลูกคนเดียวด้วยมีห้องส่วนตัวตั้งแต่ ป.2 เหมือนมีอาณาจักรของตัวเอง ได้บ้าเกมบ้าการ์ตูนเต็มที่ อยากอ่านการ์ตูนก็ไปซื้อ Berserk สิบเก้าเล่มมานั่งอ่านทีเดียว พอตอนเป็นติ่งญี่ปุ่นก็พบความยากลำบากอย่างที่เล่าไปแล้ว คือเพลงญี่ปุ่นสมัยก่อนมันหาฟังยากมากเลยนะ ต้องมีเว็บลับในการโหลด แล้วก็มีดราม่าไปบอกคนอัพแบบ (บีบเสียง) ‘พี่คะทำไมยังไม่อัพเพลงนี้ซักที’ ไอ้นั่นก็จะงอนไง (บีบเสียง) ‘น้องอย่ามาเร่งพี่สิ’ (หัวเราะ) (FJZ: มีมาตั้งแต่สมัยนั้นเลยหรอ) ทุกวันนี้ก็ยังมี ‘ทำซับซักทีสิ’ ‘แปลการ์ตูนซักทีสิ’ อีลูกช่างทวง (หัวเราะ) สมัยนี้ถ้ามีบ้านหนึ่งเลิกแปลซับ อีกบ้านหนึ่งก็จะมาแปลต่อ แต่สมัยนั้นมันไม่มีโว้ย ถ้าจำไม่ผิดเขาเป็นพี่คนนึงที่อยู่ญี่ปุ่นมั้ง แล้วค่อยอัพเพลงให้คนไทยฟัง เคเบิ้ลไทยก็ไม่ได้เปิดเพลง J-rock บ่อย ต้องรอคนทางโน้นอัดวีดีโอมาขายม้วนละ 350 เพื่อ mv ตัวสองตัว พอยุคต่อมาที่เริ่มโหลด mv ได้แล้วก็ต้องเปิดคอมทิ้งไว้ทั้งวันต่อตัว แล้วต้องมานั่งเชื่อมไฟล์อีก ถ้าหลุดตัวนึงก็ต้องโหลดใหม่ 18 พาร์ต
พอเรามาฟังเกาหลีเนี่ย เราอินเพราะว่ามันง่าย กูไม่ต้องลำบากเหมือนแต่ก่อนแล้ว เราว่าวัฒนธรรมแฟนซับก็มีส่วน สมัยญี่ปุ่นนี่ไม่มีเลยนะการทำซับ คลิปที่ดูไปเมื่อยี่สิบปีที่แล้วเพิ่งมารู้ว่ามันพูดอะไรกันก็ปัจจุบันละ ยุคเกาหลีมันเฟื่องฟูมาก เป็นคอมมิวนิตี้มาก ๆ คลิป Girls’ Generation ออกวันนี้ พรุ่งนี้มีซับละ มันทำให้เรารู้ว่าชอบอะไรแมส ๆ มันก็เป็นข้อดีเหมือนกัน มันง่ายมากแล้วเราไม่ต้องอยู่คนเดียวบนโลกใบนี้แล้ว ตอนฟัง Sigur Rós วงไอซ์แลนด์แม่ง… ไอ้เหี้ย (หัวเราะ) จำได้ตอนนั้นมีเครื่อง Walkman แล้วใส่แผ่นวง Air ค้างไว้แล้วเพื่อนยืมไปฟัง เพื่อนก็ลองฟังแล้วถามว่า ‘เพลงเหี้ยอะไรเนี่ย’ เราก็บอกว่ามันคือวง Air จากฝรั่งเศส เพื่อนถามว่าทำไมมึงต้องฟังเพลงฝรั่งเศสด้วยวะ (หัวเราะ) เพื่อนไม่ได้กวนตีนนะ แต่เขาไม่เข้าใจ ใน mind map ของเขามันไม่มีว่าคนเราต้องฟังเพลงภาษาฝรั่งเศส (หัวเราะ) เราก็ได้แต่บอกว่ามันเพราะดี พอมาเป็นติ่งเกาหลีมันก็ทำให้เห็นว่าเราไม่ได้ชอบอยู่คนเดียว แต่มีคนอื่นชอบด้วย
แต่อย่างต่อไม่น่าจะใช่คนที่ไปรวมกลุ่มกับใคร
เราก็เป็นสายฟังอยู่กับตัวเองแหละ แอบไปส่องบ้านโน่นบ้านนี้บ้างแต่ไม่ได้ไปคลุกคลีกับใคร แต่สมัยฟัง J-rock เป็นนะ เพราะช่วงฟังเพลงญี่ปุ่นเหมือนเล่นเกม RPG ต้องคอยหาข้อมูลข่าวสารอะ เขาจะมีนัดกันทุกวันเสาร์ที่ร้านฟาสต์ฟู้ด แล้วพนักงานร้านเขาก็จะเกลียดพวกเรามากเพราะอีเวรพวกนี้มานั่งตั้งแต่เที่ยงวันยันสองทุ่ม (หัวเราะ) ฝั่ง J-rock เขาก็อยู่สยามสแควร์ ฝั่ง J-pop พวก Johnny’s Entertainment อะไรยังเงี้ยจะอยู่ตรงฟู้ดคอร์ตสยามเซ็นเตอร์ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นอะไรแล้วก็ไม่รู้ เขาก็จะเป็นแนวมาแลกเปลี่ยนข้อมูล เอานิตยสารมาแลกกันอ่านแต่อ่านไม่ออกหรอก (หัวเราะ) มันจะมีพวกเจ๊ ๆ รวย ๆ สายเปย์มาให้เราอ่าน (บีบเสียง) ‘อย่าทำยับนะ มาแลกของกัน’ ยุคอนาล็อกอะ แต่ไม่ได้รักกันมากนะ มีตบกันบ้าง มันอาจจะแยกนั่งเป็นสองโต๊ะเพราะเจ๊ไม่ถูกกัน แต่เราก็ไม่ได้ไปบ่อยมากเพราะเราไปในช่วงท้าย ๆ ก่อนที่เขาจะล่มสลาย เราเพิ่ง ม.3 แต่เจ๊ ๆ พวกนี้เขาก็เรียนจบแล้วก็เลยหาย ๆ ไป
การเปย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยทำ
เราก็ซื้อซีดีเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้ประมูลของแรร์อะไรมาก ดูสิ แต่ก่อนจริงจังมากถึงขนาดเอาบัตรคอนเสิร์ตไปเคลือบ Oasis เล่นครั้งแรก หรือข่าวฮิเดะวง X Japan ตายก็ตัดเก็บไว้เกือบยี่สิบปีแล้ว แต่ที่เปย์หนักสุดก็ Madonna มาไทย หมื่นสองจ้า เราก็ฟังเพลงหลากหลายนะ ถ้านับจริง ๆ ก็จะมีทริปไปดูคอนเสิร์ตที่ต่างประเทศรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดมันก็แพง แต่ถ้ารวมเป็นชิ้นเดียวก็คง Madonna เนี่ยแหละ สมัยก่อนก็จะอาย ๆ ผู้ชายต้องฟัง Linkin Park เนอะ แล้วกูฟัง Madonna เราชอบตอนชุด Ray of Light มันเก๋มากเลยอะ เพลง Frozen เดินกลางทะเลในชุดดำ ๆ แม่งเจ๋งว่ะ แต่ก่อนรู้สึกว่านางเป็นแค่ผู้หญิงแก่ ๆ คนหนึ่ง แต่เพลงเขาเปลี่ยนตลอดเวลา แล้วช่วงนั้นเพลงมันดีมาก ชอบมากแล้วก็ตามมาตลอดแม้ช่วงหลัง ๆ จะดรอปลง แต่แม่มาอะ ก็ต้องไปดู พวกดีว่าเราก็ฟังนะ Kylie Minogue หรือ Mariah Carey แต่คนหลังฟังนี่เพราะตลก (หัวเราะ) ไม่ได้ตามจริงจัง สมัยนั้นมันมีนิตยสาร POP ที่เขียนเกี่ยวกับเพลงฝรั่ง เขาก็จะแซวพวกดีว่าด้วย หมื่นสองเนี่ยแหละคือบัตรคอนเสิร์ตที่แพงที่สุดในชีวิตละ หวังว่าจะไม่ต้องแตะราคาระดับนี้อีก
การติ่งยังทำให้เข้าถึงสัจธรรมของการติ่งคือ ‘วงแตก’ ด้วย
ช่ายยย มันเป็นเรื่องที่เจอมาตลอดแล้วนะ ซักวันวงก็ต้องแตกหรือไอดอลก็ต้องไปมีผัวมีเมียมีแฟน พีคสุดคือตายอะไรอย่างเงี้ย อย่าง X Japan เนี่ย วงนี้วงเดียวแม่งได้ทุกอย่าง (หัวเราะ) ดราม่าเยอะ เดี๋ยวไอ้นั่นตาย เดี๋ยวทะเลาะกัน มันก็ทำให้ปลง ๆ ทุกสิ่งมีเกิดมีดับ บางทีก็จะรู้สึกแบบ รีบ ๆ ดูแม่งเหอะเดี๋ยวแม่งตายก่อน ใครจะรู้ว่าอยู่ดี ๆ Avicii จะตายอะ คนนี้เราได้ดูแต่ไม่ได้ชอบเขามากนะ เราไปดูเพราะเขาบอกว่าจะเลิกทัวร์ไง ซึ่งวันนั้นก็ไม่ค่อยสนุก เพราะเราอายุเยอะขึ้นด้วยมั้งเลยไม่ค่อยชอบคอนเสิร์ตแบบแดนซ์ ๆ ซ่องแตกอะ เพราะมันเหนื่อย
มีวงไหนที่เสียดายไม่ได้ดูมั้ย
David Bowie เราไม่ได้ตามเขามากนะ ทุกวันนี้ยังฟังเพลงของเขาไม่ครบทุกชุดเลย ก็คงไม่ครบอะเพราะเขามีตั้งยี่สิบกว่าอัลบั้ม (หัวเราะ) แต่เขาก็เป็นไอคอนอะ เขาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ถูกเรียกว่ากิ้งก่าแห่งวงการดนตรี แต่ทัวร์ครั้งล่าสุดของเขาก็นานมากแล้ว หวังว่าเขาจะกลับมาทัวร์อีกครั้งจะยอมบินไปยุโรปเลย เขาเคยมาเล่นสิงคโปร์นะ เคยมาไทยด้วย แต่มันก็นานมาแล้ว มีอีกวงนะที่ชอบมากแต่คิดว่าเขาก็คงไม่กลับมาทัวร์แล้ว Cocteau Twin วงดรีมป็อปยุค 80 เป็นวงที่ Faye Wong ชอบแล้วเอาเพลงเขามาคัฟเวอร์ด้วย เพลงเขาจะยากหน่อย วงมีสามคนแต่ยังไม่มีใครตาย ยังทำเพลงกันอยู่ด้วย แต่เขายุบวงแล้วก็ไม่กลับมากันแล้ว เราก็ทำใจคงไม่ได้ดูละ
คิดว่าเมืองไทยมีศักยภาพพอจะส่งออกศิลปินเหมือนที่เกาหลีทำไหม
(ทำท่าคิด) เราว่ายากนะ มันมีหลาย ๆ เหตุผลด้วยกัน หนึ่งคือคนชอบถามหานิยามความเป็น T-pop ใช่มั้ย แล้วเรานึกไม่ออกว่า T-pop เป็นยังไง มันก็มีช่วงหนึ่งแหละยุคอาร์เอสกับแกรมมี่ที่พอมีเอกลักษณ์ขึ้นมาหน่อย วง บอยสเก๊าท์ อะไรเงี้ย แต่เพลงแบบนั้นในยุคนี้มันเชยไปแล้ว แล้วจะมาหา T-pop ในทุกวันเนี้ย เราไม่ได้ว่าพวกเขาไม่มีเอกลักษณ์นะ เราเข้าใจเพราะเราก็เป็นอาจารย์สอนศิลปะ คือยุคนี้หาอะไรที่เป็นออริจินัลได้ยากมาก คงต้องหาความแปลกใหม่มากกว่า เพลงป็อปในยุคหลังก็ไม่แข็งแรงเพราะได้วัฒนธรรมญี่ปุ่นเกาหลีมามากกว่าจนไม่มีเอกลักษณ์ของเรา ก็คงยากถ้าเราจะส่งสิ่งที่คล้าย ๆ กับคนอื่นออกไป เราว่ามันขายได้คือเรื่องลุค ก็เห็นว่ามีดาราหลายคนไปดังที่จีน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเป็นกลยุทธอย่างหนี่ง เรารู้สึกว่าดาราที่ส่งตัวเองไปขายเมืองนอกก็ไม่ได้เอาผลงานเพลงไปขายเท่าไหร่ คงเป็นหน้าตา การแสดง หรือแม้แต่เรื่องคู่จิ้นอะไรพวกนั้น ก็ไม่ได้รู้อะไรละเอียดมากเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นวงไหนไปอินเตอร์ได้จริง ๆ จัง ๆ หรือไปงานญี่ปุ่นก็ไปโชว์ตัวเฉย ๆ คงยากอะ อุตสาหกรรมดนตรีในบ้านเราก็ไม่ค่อยแข็งแรง ไหนจะเรื่องรัฐบาล (หัวเราะ) เรารู้สึกว่าเมื่อบ้านเมืองเป็นแบบนี้ ศิลปะวัฒนธรรมก็คงไม่ใช่สิ่งที่เขาให้ความสำคัญเท่าไหร่ ถ้ามองในแง่ของกลยุทธทางการเมืองก็ใช่แหละเพราะมันมีเรื่องที่สำคัญกว่าต้องแก้ก่อน แต่ถ้ารัฐบาลมีวิสัยทัศน์เขาก็คงบาลานซ์ทุกเรื่องให้เท่ากัน ทั้งไอที เรื่องคมนาคม การบริหารบ้านเมือง เรื่องวัฒนธรรม
กำลังจะถามเลยว่าภาครัฐมีส่วนช่วยผลักดันตรงนี้ไหม
ได้ เกาหลีเนี่ยชัดเจน อย่างญี่ปุ่นมีฐานที่แน่นอยู่แล้วจนเขาไม่ต้องง้อประเทศอื่น เอกลักษณ์เขาชัดเจน การ์ตูน เกม คาแรกเตอร์ซานริโอ้ Hello Kitty Aggretsuko มันพ่วงกันหมดจนแข็งแรงมาก แต่เราก็เห็นว่าญี่ปุ่นมีส่งออกบ้างแต่น้อยถ้าเทียบกับเกาหลี คนในชาติก็ยังซื้อซีดี โหลดเพลงลิขสิทธิ์ คนแห่กันไปดูคอนเสิร์ต เราเพิ่งไปดูคอนเสิร์ต Namie Amuro เป็นดีว่าชื่อดังของญี่ปุ่น แต่คอนเสิร์ตนี้เป็นคอนเสิร์ตอำลา นางเล่นในโตเกียวโดมที่จุคนได้ห้าหมื่นคน เล่นหกรอบบัตรแม่งยังไม่พอเลย (หัวเราะ) sold out ทุกรอบ คนไม่ได้ตั๋วเยอะมาก เราเลยไปดูที่ฮ่องกงเพราะเราไม่มีปัญญาแย่งตั๋วที่ญี่ปุ่นได้ หน้างานแม่งก็มีแต่คนญี่ปุ่น (หัวเราะ) กูนึกว่ามาผิดประเทศเพราะคนพวกนี้เขาก็ซื้อไม่ทันเหมือนกัน ก็แห่มาดูกัน มันเลยเป็นประเทศที่กูอยู่ของกูได้ไม่ง้อใคร ถ้าใครตามวงญี่ปุ่นจะรู้เลยว่าแม่งยากมากเพราะมันยังไม่รับบัตรเครดิตต่างประเทศเลย ต้องฝากคนอื่นไปจ่าย อะไรของมึง! อย่างเกาหลีเขาก็ชัดเจนเลยนะว่าเขาส่งออก K-pop หรือละครนะ เวลาเรียกพวกเขาว่าสินค้าวัฒนธรรมอาจจะดูแย่นะ แต่มันคือธุรกิจอะ ไม่ถึงขั้นลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์อะไรเขาหรอก การเป็นนักร้องก็มีลักษณะเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง เราก็จะเห็นบ่อย ๆ ว่าพวกคลิปชวนท่องเที่ยวกับเอาไอดอลมาโฆษณาเนื้อย่างเกาหลี ไปทัวร์ในประเทศอย่างเงี้ย อย่างล่าสุดวง BTS ที่เราไม่ได้ฟัง เราตกใจมาก วงเกาหลีช่วงหลัง ๆ ก็ไปทัวร์ต่างประเทศเยอะนะ แต่จะได้เล่นฮอลเล็กหรือไลฟ์เฮ้าส์มากกว่า แต่เท่าที่รู้คือ BTS ดังมาก ได้ไปเล่นที่ Ziggo Domeในเนเธอร์แลนด์เงี่ย ซึ่งเป็นโดมเดียวกับที่ U2 เล่นอะ มันไปขนาดนั้นแล้ว ขนาด Girls’ Generation ที่ดังมากก็ไม่ได้มาถึงขนาดนี้
รู้สึกยังไงกับการมาถึงของ BNK48
ก็ดีนะ เป็นสีสัน เรารู้สึกว่าไม่มีอะไรแบบนี้มานานมากแล้ว การมี BNK48 ก็ทำให้เกิดความคึกคักในวงการเพลง ซิงเกิ้ลไหนนะที่ขายแผ่นได้เป็นแสนแผ่น? มันไม่มีอะไรแบบนี้มานานแล้ว แรก ๆ ก็เป็นห่วงว่าคนจะเก็ตกันป่าววะ ตระกูล 48 เขามีระบบที่ค่อนข้างเฉพาะตัวมาก เขาไม่ค่อยปรับเปลี่ยนอะไรด้วยแต่ใช้การทับศัพท์เฉพาะไปเลย เซ็มบัตสึ อะไรยังงี้ แต่ถ้าสุดท้ายเพลงมันเข้าถึงทุกคนก็คือจบ อย่างคุกกี้ ฯ ก็เป็นไวรัล คนก็เริ่มลงทุนเสียเวลาศึกษา BNK48 กันมากขึ้นว่าระบบมันคืออะไร นั่งจำหน้าคนในวง สมัยเราฟังเกาหลีก็ไม่สามารถแยกได้ว่า Girls’ Generation แต่ละคนคือใคร แต่พลังแห่งความชอบความหลงใหลทำให้เราแยกได้ (หัวเราะ) Super Junior เราก็ไม่ได้ชอบแต่ฟังไงก็ทำให้รู้ว่า 13 คนมันก็แยกหน้าได้ เท่าที่เรารู้ตอนนี้คือหลายวงแทบจะไม่ทำซีดีกันแล้ว เรามีเพื่อนทำค่ายหนังอินดี้เขาก็เล่าให้ฟังว่าเลิกทำ DVD ไปแล้วเพราะโรงงานที่รับทำมันน้อยลง ต้นทุนมันเลยสูงขึ้น เราอาจเป็นเด็กที่โตมากับยุคอนาล็อก เราก็ยังชอบการซื้อซีดีมากกว่าแม้จะซื้อน้อยลง ปัญหาคือพอบ้านเราไม่ทำซีดีขายคนก็ไม่ซื้อเพลงลิขสิทธิ์ โหลดเพลงลิขสิทธิ์ เราสอนหนังสือก็คลุกคลีกับเด็กเยอะ ไม่อยากพูดคำนี้เลยเดี๋ยวดูเป็นคนแก่งี่เง่า แต่มันปฎิเสธไม่ได้ว่าเด็กสมัยนี้ก็โตมากับความสบาย โตมากับความสบายไม่ผิดแต่มันควรรู้ตัวว่าอะไรคือความสบายที่ผิดกฎหมาย บางคนไม่รู้ว่าการดูหนังฟรีบน YouTube แม่งคือผิดลิขสิทธิ์ มันมีวิธีที่ถูกลิขสิทธิ์แต่มันไม่สนใจหรือไม่รู้ไม่ศึกษา อย่างเร็ว ๆ นี้เพิ่งมีนิตยสารฟรีหัวหนึ่งโดนขโมยรูป BNK48 ไปอะไรแบบนี้
โอชิใครรึเปล่า
พูดตรง ๆ เลยนะ เราเป็นคนชอบความสวยงามแบบเกาหลี BNK48 นี่ไม่ใช่สเป็กเลย แต่มันก็แตกต่างกันจริง ๆ นะ เกาหลีเขาก็จะสวยมาแล้วแม้จะสวยคล้าย ๆ กันหมด แต่เป็นความสวยแบบปัง กลิตเตอร์มาแล้วมึงจะเอามั้ย แต่อย่าง BNK48 ก็จะดูบ้าน ๆ หน่อยเนอะ คุยกับเพื่อนที่ชอบเขาก็บอกว่ามันก็ดีนะ ดูไม่สูงส่งเกินไปเหมือนน้องข้างบ้าน (หัวเราะ) อย่างวงเกาหลีก็จะดูเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเอื้อมถึงได้ บางคนก็ตามเกาหลีมาจนเหนื่อยก็เปลี่ยนมาชอบ BNK48 เพราะเขาบอกว่ามันง่ายดีว่ะ มันเจอได้เกือบทุกวัน สำหรับเราไม่ได้เป็นแบบนั้น เราเป็นคนที่ค่อนข้างรักษาระยะห่างกับศิลปิน เราจะมีคำขวัญที่เราพูดบ่อยมากคือ ‘ศิลปินมีไว้ชื่นชมไม่ได้มีไว้รู้จัก’ เพราะเราเคยเฮิร์ตจากการไปเจอตัวจริงเขา ได้คุยกับเขาแล้วไม่ประทับใจ บางทีก็ไม่ใช่ความผิดเขานะ เขาอาจจะปวดขี้หรือทะเลาะกับผัวมา (หัวเราะ) รู้จักเขาแค่ในสิ่งที่เขาอยากให้รู้จักแหละ ไอ้การจับมือกับน้อง ๆ ก็ไม่ใช่การสื่อสารที่จริงจังมาก มันก็เป็นหน้าที่ของน้องเขาอย่างหนึ่ง ส่วนหนึ่งเราก็เข้าใจเขานะเพราะเราก็เป็นนักเขียนก็จะเจอแฟนหนังสือตามที่สาธารณะ แล้วเป็นอะไรไม่รู้น้องชอบมาทักตอนกำลังรีบ ๆ ทุกที แล้วเราจะบอกเขาว่า “กูรีบอยู่!!” ก็ไม่ได้ (หัวเราะ) ต้องลดโทนเสียงลง “หวัดดีครับ” อย่างในคอนเสิร์ตก็เจอทุกครั้ง… น้อง ๆ ถ้าอ่านอยู่นะครับ ทักได้นะครับแต่ช่วยดูจังหวะนิดนึง บางครั้งเพลงกำลังอิน ๆ อยู่ ‘พี่ขาขอถ่ายรูปด้วย’ พี่ก็ไม่เข้าใจ ถ่ายรูปในคอนเสิร์ตมันก็มืด ๆ ถ่ายแฟลชวาบ ๆ หน้ามันก็เหี้ยทุกคน (หัวเราะ) แต่เออก็ซึ้งใจที่อุตส่าห์มาทัก ได้รู้ว่าเราก็มีคนตามนะ
ในแง่ธุรกิจไอดอล คิดว่า BNK48 ได้มาตรฐานหรือยัง
อันนี้ก็พูดยากแฮะเพราะเราไม่ได้ตาม แต่ก็ได้ยินคนบ่น ๆ เรื่องระบบจัดการงานจับมือ จัดการไม่ดี เราว่าอันนี้ก็ชัดนะที่มีคนไปแคมป์ข้ามคืนงานจับมือที่ผ่านมาที่หน้าห้าง เราไม่เชิงไม่เห็นด้วยแต่ควรมีวิธีที่ดีกว่านี้ เราก็เคยผ่านอะไรแบบนี้มาเหมือนกัน ตั๋ว X Japan ตอนนั้นขายรอบแรกที่ลานเซ็นทรัลเวิร์ลซึ่งต้องไปต่อคิว ซึ่งต้องกินน้ำห้ากระป๋องอะไรไม่รู้ เริ่มขายสิบโมงหรือเที่ยงเนี่ยแหละคนก็อยากได้เลยไปต่อคิวเราก็ออกไปตั้งแต่ตีสี่ คนข้าง ๆ เราแม่งขับรถมาจากโคราชอะ มันไม่เมกเซ้นเลย นี่มันยุคอินเตอร์เน็ตแล้วค่ะ ถามว่าทำแบบนี้ทำไมก็คงอยากให้เป็นกระแส BNK48 ก็เช่นกัน คนจัดไม่ได้โง่อะ ก็อยากให้ครั้งนี้มันเป็นกระแส แล้วครั้งหน้าล่ะจะยังไง เกิดมีแฟนเยอะขึ้นเรื่อย ๆ การควบคุมมวลชนมันมีปัญหาอยู่แล้วแหละ ทำคิวออนไลน์มั้ย มันทำได้ไม่ยากหรอก เหมือนที่ญี่ปุ่นหรือเกาหลีเนี่ย แต่ก่อนเรามีปัญหาคือคอนเสิร์ตบัตรยืนต้องรีบไปต่อแถวเพื่อให้ได้อยู่หน้า ๆ หลัง ๆ แก่แล้วก็ไม่มีปัญญาไปแย่งกับเขา เชิญพวกมึงอยู่หน้าเวทีเลย แต่ญี่ปุ่นออกตั๋วเป็นบัตรยืนก็จะรันเลข เขาก็จะมีแถวเบอร์ 1-100 ยืนแถวนี้ แล้วค่อย ๆ ตอนเข้าไปทีละแถว ก็แค่เนี้ย! (หัวเราะ) มันน่าจะเวิร์กกว่าไปตั้งเต๊นท์อะ นอกจากเรื่องตัวเหม็นที่ดราม่ากัน แต่มันเสียเวลาไง สิ่งที่มันสำคัญแต่คนไม่คิดคือต้นทุนค่าเสียโอกาส เวลาที่มึงไปนั่งต่อแถวเอาไปทำอย่างอื่นได้เยอะแยะ ไปต่อคิวก็เหนื่อย ทรมาน เรื่องความปลอดภัยอีก ทะเลาะกัน เมาอีก ส่วนหนึ่งมันก็เป็นสันดานของคนอะนะ เราว่าไอ้ตัว official มีอำนาจในการวางมาตรการ อยู่ที่จะทำปะล่ะ หรืออยากให้มีกระแสต่อคิวไปเรื่อย ๆ ก็แล้วแต่ กูไม่ไปต่อ แต่เราไม่ได้ตามเลยไม่ได้พูดอะไรมาก เราไม่ได้ผลกระทบ แต่เราเป็นอาจารย์สอนฟิล์มเราด่า mv มันได้ เสียดาย คุกกี้เสี่ยงทาย มาก ไม่เชิงห่วยหรอกแต่มันไม่ดีเท่าที่คิด เห็น mv Shonichi มั้ย มึงควรจะจ้างคนที่ทำเป็นแบบนี้แหละ (หัวเราะ) ก็เห็นว่าโปรดักชันมันดีขึ้นเยอะ เราก็รู้จักกับ ป้อง—ไพรัช คุ้มวัน ที่เขาทำหนังเรื่อง ‘สยามสแควร์’ ก็ยังแซวว่าสีเหมือนหนังตัวเองเลย มืด ๆ เห็นมั้ยพอจ้างคนที่ทำเป็นมันก็ดีขึ้น สารคดี BNK48 ก็ให้ เต๋อ นวพล ทำ ก็ดูน่าสนใจ แต่ก็น่าเป็นห่วงในระยะยาวนะ ไม่รู้ว่าตอนนี้คือพีคแล้วมั้ง ไม่รู้ว่ามันจะลงรึยัง ปัญหาคือมันใช้เพลงจากญี่ปุ่นใช่มั้ย ก็ดีแหละเพราะมันดีหรือติดหูอยู่แล้ว ที่นี้เพลงที่ AKB48 ดัง ๆ มันก็ไม่ได้มีเยอะ นี่ก็ปล่อยคุกกี้ ฯ ไปแล้ว เขาคงวางแผนไว้แล้วแหละ เราอาจจะมองผิดก็ได้เพราะไม่ได้เป็นแฟน เหลือเพลง Heavy Rotation แล้วจะยังไงต่อ อีกอย่างไอ้เรื่องเธียเตอร์ว่าจะมีคนดูเยอะขนาดนั้นรึเปล่า ก็อาจจะเวิร์กก็ได้นะ
คิดยังไงกับพ่อค้าที่ฉวยโอกาสกับกระแส BNK48
มันมีทุกยุคสมัยแหละ เราว่ามันมีตั้งแต่ The Beatles แล้วมั้ง ในเมื่อมันเกิดสภาวะอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคามันก็จะต้องขึ้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งมันก็มีวิธีการป้องกันหลาย ๆ อย่าง อีญี่ปุ่นนี่ตัวดีเลย บ้านเราก็เคยเกิดขึ้นตอนคอนเสิร์ต Ed Sheeran ใช่มั้ย ใส่ชื่อหลังบัตร มันก็มีข้อเสียแหละ ถ้าไม่ระบุชื่อมันก็ขายต่อได้ แต่อีญี่ปุ่นจะมีระบบพิสดารอะไรของมัน มีระบบสแกนหน้า (หัวเราะ) พอซื้อบัตรแล้วเราต้องส่งหน้าเราไปเว้ย พอไปถึงหน้างานเขาก็จะมีเครื่องสแกนหน้า นี่มันเกิดขึ้นจริงนะ (หัวเราะ) บัตรคอนเสิร์ตกับบัตรจับมืออาจจะทำได้ แต่พวกสินค้าศิลปินหรือหนังสือแจกฟรีก็ยากละ เป็นกันทั่วโลก ญี่ปุ่นก็มีนะ ปกติเราพยายามซื้อบัตรแบบตรงไปตรงมาก่อนเสมอ พอไม่ได้จริง ๆ ก็ซื้อบัตรมือสองที่แพงขึ้น เคยซื้อบัตรคอนเสิร์ต U2 ที่เขาซื้อกันข้ามปีแล้วเราไม่รู้ ต้องซื้อต่อคนอื่นมาเจ็ดพันบาท จากราคาหน้าตั๋วสามพันบาท ก็ต้องเคยทำอะไรแบบนี้เหมือนกัน มันก็เป็นเรื่องของระบบทุนนิยม เราว่ามันเป็นทางเลือกอีกทางมากกว่า มันจะเลวร้ายก็ต่อเมื่อเป็นระบบแก๊งอะ ซื้อบัตรไปตุนไว้แล้วมาปล่อยผูกขาดราคา เราว่าอะไรที่มันควรป้องกันได้ก็ควรทำมั้ย มีความลำไยวุ่นวายหน่อยแต่ทำได้นิ หรือสินค้าที่มีลายเซ็นศิลปินแล้วคนจะซื้อต่อแพงก็สมควรมั้ย อะไรแบบนี้
จำเป็นมั้ย ที่ไอดอลจะต้องเป็นภาพแทนของ ‘เด็กที่ดี’
ไม่จำเป็น คนชอบพูดเรื่องเนี้ยมันมีจริง ๆ หรอวะ ถ้าคนเราเห็นศิลปินทำสิ่งที่ไม่ดีแล้วอยากทำตาม เห็นศิลปินเล่นยาแล้วอยากเล่นตามคงไม่โทษศิลปินอะ แต่คนดูแม่งโง่ คนเราถ้ามันเติบโตมาในกระบวนการสั่งสอนหรือสังคมที่มันปกติก็ควรมีระบบคิดได้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี มันอาจจะมีบ้างแหละ เด็ก ๆ เห็นนักร้องร็อกสูบบุหรี่แล้วโคตรเท่อยากสูบตาม มันจะไม่เกิดปัญหาถ้าเราให้ความรู้ได้ดีพอ ไม่ได้ห้ามสูบแต่สูบแล้วต้องเจออะไร มันต้องให้คิดให้ได้ มันก็จะเป็นเรื่องระบบการเลี้ยงดู ระบบการศึกษาละ พ่อแม่มึงเลี้ยงลูกให้เข้าสาธิตให้ได้หรือเลี้ยงลูกให้เป็นคน มันมีการเลี้ยงลูกที่บิดเบี้ยว อีเด็กพวกนี้โตมาก็จะเหมือนในการ์ตูนหรือหนังญี่ปุ่นที่ลูกเป็นโรคจิต เราไม่คิดจะมีลูกอยู่แล้วนะ เพราะเราไม่มีปัญญาเลี้ยงคนให้เป็นคนได้ แล้วเราเป็นคนเห็นแก่ตัวด้วย ไม่ได้อยากเสือกหรอกนะ การเลี้ยงลูกมันเป็นเรื่องของแต่ละคน แต่ในฐานะอาจารย์ก็อยากจะบอกหน่อยว่าเลี้ยงลูกยังไงก็ได้ อย่าให้เป็นแบบลูกศิษย์ที่กูด่า สิ่งที่มันสำคัญมากคือสติหรือ common sense มันก็จะไม่มีปัญหาว่าไอดอลทำตัวเหี้ยก็ต้องทำเหี้ยตาม มันก็มีภาพลักษณ์ที่ควรจะเป็นแหละ แต่มันก็มีกระบวนการลงโทษของสังคมอยู่แล้ว ล่าสุดก็เพิ่งมีข่าวสมาชิกในวง Tokio ที่พาเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะขึ้นห้อง เขาก็อาจถูกบังคับให้ออกจากวงการไปเลยมั้ย มันก็มีสิ่งที่ต้องแลกมาจากการเป็นไอดอลอะไรอย่างนี้
น้อง ๆ BNK48 ‘grad’ แล้วจะไปอยู่ที่ไหนในสังคมไทย
ก็เรื่องของเขา (หัวเราะ) ไม่เห็นต้องคิดอะไร เรารู้สึกว่าการมาอยู่จุดนี้เขาก็คงรู้ว่าต้องเจออะไร ก่อนหน้านี้มันมีคนพูดว่าต้องเข้ามาทำด้วยใจ แม่งไม่ make sense อย่างรุนแรง (หัวเราะ) แต่มันน่ากลัวที่มีโอตะที่ชื่นชมโควตนี้ สิ่งที่มันแย่มากคือการ romanticize เว้ย สุดท้ายแล้วไอดอลมันก็คือธุรกิจ มันจะมีเรื่องความรักมิตรภาพอะไรบ้าง แต่มันไม่ใช่จุดใหญ่ที่สุด เราก็ต้องเตือนตัวเองเหมือนกันนะ มันเป็นสิ่งที่เขาทำให้เราเชื่อว่า Girls’ Generation เก้าคนรักกัน สุดท้ายวงแตก ตบกัน ไอ้เหี้ย! สุดท้ายมันก็มาถึงจุดนี้ไง มันก็คิดง่าย ๆ อยู่กับเพื่อนเรายังทะเลาะกัน มันคือมนุษย์ไงใครจะมารักกันตลอดเวลา น่ารำคาญและน่าเบื่อมากการ romanticize มันต้องยอมรับความเป็นจริง ไอดอลแกรดแล้วทำไงก็เรื่องของเขาไง เขาอาจจะพอแล้ว ไปทำงานเรียนต่อหรืออะไร ก็ไม่เห็นต้องมีประเด็นอะไรเลย
แล้วถ้าพาไอดอลที่เราชอบไปเที่ยวไหนก็ได้วันหนึ่ง จะพาไปเที่ยวไหนดี
ไปไหนก็ได้เรื่องของเขา เรารู้สึกว่าเป็นไอดอลแม่งไม่ค่อยมีเวลาอะ อยากไปไหนก็ไปเถอะ อยากให้กูไปด้วยหรือไม่อยากให้ไปก็แล้วแต่
ปกติต่อฟังเพลงนอกกระแสในไทยบ้างไหม
ก็ฟังบ้างครับ แต่อาจไม่เท่ายุค Fat Radio เฟื่องฟูเราจะเปิดไว้ทั้งวันแล้วก็มีวงบ้าบอใหม่ ๆ ให้ฟังเรื่อย ๆ ยุคนี้ต้องตามบน facebook เนอะ เราจะได้ฟังก็ต่อเมื่อพวกเขาไปเป็นวงเปิดให้ศิลปินต่างชาติ ช่วงหนึ่งก็จะมีวงเปิดที่เป็นวงซ้ำ ๆ แต่เขาฝีมือดีนะ เราก็เคยได้ยินว่าเขามีวิธีเลือกแหละ วิธีหนึ่งคือให้ศิลปินต่างชาติฟังว่าอยากได้วงไหนเป็นวงเปิด มันก็จะมีช่วงหนึ่งที่เราได้ฟัง Desktop Error บ่อยมากเลย (หัวเราะ) แต่หลัง ๆ ก็จะมีวงใหม่ ๆ เยอะอย่าง PC 0832/676 เจอในงานอะไรซักงานเนี่ยแหละ แต่ชอบวงนี้นะ The ███████ ก็ชอบ เราชอบพวกอิเล็กทรอนิกซาวด์อะไรแบบนี้ วงร็อกก็ฟังบ้าง Gym & Swim เนี่ยก็เกลียดมันนะครับ เบื่อมันมาก (หัวเราะ) แต่เป็นวงที่เล่นแล้วสนุก ครึกครื้นดีเปิดกับวงอะไรได้หลายแบบ แต่กูก็จะไม่ไปดูมึงแล้วนะครับ (หัวเราะ) ค่าย Wayfer Records ก็ชอบนะ Bomb At Track กับ TELEx TELEXs ก็เจอจากการเป็นวงเปิดซักงานเหมือนกัน
เพลงนอกกระแสสมัยนี้แตกต่างกับสมัยก่อนยังไงบ้าง
เราว่าเป็นเรื่องโซเชียลนะ เดี๋ยวนี้เราก็ไม่ได้ตามพวกชาร์ตเพลงแล้ว คนฟังบริหารตัวเองได้ง่ายขึ้น อยากฟังอะไรก็ฟังไม่ต้องตามอะไรแล้วทำเพลย์ลิสต์ของตัวเองได้แล้ว วงอาจจะต้องจัดการตัวเองมากขึ้น การใช้โซเชียลให้เป็น การลงเพลงในสตรีมมิ่งอะไรยังเงี้ย
บางคนก็เลือกที่จะไม่มีครอบครัวแล้วตามศิลปินหรือไอดอลไปเรื่อย ๆ เพราะเป็นวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง
แล้วแต่นะ เราว่ามันไม่ได้เกี่ยวกันหรอกว่าตามไอดอลแล้วต้องอยู่คนเดียว เราก็เห็นคนตามไอดอลมีเมียเยอะแยะ (หัวเราะ) อาจไม่ได้เกี่ยวกันมากแต่ก็อาจมีผล มันทำให้มีความคล่องตัวหรือความง่าย เอาความเป็นจริงเลยนะ สาเหตุที่เราไม่มีครอบครัวเพราะมันเปลือง คุณปฎิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยผู้ชายจะต้องจ่ายเยอะกว่า ต้องหาเลี้ยงครอบครัว เราเคยเจอผู้หญิงที่ไม่พอใจที่ผู้ชายไม่เลี้ยงข้าว แต่เราไม่ได้เหยียดนะผู้หญิงทุกคนไม่ได้ทำแบบนั้นครับ (หัวเราะ) แต่มันมีคนแบบนี้จริง ๆ หรือผู้ชายที่เกาะผู้หญิงกิน สังคมไทยยังมีผู้หญิงผู้ชายที่คาดหวังให้ตัวเองเป็นผู้นำครอบครัว ไม่ค่อยมีระบบแชร์เท่าเทียมกัน การเป็นผู้ชายไทยและมีครอบครัวคือต้องมีต้นทุนและเปลืองมาก ซึ่งกูไม่มีเงิน ก็เลยไม่มี จบ! เรื่องเงินด้วยแล้วก็นิสัยส่วนตัวด้วย เข้ากับใครไม่ได้ เป็นคนเลว (หัวเราะ) เป็นคนมีวิถีชีวิตของตัวเองอะไรประมาณนั้น พออยู่คนเดียวก็ตามอะไรแบบนี้ได้ง่ายขึ้น
ต่อเป็นคนออกมาพูดถึงวิถีชีวิตการอยู่คนเดียวคนแรก ๆ แล้วจริง ๆ อยู่คนเดียวมีข้อดีอะไรบ้าง
เราว่าคนเข้าใจประเด็นนี้ผิดกันเยอะนะ ที่เราออกมาพูดเรื่องวิถีการอยู่คนเดียวเนี่ยไม่ได้บอกว่าการอยู่คนเดียวมันดีกว่า ประเด็นของเราคือเรามีทางเลือกแบบนี้ มันไม่ได้มีข้อดีอย่างเดียวแต่มีข้อเสียด้วย สมมติอยู่ในห้องล้มโครมไปจะมีใครมาดูแลอะไรเรา เราก็อยู่บ้านกับแม่เงี้ย เรากลัวแมลงสาบก็ให้แม่มาจับ เราอยู่คนเดียวแค่ในจังหวะเช่นดูหนังคนเดียว กินข้าวคนเดียว ไปคอนเสิร์ตคนเดียว มันเป็นทางเลือกหนึ่งเว้ย ทำไมทุกคนต้องมามีปัญหากับเรื่องพวกนี้ มันเป็นสิ่งที่เราหงุดหงิดเลยออกมาพูด (กระแทกเสียง) เราเคยเล่นมุกหนึ่งซึ่งตลกมาก ทำไมเวลาเราไปดูหนังคนเดียวคนจะต้องบอกว่า ‘อ้าว มาดูหนังคนเดียวหรอ’ เราก็ไม่เคยมีปัญหากับเพื่อนที่ไปดู ‘The Avengers: Infinity War’ แล้วไปถาม ‘มึงมากันสามคนเลยหรอ!’ (หัวเราะ) เราอยากให้หยุดมาลำไยกับเรื่องพวกนี้ได้แล้ว ดูคนเดียวก็เรื่องของพวกเขา รู้สึกบางคนเป็นโรคจิตอะ ไม่กล้าดูหนังคนเดียว กินข้าวคนเดียว มันทำได้ลูก! ในสังคมนี้ประหลาดตรงที่มึงทำได้ แต่ต้องทนกับคำถามพวกนี้
พี่จะพูดยังไงให้เด็กเข้าใจว่าคนเราไม่ต้องมีแฟนก็ได้
ก็ไม่ได้บอกว่าต้องรีบปลงเป็นโสด คนเราที่ไม่มีแฟนคือมีสองแบบคือพอใจที่จะไม่มี หรือไม่มีใครเอา นก โดนเท เข้ากับใครไม่ได้ ทั้งสองแบบมันต้องยอมรับว่าต้องอยู่คนเดียว ก็เป็นปัญหาเหมือนกันนะ ปัญหาจากระบบสังคม เพราะสังคมวางว่าชีวิตที่สมบูรณ์คือเรียนจบ ทำงาน แต่งงาน มีลูก เป็นรูปแบบที่เป็นปัญหาระดับโลกเลยนะ มันต้องมีซักอย่างมาทำลาย แต่ความคิดนี้ก็ไม่ควรถูกทำลายนะเพราะมนุษย์จะสูญพันธุ์ แต่เราก็เข้าสังคมผู้สูงอายุแล้วแต่ยังไงน่าจะมีสัดส่วนคนที่อยากมีลูกอยู่เยอะมากแหละ เราว่าถ้าเอาระดับนโยบายนะ มันต้องก้าวข้ามเรื่องอยู่คนเดียวแล้วต้องสู้กับความเหงา อยู่คนเดียวแล้วกินข้าวคนเดียวได้ มานั่งคิดว่าอยู่คนเดียวแล้วชีวิตบั้นปลายคืออะไร สวัสดิการทางสังคม สังคมผู้สูงอายุ อยู่คนเดียวแล้วบ้านพักคนชราทำยังไง ซึ่งถ้ารัฐมีสติก็ควรต้องมาคิดใส่ใจเรื่องพวกนี้ด้วย แต่นั่นแหละไม่ใช่ประเด็นหลักของเขา
ต้นทุนการอยู่คนเดียวมันสูงกว่าปรกติหรือเปล่า ถ้าเรามีคู่ มีสวัสดิการที่รองรับคู่ชีวิตน่าจะแบ่งเบาภาระบางอย่างได้
เอาง่าย ๆ นะเวลาไปเที่ยวอะไรเงี่ยก็ต้องจ่ายแพงกว่า ฝากถึงสายการบินทุกท่านนะครับ หยุดทำโปรสำหรับสองท่านซักที (หัวเราะ) แต่ก็เข้าใจว่ามันเป็นเรื่องธุรกิจ บินไปกลับหมื่นหกอยากจองก็ไปเจอดอกจันตัวเล็ก ๆ ว่า *สำหรับสองท่าน* ก็จะลำบากตรงนี้ โรงแรมบางทีก็ต้องนอนห้องที่นอนได้สองคนแล้วไม่มีคนหาร เรื่องกินข้าวก็มีผลนะ อาจไม่ใช่เชิงจ่ายแพงแต่กินไม่ได้หลากหลายอะ เราแทบไม่ได้กินร้านเนื้อย่างละเพราะกินคนเดียวไม่สนุกอะ ก็มีเพื่อนที่เรียกไปกินข้าวบ้าง นั่นแหละ ก็ต้องรับภาระอะไรบางอย่างคนเดียว ค่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ
มีกิจกรรมอะไรที่ค้นพบว่าชีวิตนี้ไม่น่าจะทำคนเดียวได้จริง ๆ
มันก็ไม่เชิงนะ มันจะมีกิจกรรมบางอย่างที่ทำคนเดียวก็สนุกดีแต่ทำหลายคนแล้วเวิร์กกว่า อย่างการไปกินข้าวอย่างเงี้ย กินชาบูเนื้อย่าง อย่างการดูคอนเสิร์ตถ้าดูหลายคนก็สนุกดีนะ แม้เราจะชอบเที่ยวคนเดียวแต่ล่าสุดเพิ่งไปญี่ปุ่นมาก็ไปกันสิบคน และการไปเที่ยวกันหลายคนคือดีมีคนถ่ายรูปให้ (หัวเราะ) เราไม่ค่อยมีรูปตัวเองเท่าไหร่ เราต้องคิดว่าอะไรมีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไง การเที่ยวคนเดียวไม่มีคนถ่ายรูปให้แต่มีความคล่องตัวขึ้นมาก สามารถไปสถานที่บ้า ๆ บอ ๆ โดยไม่ต้องแคร์ใครได้ ไปตามรอยหนังอะไรเงี้ย เพื่อนก็ไม่อิน
คิดไว้หรือยังว่า คันฉัตร ตอนอายุ 70 จะเป็นยังไง
อยู่ไม่ถึงค่ะ (หัวเราะ) ตายก่อนแน่นอน จะอยู่ไปทำไมนาน ๆ 60 ก็พอแล้ว ก็วางแผนไว้ประมาณหนึ่งแต่ก็ยากอะ จริง ๆ คนเราถ้ามันรวยนะอะไรก็ง่ายขึ้นเยอะ ด้วยงานที่ทำอะไรยังเงี่ย เป็นนักเขียนไม่รวยนะครับทุกท่าน สื่อสิ่งพิมพ์ตายหมดแล้ว เป็นอาจารย์ก็เงินน้อยเหลือเกิน เหนื่อยก็เหนื่อย บั่นทอนชีวิต สอนแล้วก็หน้าเหี่ยว ผมหงอก เราไม่ใช่แนวถ้ามีสิ่งนั้นเราจะมีความสุขอะ (หัวเราะ) ถ้าไม่มีเงินก็ทำอะไรไม่ได้หรอก ก็คงต้องเริ่มวางแผนทำงานหาเงิน ประเด็นคือเราต้องรู้จะใช้เท่าไหร่ ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะมีชีวิตรอดในการอยู่คนเดียว
ต่อสนใจเรื่องการุณยฆาต (สิทธิในการเลือกที่จะตายสำหรับผู้ป่วย) หรือเปล่า
ใช่ ในไทยมันไม่มีอะเนอะ ความจริงค่าใช้จ่ายมันก็แพงมากเลยที่สวิตเซอร์แลนด์ เราเฉย ๆ กับการฆ่าตัวตายนะ ตายอย่างมีเกียรติอะ แต่มันก็ยากเนอะ ถ้ามันไม่มีเซอร์วิสเกี่ยวกับ mercy killing การฆ่าตัวตายก็จะเกิดค่าใช้จ่ายกับคนอื่น เน่าอยู่ในห้องก็ต้องเรียกบริษัทมาทำความสะอาด แล้วอาจจะขายไม่ออก ค่าเช่าต้องลด โดดตึกก็อาจจะไปทับคนอื่นตายรึเปล่า ถ้ามีการุณยฆาตจะได้มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ถ้ามันแมสแล้วราคาก็จะถูกลง มันก็ต้องมีเงื่อนไขนะ ต้องป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ แต่อย่างน้อยคนเราเลือกเกิดไม่ได้ก็น่าจะเลือกตายได้รึเปล่า
ต่อทำงานหลายอย่างมาก แล้วทำไมถึงเลือกมาเป็นอาจารย์พิเศษ
หาเงิน (หัวเราะ) พูดเล่น ก็เป็นคนที่มีความรู้ประมาณนึง เป็นคนที่มีความสามารถในการพูด ชอบพูดชอบเม้าท์ พูดให้สนุกได้ จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องสอนน่าเบื่อ ก็กูเม้าท์ซะขนาดนี้ถ้าเบื่อก็แล้วแต่เถอะ บางเรื่องมันยากก็หาวิธีการอธิบายให้มันสนุกให้ได้
ได้เรียนรู้อะไรจากเด็กสมัยนี้บ้าง
หลายอย่างนะ เราพยายามไม่คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์เท่าไหร่ อาจารย์เป็นอาชีพที่มีอำนาจในตัวเองอยู่แล้วไงเลยไม่พยายามใช้อำนาจนั้น เช่นเด็กเข้าสายเราด่าได้แต่เราเข้าสายเด็กด่าไม่ได้ เรามีบ้างที่สายเพราะบ้านอยู่ลาดพร้าวอะ (หัวเราะ) เลยไม่ด่าเด็กมาสาย ก็ตามงานเองละกัน แต่ถ้าเราสายก็หาวิธีที่รู้สึกว่าเราไม่ได้ใช้อำนาจ บอกเด็กว่าขอเข้าสาย 15 นาทีนะครับ ประนีประนอมกันไป
มีเรื่องหนึ่งที่เราฝากข้อคิดกับเด็กทุกปี อยากให้เด็กพัฒนาภาษาอังกฤษตัวเองเพราะจะทำให้คุณมีต้นทุนชีวิตที่ดีกว่าเพื่อน พยายามหาโอกาสไปเมืองนอกไม่ว่าจะเที่ยวหรือเวิร์กช็อปหาทุน ได้ไปเปิดหูเปิดตา ศึกษาว่าประเทศอื่นเขาอยู่กันยังไง
คิดว่าเมืองไทยตอนนี้เหมือนหนังเรื่องไหนที่ตัวเองชอบ
(หัวเราะ) เหมือนพวกหนังดิสโทเปีย ‘Mad Max’ หรือ ‘Blade Runner’ หนังที่ไม่ค่อยมีความหวัง วันก่อนเพิ่งปิดคอร์สที่มหาลัยหนึ่งไป มีเรื่องหนึ่งที่เราฝากข้อคิดกับเด็กทุกปี อยากให้เด็กพัฒนาภาษาอังกฤษตัวเองเพราะจะทำให้คุณมีต้นทุนชีวิตที่ดีกว่าเพื่อน พยายามหาโอกาสไปเมืองนอกไม่ว่าจะเที่ยวหรือเวิร์กช็อปหาทุน ได้ไปเปิดหูเปิดตา ศึกษาว่าประเทศอื่นเขาอยู่กันยังไง ถ้ามีลู่ทางก็ไปอยู่ที่อื่นเถอะ ประเทศนี้ระยะยาวดูไม่ค่อยมีความหวังเท่าไหร่ ไม่ได้บอกว่าอย่าอยู่ประเทศนี้หรือให้เกลียดประเทศตัวเอง แต่ให้มองทางเลือกไว้ ความเป็นชาติมันไม่ได้แปลว่าเราต้องตายอยู่ที่นี่ไง แต่มันก็ไม่ได้อิสระขนาดย้ายไปไหนก็ได้ มันก็ต้องมีวีซ่าป้องกันคนไหลบ่าเข้าไป แต่มันเป็นทางเลือกไงว่าคุณไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ที่นี่ ถ้าคุณสบายใจที่อยู่ที่นี่ กูชอบกินข้าวมันไก่ที่นี่ก็อยู่ไปเถอะ ถ้ารู้สึกไม่สบายใจก็ลองหาช่องทางไปอยู่ที่อื่นดู เราคิดว่าเป็นปัญหาของคนเอเชียนะ คือความไม่พอใจในประเทศตัวเอง คุยกับคนญี่ปุ่นเขาก็จะไม่ชอบประเทศตัวเองเลย แล้วมองประเทศคนอื่นดีกว่า พวกยุโรปเหนือไม่ค่อยมีปัญหาพวกนี้นะ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะสวัสดิการของรัฐที่ดีรึเปล่า แต่เราทุกข์ใจประเทศตัวเองเพราะเราต้องดิ้นรนทุกอย่างอะ แล้วเงินที่เราให้รัฐไปมันไปลงกับอะไรก็ไม่รู้ น้องเกี่ยวก้อยเงี้ย (หัวเราะ) ป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ รถเมล์ที่จ่ายด้วยบัตรได้ พอมันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาเรื่อย ๆ เราก็แบบ … (มองบน)
คิดว่าหนังเปลี่ยนทัศนคติของคนได้จริงไหม
นี่ไง ‘All About Lily Chou-Chou’ ได้แหละ ศิลปะทุกอย่างอะมันมีอิทธิพลต่อทุกคนได้
ถ้างั้นจะเลือกหนังให้นายกดูเรื่องหนึ่งจะเลือกเรื่องอะไร
(หัวเราะ) ต้องเลือกหนังง่าย ๆ เนอะเพราะท่านคงเหนื่อย เครียดกับงาน จะได้ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ‘Three Billboards Outside Ebbing, Missouri’ ละกัน เราไม่ได้ชอบนะแต่มันเป็นหนังทุกข์ชาวบ้าน ชาวบ้านที่ต้องต่อสู้กับระบบของรัฐที่มันไม่ make sense ในขณะเดียวกันชาวบ้านก็ทำอะไรที่ล้ำเส้นเหมือนกัน อยากให้ดูหนังทุกข์ชาวบ้าน หรือ ’12 Years A Slave’ การต่อสู้ของคนตัวเล็กตัวน้อย คนโดนกดขี่อะไรเงี้ย ออสการ์ด้วยไง ไม่ได้ยากมากหรอก
ตอนนี้ก็มีพรรคการเมืองเกิดขึ้นมากมาย คาดหวังจากการเลือกตั้งครั้งต่อไปบ้าง
ให้มันได้เลือกก่อนเถอะ (หัวเราะ) สิ่งที่คาดหวังนี่มันยากมากเลยนะคือการเลือกตั้งอย่างโปร่งใส พูดแล้วจะโดนมั้ยเนี่ย (หัวเราะ) ไม่มีกระบวนการอะไรมาขัดขวาง เราก็จะเห็นการเลือกตั้งที่ผ่านมามีอะไรไม่ make sense หรือน่าสงสัย ควรเลิกทัศนคติเหยียดคนจังหวัดโน้นจังหวัดนี่ได้แล้ว มันคือประชาธิปไตยอะ เสียงส่วนใหญ่ ที่คุณไม่พอใจกับระบบนี้เพราะสิ่งที่คุณอยากได้มันไม่ได้รับเลือก แล้วคุณได้ในสิ่งที่ไม่ได้เลือก คนรู้สึกคนที่เลือกตรงข้ามกับคุณมันโง่ ถ้าทุกอยากได้ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนก็ต้องยอมรับในจุดนี้ ในเมื่อสิ่งที่คุณไม่ชอบได้รับเลือกแต่ในระบบประชาธิปไตยทุกคนยังตรวจสอบได้ ประชาชนยังลุกฮือได้ ในบางยุคคุณรวมตัวกันไม่ได้ พูดอะไรบางอย่างไม่ได้ มันไม่ make sense มันแย่
อยากให้พรรคการเมืองเข้ามาสนับสนุนด้านศิลปะวัฒนธรรมยังไงบ้าง
หลาย ๆ อย่างมันก็ควรไปพร้อม ๆ กัน มันต้องทุกด้านเนอะทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคม เราว่าศิลปะวัฒนธรรมที่ผ่าน ๆ มามันเป็นสิ่งที่โดนละเลยหรือกลายเป็นทำอะไรอเมซิ่งไทยแลนด์ขายทัวร์ท่องเที่ยว มันไม่เวิร์กไง มันต้องทำให้แข็งแรงจากในประเทศก่อน บางทีก็เคยคุยกับพวกวงดนตรีมันจะเกิดขึ้นได้จริง ๆ มั้ยวะที่จะมีไลฟ์เฮ้าส์ที่เกิดขึ้นโดยรัฐ ถ้ามันมีมันก็ดีไง เราไม่ควรมองว่าคอนเสิร์ตเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ดนตรีไม่ใช่สิ่งจำเป็นของชีวิตหรือปัจจัยสี่ ถ้ารัฐมีวิสัยทัศน์ก็น่าจะมองเห็นเรื่องพวกนี้บ้าง อย่างน้อยมีซักอันก่อนมั้ย
มีนโยบายหรือกฎหมายอะไรที่อยากเสนอไหม
หลัก ๆ ก็คงเรื่องสวัสดิการรัฐแล้ว การศึกษา และการรักษาพยาบาล ง่าย ๆ ไปก็อปยุโรปเหนือมาให้หมดไป แต่ก็ยากเนอะ เราไม่มีความรู้ว่ามันมีเรื่องของภาษี เรื่องรายรับรัฐบาล เงินคงคลังอะไรพวกนี้ ถ้ารัฐมีเรื่องพวกนี้ก็คงทำให้คนมีความสุขกับการอยู่ในประเทศนี้มากขึ้น (หัวเราะ) สิ่งที่เราพูดไปอาจพัฒนาไม่ทันในยุคของเราหรอก แต่เพื่อลูกหลาน ฉันก็ไม่ได้ห่วงลูกหลานอะไรมากหรอกแต่เกิดซวยเวียนว่ายตายเกิดแม่งมีจริง แล้วต้องกลับมาเกิดที่เดิมอีก พวกมึงก็ช่วยเตรียม ๆ ให้มันดี ๆ หน่อย (หัวเราะ) เผื่อเกิดมาชาติหน้ารถไฟสายสีเหลืองเสร็จแล้วอะไรเงี้ย เรื่องคมนาคมก็สำคัญ เบื่อมากที่เป็นคนไม่ขับรถแล้วกลายเป็นพลเมืองชั้นสองโดนเหยียด ในเมืองที่เจริญแล้วมันต้องไม่เป็นแบบนี้เดะ การขับรถเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งเท่านั้น
ถ้าบ้านเราจะมี international music festival คิดว่าภาพมันจะเป็นยังไง
มันเคยมีคนทำแล้วนี่ Sonic Bang เราว่าต้องมีธีมหน่อยนะ งานนั้นมันมั่วไปหน่อยอะ มันมีวงอะไรไม่รู้งงไปหมดเลย ไม่ต้องเป็นแนวเดียวหรอก แต่ Sonic Bang มันจับฉ่ายไปหน่อย ต้องมีวงที่โอเคประมาณหนึ่ง ระบบจัดการก็ต้องคิดเนอะ เราไม่ไป music festival เพราะมันเหนื่อย แล้วเมืองไทยมันต้องมีความลำไยแน่นอน (หัวเราะ) ยิ่งถ้าจัดต่างจังหวัดด้วยก็ยิ่งลำบาก ก็ต้องเป็นเรื่องของระบบที่มันต้องจัดการให้ดี ๆ
แล้วมีวงไหนที่อยากเห็นมาเล่นในไทยไหม
Radiohead ละกัน ง่าย ๆ (FJZ: ง่ายตรงไหนเนี่ย) ง่ายในการคิดไง แต่คงเอามายาก (หัวเราะ) เขายังมาญี่ปุ่นแล้วเลย
คำถามสุดท้ายแล้ว ประเทศไทยในฝันเป็นยังไง
(หัวเราะ) คร่อก … ฉันตอบง่าย ๆ เลยนะ เป็นอะไรที่ตรงข้ามกับตอนนี้ทุกอย่างเลยอะ