เห็ดกูรู เรื่องราวใหม่ ๆ ในวงการดนตรีอิสระ และบทวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับคนดนตรี
เครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อสี่หมื่นปีก่อน มนุษย์เราคงจะมีเสียงดนตรีอยู่ในดีเอ็นเอมานานแล้ว ไม่แปลกเลยว่าทำไมเราถึงมีเกมเกี่ยวกับเพลงเต็มไปหมด ตั้งแต่ดนตรี 8-bit ลูปไปมาที่เราได้ยินทุกครั้งตอนเด็ก ๆ ผ่านเครื่องเกม NES จาก Nintendo จนถึง Just Dance บนเครื่อง Playstation ทำให้ 'rhythm game' หรือเกมจับจังหวะถูกบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของเกมบนโลกนี้มาทุกยุค
การที่จะบอกว่าเพลงไหนฮิต จำเป็นต้องมีตัวชี้ว่าอะไรคือความฮิต และการจะรู้ได้ว่าเพลงเพลงนั้นฮิตมากฮิตน้อยแค่ไหน ข้อมูลเชิงปริมาณคือตัวตัดสินที่น่าจะดีที่สุด และง่ายที่สุด และนี่คือที่มาของ music chart ชาร์ตเพลงฮิต ที่อำนาจของเสรีภาพแห่งการเลือก ส่องสะท้อนออกมาในรูปแบบของการจัดอันดับเพลงฮิต
Trip hop คือดนตรีประเภทหนึ่งที่แค่โน้ตตัวแรกเริ่มบรรเลงก็ทำให้เกิดความรู้สึกทึมเทา จังหวะช้า ๆ ที่เริ่มดำเนินไปทำให้รู้สึกหดหู่ แต่เสียงหวานสะกดทุกโสตประสาตยังคงดังก้องคลอไปกับบีตกลองนิ่ง ๆ ที่ทำให้เราเผลอโยกตามอยู่เสมอ นั่นเองที่เราค้นพบว่าเราไม่ปฏิเสธความงามอันหม่นหมองของมันเสียหน่อย
ทุกคนน่าจะต้องมีเพลงสำหรับวันที่ไม่เป็นใจ พอพูดแบบนี้อาจมีเพลงเพลงหนึ่งโผล่ขึ้นมาในหัวเราทันที เพราะมันเคยทำให้เราร้องไห้ ไม่ก็มีเนื้อหาที่เศร้า มีดนตรีที่สะเทือนใจ หรือมันทำให้เราคิดถึงใครบางคน ดนตรีมีพลังที่น่าทึ่งมากมายที่สามารถเปลี่ยนอารมณ์หรือวิธีคิดของเราได้ภายในเวลาไม่กี่นาที และจะติดอยู่ในหัวเราไปอีกนาน แต่เคยได้ยินเพลง Gloomy Sunday ไหม
Algorave ก็คือรสชาติใหม่ของซีนดนตรีเต้นรำที่ใช้อัลกอริธึมในการสร้างเสียงเพลง และทำให้เกิดประสบการณ์ในคลับแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เราจะได้ยินความเปลี่ยนแปลงของเพลงนั้น ๆ ทันทีหลังจากที่ผู้เล่นป้อนโค้ดลงไป ซีนนี้กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปกว่า 40 เมืองทั่วโลก และกรุงเทพ ฯ เองก็เป็นหนึ่งในนั้น
ปี 1941 กษัตริย์อิหร่านพยายามผลักดันให้ชาวอิหร่านรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเพราะเชื่อว่าจะเป็นการนำประเทศไปสู่ความนำสมัยและทำให้เกิดความเสรีนิยมยิ่งขึ้น แต่เรื่องราวก็ต้องเปลี่ยนไปในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1979 Iranian Revolution หรือการปฏิวัติอิสลาม ได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์อิหร่านมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่ว่าตอนนี้จะชิค ๆ คูล ๆ กันขนาดไหน หลาย ๆ คนน่าจะเคยมีช่วง 'emo' กันมาบ้างไม่มากก็น้อย กับยุครุ่งเรืองของวงอย่าง Jimmy Eat World, Weezer, Story of the Year, Thursday, At The Drive-In, Fall Out Boy, My Chemical Romance ยุคที่ทาตาดำ หวีผมเป๋ เจาะจมูก เจาะปาก แต่พอถึง พ.ศ. นี้ ช่วงเวลาเหล่านั้นก็เหมือนจะผ่านมานานแล้ว เราขอพาย้อนไประลึกกันซักหน่อย ว่าอีโมจริง ๆ คืออะไร เกิดมาจากไหน และตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว
เชื่อว่าแฟน ๆ Fungjaizine ผู้มีใจรักเสียงเพลง และไม่เคยอิ่มกับการฟังดนตรีทุกคนต้องเคยขอ ‘อังกอร์’ (encore) ในงานคอนเสิร์ต หรือแม้แต่ตามร้านเหล้าที่เล่นดนตรีสดกันมาแล้วทุกคน เพราะถึงแม้ว่าวงจะเล่นจบแล้ว แต่ในใจผู้ฟังยังไม่จบ มันก็ต้องขอให้เล่นอีก ๆๆๆๆ
ซีดีเคยทำรายได้กว่า 95.5% ของวงการดนตรีในปี 2002 คือกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ แต่หลังจากนั้นยอดขายก็ตกลงมาเรื่อย ๆ จนเหมือนจะกลับมาเติบโตขึ้นช่วงปี 2015 ในขณะเดียวกันเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไวนิลเคยกลับมาฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง จนทำยอดขายเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่โลกก้าวเข้าสู่ยุค 2000 แต่ปี 2018 กลับมารายงานว่ายอดขายไวนิลเริ่มนิ่ง สรุปแล้ว ใครจะอยู่ใครจะไป? เรามามองสู่ 2019 กัน ว่าเราจะเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว หรือจะกลับมาโหยหาอดีตแบบที่เคยเป็นอีกหรือเปล่า?
เมื่อดนตรีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตลาดยุคปัจจุบัน music marketing สามารถเป็นอีกเครื่องมือในการเชื่อมแบรนด์เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงอารมณ์ การเล่าเรื่อง และการเชื่อมโยงกับชุมชนผู้รักเสียงดนตรี
ช่วงนี้เราจะได้ยินที่ต่าง ๆ เปิดเพลงของ Peggy Gou หรือพูดถึง Yaeji และ Park Hye Jin กันอย่างหนาหู ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้เราสนใจสามดีเจ/โปรดิวเซอร์นี้ก็คือเพลงเท่ ๆ ของพวกเธอ แต่อีกปัจจัยที่น่าหยิบมาพูดถึงไม่แพ้กันคือการนำเสนออัตลักษณ์ของเกาหลีผ่านดนตรีอิเล็กทรอนิก ซึ่งสามสาวนี้ก็ทำให้ K-house ยุคปัจจุบันเป็นที่จับตามองไม่น้อย
เราเกือบลืมไปแล้วว่าบีตความเร็ว 160 bpm เข้ามาโลดแล่นในชีวิตของเราตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มารู้ตัวอีกทีก็คือทันทีที่ได้ยินกลองเร้า ๆ เบสหนัก ๆ ก็หยุดที่จะเต้นไปกับเพลง drum and bass ไม่ได้
ตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา กระแส city pop ไม่ได้ถาโถมโหมกระหน่ำแค่ในไทย เพราะเราพบว่าเว็บบอร์ดต่างประเทศก็เริ่มตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ที่เพลงเหล่านี้ถูกเล่นขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยระหว่างการปล่อยให้ YouTube เล่นเองไปเรื่อย ๆ ทั้งที่กำลังฟังเพลงแนวอื่นด้วยซ้ำ บ้างก็ว่าเป็นการทำงานของอัลกอริธึมที่ผิดพลาดทำให้ทุกคนต้องมาติดลูปของ subculture นี้โดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเฉพาะกับ Plastic Love ของ Mariya Takeuchi
เมื่อเราได้ยินเพลงเพลงหนึ่ง คุณอาจจำได้ว่าเคยฟังเพลงนี้ครั้งแรกที่ไหน และมันจะควบคุมความรู้สึกต่อเพลงนี้ของเราในอนาคตด้วย เมื่อหุ่นยนต์มองข้อมูลเหล่านี้มันเห็นเป็นคลื่นเสียง หุ่นยนต์ไม่ได้เข้าใจเพลงในแบบมนุษย์ มนุษย์มีบริบท อารมณ์ ความหวัง ภาษา ความฝัน ความกลัว
การที่วงดนตรีต้องมีโลโก้ของวง จะเป็นตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์ก็ตามแต่ เป็นการสร้างความจดจำให้เกิดขึ้นกับผู้พบเห็น นอกเหนือไปจากการจดจำวงดนตรีผ่านตัวเพลงเพียงอย่างเดียว และยังเป็นการทำให้วงดนตรีกลายเป็น ‘brand’ อย่างเต็มรูปแบบ เพราะโลโก้เป็นการสร้าง branding ให้กับวงอย่างเป็นรูปธรรม