Piyakul Phusri นักฟังเพลงจับฉ่ายที่มีความเชื่อว่านอกจากการกินอิ่ม-นอนอุ่น การบริโภคงานศิลปะที่ถูกใจก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการมีชีวิตที่ดี
ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่เชียงใหม่มีงานดนตรีดี ๆ ที่เป็นการโคจรมาพบกันของ Boy Imagine และ มาโนช พุฒตาล ที่ร้าน Imagine's House ถ้าใครที่เคยไปคงจะรู้ว่าเป็นร้านที่บรรยากาศดีมาก
มนุษย์ส่วนมากชอบฟังเพลง และต่อให้ไม่ชอบฟังเพลง เราก็เชื่อว่าส่วนมากแยกแยะระหว่าง เพลง เสียง และเสียงรบกวน ออกจากกันได้ แต่สัตว์ชอบฟังเพลงแบบเราหรือเปล่า
ดวงดาว เดียวดาย ทำให้ผู้คนสนใจในชื่อเพลงยาว ๆ กับเนื้อหาที่พูดถึงเรื่องราว และวัตถุใกล้ตัวในมุมมองที่หลากหลาย ทั้งหม่นเศร้า อบอุ่น และว้าเหว่ เพลงของเขายังถูกหลายคนนำไปคัฟเวอร์ตีความออกไปในหลายรูปแบบ
ศิลปินรุ่นใหม่หลาย ๆ คนเริ่มสั่งทำอัลบั้มออกมาในรูปไวนิลมากขึ้น และต่อมาก็กลับไปทำเป็นเทปด้วยซ้ำ แต่การกลับมาอีกครั้งของเทปคาสเซ็ตมีที่มาที่ไปอย่างไร และมันคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่ ๆ ว่ามั้ย?
ในโลกแห่งแนวดนตรีอันหลากหลายยังมีดนตรีของชาวเนิร์ด เพื่อชาวเนิร์ด หรือ ที่เรียกว่า ‘nerd music’ อยู่อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการแสดงออกของวัฒนธรรมเนิร์ดที่น่าสนใจในอีกรูปแบบ
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้านแจ่มเจริญย์ วินเทจ เชียงใหม่ แหล่งรวมตัวศิลปินโฟล์คที่ยืนหยัดคู่วงการดนตรีนอกกระแสในเชียงใหม่มากว่า 8 ปี ได้จัดคอนเสิร์ต Folk Jamm #พาเพื่อนมาฟังโฟล์คนอกบ้าน ขึ้นที่ เฮือนไม้ซาง บูติค ฮัท โดยเป็นการรวมตัวเอาศิลปินโฟล์คจากทั่วประเทศกว่า 23 วง มาเล่นดนตรีในสวนตั้งแต่บ่ายโมงครึ่งไปจนถึงเที่ยงคืน!
หนึ่งในแนวดนตรีแนวทดลองที่ส่งอิทธิพลต่อแนวดนตรีร่วมสมัยในปัจจุบันมากที่สุด แต่แทบจะไม่ถูกกล่าวถึงเลยคงหนีไม่พ้นแนวดนตรีอินดัสเทรียล (industrial music) ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นการเอาสรรพเสียงในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเสียงโลหะกระทบกัน เสียงการเจาะสว่าน เสียงพังกำแพง เสียงอ๊อกเหล็ก หรือเสียงตอกตะปู มามิกซ์รวมกันกับไลน์เบส กีตาร์ กลอง ซึ่งก็มีทั้งส่วนถูก และส่วนผิด เพราะจริง ๆ แล้ว ที่มาของดนตรีอินดัสเทรียลเกี่ยวพันกับศิลปะแขนงอื่น และยังนำเสนออีกด้านของโลกที่เราเรียกว่าเป็น ‘โลกสมัยใหม่’ ได้เป็นอย่างดี
‘คณะขวัญใจ’ วงดนตรีอินดี้โฟล์กที่เรารู้สึกว่าถ่ายทอดอารมณ์เบื้องลึกโดยใช้ภาษาได้อย่างสละสลวยที่สุดวงหนึ่ง และเมื่อได้สัมผัสตัวตนของเขา เราก็รับรู้ได้ทันทีว่า เพลงของคณะขวัญใจถูกสร้างขึ้นโดยอาศัย ‘ใจ’ เป็นจุดกำเนิด ทั้งความเสียใจ สุขใจ เหงาใจ ประทับใจ ไปจนถึง ไม่พอใจ
ขณะที่อ่านบทความนี้ หลายคนอาจจะกำลังฟังเพลงผ่านลำโพง หรือ หูฟัง และย่ำเท้าเบา ๆ หรือ กระดิกนิ้วไปตามจังหวะ เอ๊ะ...นี่เราขยับตัวตามเสียงเพลงไปโดยอัตโนมัติตามความเคยชิน หรือเพราะเพลงมันดี หรือเพราะกำลังเขียนงานไม่ออกกันแน่นะ.....
การที่จะบอกว่าเพลงไหนฮิต จำเป็นต้องมีตัวชี้ว่าอะไรคือความฮิต และการจะรู้ได้ว่าเพลงเพลงนั้นฮิตมากฮิตน้อยแค่ไหน ข้อมูลเชิงปริมาณคือตัวตัดสินที่น่าจะดีที่สุด และง่ายที่สุด และนี่คือที่มาของ music chart ชาร์ตเพลงฮิต ที่อำนาจของเสรีภาพแห่งการเลือก ส่องสะท้อนออกมาในรูปแบบของการจัดอันดับเพลงฮิต
ในบรรดาวงบลูส์สัญชาติไทยที่มีเพลงของตัวเอง ณ ตอนนี้ น่าจะสามารถนับนิ้วได้ถ้วน หนึ่งในนั้นคือวงบลูส์จากเชียงใหม่ในนาม Chiangmai Blues ที่เป็นการรวมตัวของมือกีตาร์บลูส์ฝีมือฉกาจ และสมาชิกทั้งรุ่นกลาง และรุ่นใหม่
เชื่อว่าแฟน ๆ Fungjaizine ผู้มีใจรักเสียงเพลง และไม่เคยอิ่มกับการฟังดนตรีทุกคนต้องเคยขอ ‘อังกอร์’ (encore) ในงานคอนเสิร์ต หรือแม้แต่ตามร้านเหล้าที่เล่นดนตรีสดกันมาแล้วทุกคน เพราะถึงแม้ว่าวงจะเล่นจบแล้ว แต่ในใจผู้ฟังยังไม่จบ มันก็ต้องขอให้เล่นอีก ๆๆๆๆ
ที่เชียงใหม่ หนึ่งในสถานที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องของการผลิตเพลง และ คน ‘อินดี้’ ของประเทศไทย มีศิลปินสี่คนที่มีประสบการณ์ทางดนตรีอย่างโชกโชนได้รวมตัวกันเป็นวงดนตรีสนุก ๆ ในนาม ‘คณะสุเทพการบันเทิง’ ที่กลิ่นเก่าโชยมาตั้งแต่ชื่อวง โดยตั้งใจนำเสนอดนตรีแนวสนุกสนาน บ้าน ๆ ตรงไปตรงมา แต่มีสไตล์และร่วมสมัย โดยเป้าประสงค์หลักก็เป็นไปตามชื่อวงคือ ‘เพื่อความบันเทิง’ เป็นสำคัญ
การที่วงดนตรีต้องมีโลโก้ของวง จะเป็นตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์ก็ตามแต่ เป็นการสร้างความจดจำให้เกิดขึ้นกับผู้พบเห็น นอกเหนือไปจากการจดจำวงดนตรีผ่านตัวเพลงเพียงอย่างเดียว และยังเป็นการทำให้วงดนตรีกลายเป็น ‘brand’ อย่างเต็มรูปแบบ เพราะโลโก้เป็นการสร้าง branding ให้กับวงอย่างเป็นรูปธรรม
ถ้าจะมีแนวเพลงซักแนวที่ใจกว้างกับคนฟังในระดับที่ว่าถ้าได้ยินเสียงเพลงแนวนี้คุณจะฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ไม่ว่ากัน ถ้าตั้งใจฟังก็ดี แต่ถ้าได้ยินแล้วเฉย ๆ ก็ตามนั้น เห็นจะไม่มีแนวเพลงไหนใจกว้างไปกว่าดนตรีแนวแอมเบียนต์ (ambient) ซึ่งจะว่าไปแล้ว น่าจะเป็นแนวดนตรีที่ให้ความเป็นอิสระกับคนทำเพลงและคนฟังเพลงสูงมากที่สุดแนวหนึ่ง เพราะเพลงแอมเบียนต์เกือบทั้งหมดไม่เล่าเรื่องราว ไม่บอกความต้องการว่าเพลงนี้จะพูดอะไรกับเรา แต่ในตัวเพลงก็กำลังสื่อสารอะไรบางอย่างอยู่กับตัวเรา รวมถึงถ่ายทอกบรรยากาศรอบตัวอยู่ตลอดทั้งเพลง