Article Interview

เตรียมตัวฟัง ‘PLOT ANON’ อัลบั้มเต็มจากโพสต์พังก์ไทยลายเซ็นชัด และบางคำถามที่ ‘ฉันถามทำไมไม่ตอบ’

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Chavit Mayot

ฉันถามทำไมไม่ตอบ ฉันถามทำไมไม่ตอบ ฉันถามทำไมไม่ตอบ ฉันถามทำไมไม่ตอบ นี่คงเป็นพาร์ตที่ใคร ๆ พร้อมใจกันตะโกนสุดเสียงเมื่อท่อนนี้ของเพลง 5 ปี ดำเนินมาถึง ซึ่งนอกเหนือจากการแสดงสดที่เป็นที่กล่าวขวัญแล้ว เชื่อว่างานนี้แหละที่ทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับ PLOT ศิลปินไทยเลือดเดือดที่ฝาก 5 เพลงไว้ใน EP Album เมื่อหลายปีก่อนกับค่าย SO::ON DRY FLOWER

ปี 2018 นี้ถือเป็นศักราชใหม่ของ PLOT ที่กลับมาพร้อมอัลบั้มเต็มที่ไม่มีค่ายคอยประคองในทุกย่างก้าวอีกต่อไป แต่หลังจากที่ปล่อยสามเพลงล็อตใหม่ออกมาก็เป็นเครื่องการันตีได้ว่า การก้าวผ่านวันเวลาและประสบการณ์ของพวกเขาทำให้การลองผิดลองถูกได้ให้ประสิทธิผลที่งดงาม และเราเชื่อเหลือเกินว่าแฟนเพลงที่รอคอยการกลับมาของวงนี้ไม่รู้สึกผิดหวังเลยกับทุกเพลงที่ปล่อยมา แถมยังตื่นเต้นและเงี่ยหูรอฟังงานต่อ ๆ ไปอย่างใจจดใจจ่อ

plot-fungjaizine-1

สมาชิก
ไผ่ — จิติวี บาลไธสง (ร้องนำ, กีตาร์)
วิทย์ — พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล (เบส)
ปูน — พอพัฒน์ กิจไกรลาศ (กลอง)

จริง แล้ว PLOT เป็นวงที่อยู่ในซีนมานาน มีแอบปล่อยเพลงบ้าง แต่ทำไมอัลบั้มเต็มยังไม่มาสักที

วิทย์: เหตุผลง่าย คือทุกคนทำงานประจำครับ

ไผ่: ก็เลยไม่มีเวลาตบให้มันโอเค แล้วเราเป็นคนแก้บ่อย เรื่องมากมาก พอโตขึ้นก็อยากพัฒนาไปเรื่อย อย่างเพลง มาดามอโศก ตอนแรกที่มีเมโลดี้ตรงท่อนเข้ามาเลยไม่ต้องเคาะเราก็เอาออกเพราะมันร้องไม่คล่องปากเท่าไหร่ แล้วที่มาออกเพลงช่วงนี้เพราะคิดว่าถ้าออกเลยวัยนี้ไปก็คงจะแก่ไปแล้ว ต้องออกแล้วแหละ

วิทย์: ตอนแรกท่อนเยอะมาก มาถึงมีสิบแบบเลยมั้ง มีทั้งแบบสนุกมาก แล้วก็แบบที่ขรึมมาก คือมันดีทั้งคู่ แต่สุดท้ายเราต้องเลือกแค่อันเดียว

ไผ่: เมื่อก่อนเปลี่ยนเยอะมากเพราะเรายังไม่โตพอที่จะเลือกอย่างใดอย่างนึงได้ ไอ้นั่นก็น่าสนใจ ไอ้นี่ก็น่าสนใจ มันเกิดขึ้นในทุก เพลงของเรา คือเพลงที่เราทำอยู่ตอนนี้มันคือเพลงที่แต่งตั้งแต่ตอนเรียน ทำพร้อม กับพวก EP ด้วยซ้ำ ก็คือค่อย มีเพิ่มมา ตัดทิ้งไปบ้าง อย่างเพลง ให้แม่และคุณ มันคือเพลงเดียวกับ มาดามอโศก เนี่ยแหละ เพียงแต่ว่าเราหั่นมันออกจากกัน ให้แม่และคุณ เป็น 3/4 แต่อันนี้เป็น 4/4 แต่ก่อนช่วงที่พยายามทดลองอะไรอยู่เรามีทั้งสองแบบในเพลงเดียว ต่อไปเราจะไม่ดีลกับอะไรที่ยากขนาดนั้นอีกแล้วในชีวิตนี้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม เรารู้สึกเปลืองพลังงานและไม่สามารถลงไปกับรายละเอียดได้ ซึ่งไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับทุก อย่าง แล้วพอเป็นแบบนี้มันก็ลงตัวมากกว่า (หัวเราะ)

ช่วงที่เปลี่ยนมือกลองมาเป็นปูน วงต้องปรับตัวยังไงบ้าง

ไผ่: ก็เป็นคนดีขึ้นเพราะปูนเป็นคนดี (หัวเราะ) จำได้ว่าคนที่แนะนำมาก็ไม่เคยเจอปูน คือคุณพจน์ วง Nick of Time ที่เป็นเพื่อนกับ แม็กซ์ เจนมานะ เขาแค่เห็นว่าคนนี้ตีกลองได้ แต่เราก็นึกว่ารู้จักกันหรือสนิทกัน ปูนรู้สึกยังไง

ปูน: ตอนนั้นพี่ไผ่โทรมาชวน มาถึงก็งงเลยเพราะเหมือนต้องมาตีสิ่งที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต เพลงวงเขาก็ไม่ค่อยได้ฟัง ซ้อมครั้งแรกคืองงหนักด้วย ใช้เวลาจูนนานมาก แต่สนุกดี งานแรกคือตอนเล่นเปิดให้วง Peace คืองงหนัก (ไผ่: เล่นเสร็จแล้วงอนเลย ปูน เล่นไรของมึงวะเนี่ย) ลาออกทันไหม (หัวเราะ)

วิทย์: แต่ก็ประคองจนจบได้ มันก็จะเป็นแบบที่ไม่ค่อยเก็ตฟีล เหมือนคนท่องบทเก่งแล้วเล่นตามสคริปต์ แต่เล่นไปด้วยกันสักพักก็ปล่อยเขาไปก่อนได้แล้วค่อยดึงกลับเข้ามา

phai-plot-fungjaizine

แล้วพอเข้ามาได้คิดไลน์กลองเองบ้างไหม

ปูน: เอาจริง ๆ  PLOT เนี่ยคือพี่ไผ่ สมมติถ้าเบสไม่ใช่พี่วิทย์ก็จะเป็น PLOT แบบนึง ไม่ใช่เราตีกลองก็จะเป็น PLOT อีกแบบนึง แต่ถ้าไม่มีพี่ไผ่ มันก็จะไม่ใช่ PLOT เลย เขาจะเป็นคนเคาะทุกอย่างว่าอันไหนได้ อันไหนไม่ได้

วิทย์: ไผ่ก็จะมีคอนเซปต์มา แล้วเราก็เอามาเติมกัน เราคิดไลน์เบส ปูนคิดไลน์กลอง

คอนเซปต์หรือความคิดตั้งต้นในการทำเพลงของ PLOT คืออะไร

ไผ่: เราแค่ชอบฟังเพลงตั้งแต่แรกมากกว่า แล้วก็เป็นโชคดีของเราที่ได้ทำเพลง ส่วนประเด็นหลักในการเขียนเพลงคือเราเขียนให้คนของเรา เราบอกเขาตรง ไม่ได้ แต่อาจจะทำไม่เสร็จเพราะเปลี่ยนหลายคน (หัวเราะ) ก็คิดจะทำแบบนี้ผ่านเพลงดีกว่า มันก็เหมือนเห็นแก่ตัวเพราะเขาจะไม่มีสิทธิ์มาโต้ตอบกับเรา

เพลงส่วนใหญ่พูดถึงความสัมพันธ์ก็จริง แต่ทำไมถึงมีเรื่องเมืองหรือสิ่งปลูกสร้างมาเกี่ยวข้องด้วย

ไผ่: เพราะเราชอบสิ่งก่อสร้าง เราคลุกคลีกับสิ่งนี้เพราะทั้งวันเราก็ทำงานกับของพวกนี้ รวมถึงวิทย์เองก็ด้วย เราประกอบอาชีพนี้แล้วเราก็รู้ว่าเซนส์ของมันเป็นยังไง

วิทย์: เหมือนถ้าเราอยู่กับเรื่องไหนบ่อย เราก็จะเชี่ยวชาญกับเรื่องนั้น แล้วก็หยิบมาพูด เพราะเราศึกษา เราอยู่กับมัน

ไผ่: มันก็ไม่ขนาดนั้น พวกนี้มันเหมือนความ fetish ของเราด้วยส่วนหนึ่ง คนเรามันเห็นสิ่งของแล้วมันชอบ เราว่าเราเป็นอย่างนั้น เรามีความปรารถนาในวัตถุ ไม่ใช่วัตถุนิยมนะ แต่เราชอบการสัมผัส material เราว่ามันให้ภาพมากกว่า อย่างเราใช้คำว่าคอนกรีตในเพลงบ่อยมาก มันให้ความรู้สึกแบบหนา เป็นสิ่งที่กั้นเอาไว้ ทั้งสี ทั้งน้ำหนัก สมมติเราพูดเรื่องคอนกรีตให้คนอื่นฟัง พูดให้แม่ฟังแม่เราก็เข้าใจ ดีกว่าการบอกตรง ว่ารักของเราเป็นไปไม่ได้ มันเป็นเทคนิกการเล่าเรื่องมากกว่า

ถ้าต้องเขียนเพลงที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ อยากจะพูดเรื่องอื่นไหม

ไผ่: ไม่มี เพราะว่าเราเขียนเพลงเพื่อเจตนานี้เพียงอย่างเดียว คือการรีวิวตัวเองด้วย ว่าตอนนั้นเราทำอะไรไปบ้าง อะไรที่เราไม่ได้บอก เหมือนตอนนี้อะ เรากลับบ้านไปเราจะนึกว่า เชี่ยทำไมเราไม่ให้สัมภาษณ์แบบนี้วะ หรือว่าเราตกสำรวจอะไรไป อันนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตเรามาก ทางที่ดีที่สุดที่ทำได้คือการเขียนเพลง

ทำไมไม่ชอบสื่อสารตรง

ไผ่: เราว่าไม่มีใครสามารถสื่อสารอะไรตรง ได้นอกจากแม่เราคุยกับเรา แบบไผ่ ตื่นได้แล้วเงี้ย (หัวเราะ) นี่เป็นเบสิกของการสื่อสาร แบบนี้ธรรมชาติกว่าการบอกไปตรง อีก สมมติเราจะสื่อสารกับมนุษย์อีกคนหรือ convince ใครสักคนเราต้องอธิบายทุกอย่างผ่านบางอย่างอยู่แล้ว

การเขียนเพลงที่มีความสละสลวยเหมือนกวีแบบนี้ ได้อิทธิพลจากงานของใครหรือมีอะไรเป็นแรงบันดาลใจ

ไผ่: เราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ มันก็หลากหลายผสมกันไป ไม่ได้เจาะจงใครคนใดคนหนึ่ง เราชอบงานที่โรแมนติกเป็นหลัก มันเติมเต็มเรา ทำให้เราอิ่มเอม มันทำหน้าที่เดียวกับดนตรีที่มันทำให้เรา escape ไปอีกที่ทั้งผู้เล่นและผู้ฟัง เรื่องโรแมนติกก็เหมือนกันที่พาเราไปอีกที่ได้ มันเป็นฟังก์ชันนั้น

plot-fungjaizine-potrait

เมื่อก่อนวงอยู่กับ SO::ON DRY FLOWER แต่ตอนนี้ไม่มีค่ายนั้นแล้ว แรกสุดที่รู้ว่าค่ายปิดตัวเราทำยังไง

ไผ่: ไปเอาเดโม่ออกมาอัดเอง (หัวเราะ)

วิทย์: เอาออกมาได้ไม่ครบด้วย (หัวเราะ) แต่เป็นค่ายที่ดีนะ สิ่งที่ SO::ON ให้มาคือสอนให้เรารู้จักดิ้นรนด้วยตัวเอง เหมือนโตขึ้นแล้วเราก็ต้อง move on ไม่ใช่เขาจะมาป้อนให้ตลอดเวลา มันเป็นการบอกอ้อม ว่าพวกมึงต้องช่วยกันให้มันขึ้นมาได้ ไม่ใช่ว่าให้เขาทำอยู่คนเดียว แต่พวกเราก็ยุ่งและก็เด็กเกินกว่าที่เราจะคิดออกจากคำพูดเหล่านั้น ตอนนั้น แล้วเขาก็ไม่เคยบังคับเราเลย ไม่เคยแก้อะไรเลย

ไผ่: เรื่องที่ค่ายปิดไปมันเป็นความแย่ของวงในค่ายด้วย คือนักดนตรีไทยแม่งขี้เกียจเหี้ย อย่างวง PLOT เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากเพราะไม่มีผลงานต่อเนื่อง เราคิดว่าถ้ามีคนในค่ายคนนึงออกเพลงบ่อย ออกตลอด เราว่ามันอยู่ได้ แต่ถ้าขาดวินัยเราว่ามันก็ไม่น่ารอด

วิทย์: เหมือน Desktop Error ที่พยายามประคองไป กลายเป็นเหมือนว่าเขาเป็นวงเดียวในค่ายที่ยัง active ตลอดเวลา แล้วอย่างพวกเราไม่ค่อยได้ช่วยอะไรเขาเลยมันก็รู้สึกไม่ค่อยดีหรอก

ไผ่: เราไม่เคยอยู่ค่ายที่ใหญ่กว่านี้เราก็ไม่รู้ว่าเขามีระบบอะไรที่จะทำให้ productive แต่ข้อดีของ SO::ON คือให้อิสระเราเต็มที่ แล้วเราก็ดันทำอิสระกลายเป็นเรื่อยเฉื่อยไปหน่อย ดีที่สุดคือเราได้ความรู้เรื่องเทคนิคว่าตอนอัดอันนี้ต้องทำอย่างนี้ ได้เห็นวิธีการทำงานของเขา โคอิชิ ชิมิสึ เป็นคนที่เชื่อมือได้อยู่แล้วคนนึงในประเทศเรา เป็นคนโคตรรักอุปกรณ์ในห้อง บางอย่างไม่ให้แตะ เขาเป็นคนที่มีมาตรฐานสูงมาก แล้วก็ทำให้เรามีมาตรฐานขึ้น อย่างแต่ก่อน เรื่องกรูฟเนี่ยเราไม่รู้เลยว่ากรูฟคืออะไร จังหวะคืออะไร พอเพลงมามันก็จะป้อแป้ เราต้องอาศัยตัดให้มันสั้น หรือตัดหลายส่วน เพราะเราไม่เข้าใจมัน อันนี้แหละที่เราได้เรียนรู้จากโคอิชิ จากที่เราเป็นมือสมัครเล่นเหี้ย ก็กลายเป็นมือสมัครเล่นที่ดีขึ้นมาหน่อยนึง (หัวเราะ)

วิทย์: แกเก่งมาก อีกเรื่องนึงคือเวลาจะอัด เขาจะปล่อยเมโทรนอมมา เราอัดไม่เคยตรงนอมเลยเพราะเราเป็นคนล่ก ใจร้อน จะเล่นเร็วกว่ากลองตลอด เขาบอกว่าเอาง่าย เลย (พูดสำเนียงญี่ปุ่น) ‘เอาเมโทรนอมอยู่ข้างหน้ามึงอะ’ แค่นิดเดียว เราเล่นได้เลย แสดงว่าเขาต้องแตกฉานพอสมควร เขารู้ว่าเราไม่ใช่นักดนตรีที่เล่นดนตรีเก่ง หรือนักดนตรีอาชีพที่อัดเพลงกันอาทิตย์ละสามเพลง แล้วแต่เขารู้วิธีที่จะพูดกับเรา เขาเป็นคนที่โอเค ก็ชอบเขา

แล้วรู้สึกยังไงที่วงการดนตรีวันนี้ไม่มี SO::ON DRY FLOWER แล้ว

ไผ่: เราว่าถ้ามองในแง่ดี นี่ก็เป็นโอกาสที่ดีที่คนรุ่นเราจะทำอะไรของเรากันเอง มีช่วงนึงที่แก๊ปใหญ่มาก มีพี่โค พี่ป๊อก Panda Records มันกี่ปีมาแล้วอะ ถึงเวลาที่คนช่วงอายุเราแล้ว เรามีเครื่องมือดีกว่าเขาเยอะมาก เรามีแล็ปท็อป เรามีอุปกรณ์ที่เอื้อมถึงง่ายขึ้น เรามีข้อมูลเยอะมากในการทำ เราไม่จำเป็นต้องไปรอให้ใครมาช่วยเราแล้ว มันเป็นช่วงที่ทุกคนจะช่วยกันทำได้ อย่างอัลบั้มนี้ยกเครดิตให้เต๊นท์ Summer Dress เลย เขามาช่วยอัด ช่วยมิกซ์ เราก็ถามปูนมาว่าจะให้ใครมาสเตอร์ เราก็ว่าจะให้ตวน Cloud Behind เพราะเพิ่งกลับมาจากไปเรียนที่อังกฤษ แล้วเราก็คุยกันรู้เรื่องว่าต้องการยังไง มากกว่านั้นคือตวนอยากทำ อยากช่วย สองคนนี้เด็กกว่าเราปีสองปีที่ทำตรงนี้ได้ ในมาตรฐานที่ดีที่เราพอใจด้วย เราว่ามัน collective ดี ก็จะได้ไปด้วยกันทั้งหมด มันเป็นจังหวะที่เหมาะแล้ว ปี 2018 ไม่มีใครผูกขาด มี streaming ให้ทุกคนได้เผยแพร่ผลงาน มันมี ฟังใจ ที่หลายคนก็อายุไล่เลี่ยกับเรา ก็มองเห็นว่าเด็กรุ่นนี้มันก็ทำอะไรได้ มันถึงเวลาที่ทุกคนในซีนนี้ต้องดันกันเองได้แล้ว

สถาปัตย์มันจะมี DNA แกะรอย คือคนนี้เคยเป็นลูกศิษย์ของคนนี้ งานจะมาเป็นแบบนี้  ที่จะมีคนแรกทำมาก่อน แล้วลูกศิษย์เขาเอาอะไรมาใช้บ้าง ก็เหมือนกันว่าเราฟังเพลงของคนนี้ DNA ของเขาคืออะไรแล้วเราเอามาใช้ต่อยังไงมากกว่า คือลูกศิษย์ที่ขึ้นมาได้คือคนที่เอา DNA ตรงนั้นมาใช้ได้ดี ถ้าเอามาใช้แบบกระป๋องกระแป๋งก็กลายเป็นคนคนนึงที่ไม่มีใครรู้จัก — วิทย์ PLOT

PLOT ANON เป็นอะไรกับ พจน์ อานนท์

ไผ่: มุข ‘พล็อต อานนท์’ นี่ใช้บ่อยพอ กับมุข วง PLOT (Pause) ที่ร้องเพลง ที่ว่าง อะ (หัวเราะ) วันนั้นเราแค่เมาเหี้ย แล้วมีคนแนะนำเราว่า นี่พี่วง PLOT ไง เขาก็ถาม PLOT ไหนวะ ก็เรียกเราว่า PLOT ANON ก็ตลกดี ก็ได้ยิ้มมา คิดว่าเอาไปเล่นกี่ทีก็น่าจะได้ยิ้มเหมือนกัน (หัวเราะ)

วิทย์: มันจะมีความกระอักกระอ่วนจิตใจเวลามีคนถามว่าทำวงอะไรหรอ เราก็ต้องมานั่งอธิบายว่า PLOT ไหน อย่างบางทีถามว่ารู้จักวง PLOT ไหม พอเขาบอกไม่ เราก็ไม่รู้จะคุยอะไรต่อดี (หัวเราะ) จะไปบอกให้เขามาลองดูลองศึกษาวงเรา มันก็นะ ก็ไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้น ก็เลยเนียนไป ก็โอเคนะ สนุกดี ได้ดูปฏิกิริยาเขาว่าจะขยายความยาวยืดอะไรยังไงอีก เราไม่มีทางทำให้ทุกคนเข้าใจได้จนบางทีเราก็ไม่ต้องอธิบายก็ได้ เขาเองก็ไม่ต้องการคำอธิบายหรอก

ทำไมเพลงที่ปล่อยมาไม่รุนแรงเฟี้ยวฟ้าวแบบ EP

ไผ่: มี ๆ แต่ยังไม่ออกมา เลือกปล่อยพวกนี้ก่อน แต่เพลงอย่างนี้ทำยากกว่านะ แค่เราคิดว่ามันควรจะมีแนวนี้บ้าง

วิทย์: ก็มีคนบอกว่าป๊อปขึ้นนะ แต่มันทำยากกว่าตอนงานใต้ดินอีก มันไม่ได้แปลว่าเพลงที่ไม่ได้เล่นยากแล้วมันจะไม่ยาก พวกที่ดูเล่นยากบางทีจริง แล้วง่ายกว่าอีกเพราะเราคิดเอาไว้แล้วว่า เฮ้ย ดูเล่นยาก แม่งเจ๋งแน่นอน เราก็จะไม่ไปคิดถึงมัน จะไปคิดถึงอันต่อไปเลย แต่อันนี้เราต้องมานั่งทบทวน ว่า เชี่ย มันไม่ได้เล่นยากนี่หว่า แต่มันดีจริงหรือเปล่า มันยากตรงนี้แหละ

ไผ่: เราคิดว่ามันต้อง challenge ตัวเองด้วยอย่างนึง มันชอบมีวงอินดี้มาแล้วพอไปอยู่ค่ายใหญ่ก็ต้องทำเพลงให้ป๊อปเพื่อให้ขายได้ เราว่ามันไม่ใช่ มันน่าลองท้าทายตัวเองดู คนเห็นหน้าเราอาจจะคิดว่าเราจะเป็นคนที่ฟังเพลงโหดร้ายตลอดเวลา กูไม่ใช่คนบ้านะเว่ย (หัวเราะ) เราไม่ได้เป็นอย่างนั้น

อัลบั้มนี้ทำกันนานไหม ใกล้เสร็จหรือยัง

ไผ่: ยัง มี 12 เพลง ฝั่งสองคนนั้นเสร็จแล้ว เหลือพาร์ตของเรา พวกท่อนเรียบเรียง ตัด คัด ย้าย ยังไม่เรียบร้อย แต่ว่าก็มีเสา มีโครงของมันแล้ว จะพยายามปล่อยกลางปี แต่นี่เราก็จริงจังแล้วนะ เพราะก็ปล่อยเพลงเกือบทุกเดือน

วิทย์: พาร์ตของปูนกับวิทย์ไม่นานเพราะเป็นแค่วัตถุดิบไง เราก็เติมเข้าไปจากโครงของไผ่ แต่เพลงชุดนี้นานมาก เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ถ้าเอามาเล่นมันก็คือเพลงเดิมที่ซ้อมกันวันแรกนั่นแหละ ก็แก้ไปเรื่อย

ไผ่: เอาเป็นว่าเพลงที่แต่งใหม่สุดในนี้คือ ไม่มีอะไรใหม่หรอก ทุกอย่างแม่งก็เก่าหมด นั่นแหละ ที่เหลือเป็นเพลงที่เรามีอยู่แล้วแต่เรียบเรียงใหม่เรื่อย

วิทย์: อันนั้นใช้เวลาน้อยมากนะ แปปเดียวเอง ที่ทำเร็วเพราะมีคนไล่จี้มา (หัวเราะ)

ใครทำอาร์ตเวิร์กให้ มีคอนเซปต์อะไรบ้าง

ไผ่: ชื่อตอย (Aitoy) เป็นเพื่อนเรา เป็นเพื่อนของ เฟม (Vagina Film) ซึ่งก็เป็นคนทำ mv ประจำให้เรา ก็เป็นเพื่อนกันหมดเนี่ยแหละ เราเห็นงานตอยมานานมากแล้ว ก็เป็นคนมีฝีมือดีและมีอารมณ์ขันที่ดีมาก เป็นแก๊งที่ชอบดูตลกคาเฟ่ด้วยกันกับเราและจะเล่นตลกคาเฟ่กันตลอดเวลา (หัวเราะ) พูดถึงเรื่องงาน รูปในเพลง หยาบและห้าว อันนั้นเป็นงานของเขาชิ้นแรกที่เราเห็น จริง ๆ เป็นเส้นหมึกขาวดำ เราบอกเขาว่าช่วยทำให้มันขยับนิดหน่อยแล้วเป็นสีด้วยได้ไหม พอทำเสร็จก็คิดว่ารูปทั้งหมดจะให้มันเป็นของตอยทั้งหมดเลยได้ไหม แล้วเขาก็ทำต่อมาเรื่อย เราก็ส่งเพลงให้เขาฟัง ให้เขาตีความจากเพลง ทำมาเสร็จเราก็ถามว่าทำไมออกมาแบบนั้น ก็คอมเมนต์ คิดว่าด้วยลายเส้นของเขาคือดีนะ แต่ไม่เข้าใจว่างานดีขนาดนี้ทำไมถึงไม่ดังสักที ขอบคุณตอยมากจริง พูดถึงแล้วก็ซึ้ง

plot-fungjaizine-3

ปกติฟังอะไรกันหรืออินกับเพลงประมาณไหน

วิทย์: สมัยก่อนมีช่วงนึงคนทักว่าดนตรีนายพังก์จัง เราก็ไปหาพังก์เก่า ฟังแล้วมันก็เป็นเบสแบบนั้น ก็ฟังอยู่ช่วงนึงนะแต่ไม่ได้หยิบมาใช้ พวก Sham 69, Dead Kennedys มันดูไม่เข้า

ไผ่: แต่ถ้ามันถึงจุดที่เราไม่รู้จะไปทางไหน Gang of Four นี่เป็นอาวุธลับของเราเลย แบบ ท่อนนี้ทำไงดีวะ ๆๆๆ กลับไปดู Gang of Four เลย มันมีคำตอบให้ทุกอย่าง เราว่าเป็นที่สุดของโพสต์พังก์แล้ว มีทุกอย่าง element น้อย แล้วเล่นกีตาร์เท่เหี้ย อย่างเพลง หยาบและห้าว ท่อนกลางทั้งหมดเรายกให้ Gang of Four เลยเว่ย ‘แต๊ด แต่ด แต่ดดดด’ เพลง Natural’s Not In It นี่เราใช้เป็น element หลักในพาร์ตพังก์ของเพลงเรา (วิทย์: โคอิชิก็ช่วยให้มันชัดขึ้นด้วย) เออ เขาฟังแล้วบอกว่า เฮ้ย มึงไปลองดูอันนี้ ถ้าย้อนกลับไปเรื่องที่ถามถึงโคอิชิ เราว่านี่เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆๆๆ คือวิธีการที่เราฟังเพลงแบบคนทำเพลง เราไม่รู้ว่าเป็นปัญหาไหม แต่มันจะมีวงใหม่ ออกมาแล้วมันคล้าย กันทั้งโลก เราคิดว่าความสนุกของการฟังเพลงสำหรับเราคือฟังเพลงนี้ปุ๊บแล้วรู้สึกว่า โห แม่งคืออันนี้เลย มันไม่ใช่การก๊อปมาแต่เป็นการพูดถึงด้วยวิธีคล้าย กัน ถ้าเราฟังเพลงแบบที่คนทำเพลงฟัง แบบที่โคอิชิเปิดให้ฟัง มันจะมีพวกอัลบั้มชั้นครู เหมือน 101 ของคนทำเพลง ทุกคนต้องฟัง Wire พวกนี้เหมือนกับ ถ้าเป็นคนประดิษฐ์หลอดไฟก็จะเป็นโธมัส อัลวา เอดิสัน แห่งวงการเพลงโพสต์พังก์ คนจะทำเพลงแบบนี้ควรฟังงานของต้นฉบับ มันมีงานใหม่ออกมาเรื่อย ก็จริง แต่เพลงต้นแบบมันจะพาไปสู่จุดที่คุณสร้างงานได้ เหมือนงานสถาปัตย์ เราจะเรียกว่า great architect อย่าง ‘Le Corbusier’ กลับไปเริ่มคุยที่คนนี้เสมอ ๆๆๆ

วิทย์: สถาปัตย์มันจะมี DNA แกะรอย คือคนนี้เคยเป็นลูกศิษย์ของคนนี้ งานจะมาเป็นแบบนี้ ที่จะมีคนแรกทำมาก่อน แล้วลูกศิษย์เขาเอาอะไรมาใช้บ้าง ก็เหมือนกันว่าเราฟังเพลงของคนนี้ DNA ของเขาคืออะไรแล้วเราเอามาใช้ต่อยังไงมากกว่า คือลูกศิษย์ที่ขึ้นมาได้คือคนที่เอา DNA ตรงนั้นมาใช้ได้ดี ถ้าเอามาใช้แบบกระป๋องกระแป๋งก็กลายเป็นคนคนนึงที่ไม่มีใครรู้จัก

แล้ว PLOT ทำได้ดีหรือยัง

วิทย์: ไม่รู้ว่ะ ตอบไม่ได้ ถ้าจะตอบว่าดีก็จะดูมั่นใจเกินไป

ไผ่: เราว่าทุกอันอะ ไม่ว่าจะหนังหรืออะไร ก่อนหน้านี้มันมีหนังที่ใช้คำว่า ‘เหี้ย’ กันอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง แต่เดี๋ยวนี้มีคำว่าเหี้ยอย่างในหนังออกมาในที่สาธารณะเยอะมาก แต่ว่ามันไม่ได้ทำให้เห็นเจตนาจริง ว่าต้องการอะไร มันดูเป็นแค่คำหยาบคายอย่างเดียว เรามีเพลง 80s ใช้ drum machine ฟุ้ง ๆ เยอะมาก ๆๆๆๆ แต่มันจะสนุกกว่าไหมถ้าเราได้เห็นว่ามันมาจากอะไร เราว่ามันไม่ใช่เรื่องแย่ แต่มันคือความสนุกที่ฟังแล้วตามต่อได้ถูกไปถึงต้นตอมันมากกว่า

วงการเพลงช่วงนี้น่าสนใจยังไงบ้าง

ปูน: มันก็ดูเหมือนจะดีนะ มันมีช่วงที่เรารู้สึกว่าเพลงมันคล้ายกันไปหมด แล้วก็มีช่วงที่คนทำเพลงบางคนไม่สนใจคุณภาพดนตรีเท่าไหร่ เช่นวงอินดี้จะไม่สนใจ quality เพราะคิดว่ากูอินดี้นะ คุณภาพไม่ต้องดีหรอก แต่สมัยนี้อินดี้ต้องดีแล้ว มาตรฐานทุกวงดีขึ้นมากจริง ๆ มันมีคนที่รู้สึกว่าต้องทำงานให้คุณภาพดี จะชุ่ยไม่ได้ แล้วคนทำเพลงก็เริ่มทำในแนวที่เขาชอบจริง ๆ เลยมีหลากหลายแนวให้เราได้ฟัง เราว่ามันก็น่าจะดี

อะไรคือสิ่งที่ทำให้คนจำ PLOT ได้

ไผ่: เป็นคนดี (หัวเราะ)

วิทย์: น่าจะเป็นเรื่องเนื้อเพลงของไผ่และการเล่นสดมากกว่า สองอย่างที่เราสังเกตมาตลอด และจะมีคนพูดถึงอยู่เสมอ

ไผ่: ตลกมากคือปูนไปเรียนออสเตรเลีย แล้วปีนั้นเราก็ไม่ได้เล่นสดเลย มีแค่งานเดียวให้น้องกร H1F4 มาช่วยเล่นหนึ่งครั้ง ก็เลยไม่กระทบเท่าไหร่ (หัวเราะ) แต่พอได้เล่นก็โคตรสนุกเลย อยากเล่นเรื่อย

plot-fungjaizine-4

ปูนไปเรียนอะไรที่ออสเตรเลีย

ปูน: SAE International ทีไทยก็มี แต่อยากไปเรียนที่นู่น (ไผ่: ติดสาว ไม่ใช่อะไรหรอกกกก) ก็เลือกสถานที่ก่อนไง เคยไปเมลเบิร์นมาทีนึงแล้วรู้สึกว่าเมืองมันดี พอไปที่นู่นก็คิดว่าจะเรียนอะไรก็เลือกที่นี่ ก็ดี สนุกมากด้วย เป็นเมืองที่คนไทยเยอะมาก แต่ที่เรียนไม่มีคนไทยเลย ถือว่าโชคดี

ไผ่: ไม่เห็นจริงเลย ไม่เห็นมึงทำเหี้ยไรเลย มีแต่ไถสเก็ต กินกาแฟ ถ่ายรูป แล้วเราก็แบบ โอเค ปูนกลับมาทำได้แน่นอน แต่ปรากฏว่ามันบอกว่า ให้พี่เต๊นท์เลยดีกว่า (หัวเราะ)

ปูน: ก็เขาลึกกว่าไง (หัวเราะ) อันที่จริงที่ไปเรียนมามันเหมือนเป็นสตูดิโอโปรดักชัน ได้รู้ process คือก่อนหน้าเราเรียนแจ๊สมาใช่ไหม เวลาเล่นคอนเสิร์ตในมหาลัยเมื่อก่อนเราเล่นไปเลย ไม่มี pre mix ด้วยซ้ำ เล่นสด ไม่มีไมค์ นี่ไปเรียนมาก็ได้รู้ว่าอัดเพลงทำยังไง อัดกลอง ก็เลือกห้อง เลือกไมค์ เลือกคนทำได้ถูก หรือถ้าไม่เกี่ยวกับ PLOT เราก็ได้เอามาใช้มิกซ์เพลงโฆษณา รับงานบ้าง

ซีนดนตรีที่นู่นให้แรงบันดาลใจเรายังไงบ้าง

ปูน: ก่อนไปเรารู้สึกว่าฝรั่งจะต้องเก่งมาก มันก็มีคนเก่งอัจฉริยะ แต่คนที่แย่มาก ก็มีเหมือนกัน ก็ไม่รู้สึกว่าฝรั่งเก่งละ รู้สึกว่าคนไทยเก่งกว่าเยอะเลย ถ้าคนไทยที่ขยัน ตั้งใจอะนะ แต่เขาดีเพราะคอนเสิร์ตเขาเยอะ แล้วบัตรก็ไม่ได้แพง ตอนนั้นมี jazz festival ระดับโลกที่ถ้ามาไทยบัตรก็ 5-6 พัน แต่อันนี้จัดวีคนึง บัตรก็… (ไผ่: 50 บาท) ไม่ ๆๆ เออ แต่ถูก แล้วเขาเล่นบ่อย แฮปปี้

เราชอบบังเอิญไปเจอทั้งสามคนในคอนเสิร์ตทั้งไทยและเมืองนอก สำหรับคอนเสิร์ตหรือเฟสติวัลในเมืองไทย มองว่ายังไงบ้าง ยังขาดอะไรอยู่ไหม

ไผ่: สำหรับเราดีแล้วนะ ตอนนี้เวนิวที่ไทยดีมาก แล้วก็มีหลาย วงมา ได้เปิดหูเปิดตา แล้วเราก็ได้ดูเขาเล่นก็รู้สึกว่าเราก็พอสู้เขาได้นะ (หัวเราะ) หลัง ไอ้พวกนี้มันจำเป็นนะถ้าเราได้ดูจริง อย่าง The XX ที่ผ่านมาได้ดู เจ๋งมาก performance มันต้องอย่างนี้ว่ะ หรืออีกทีเราคิดว่า ก็ขอบคุณคนที่เอามาด้วยนะที่ช่วย inspired เรา ไม่ว่าจะทำงานตัวเอง หรืองานอะไร เราอยากสร้างงานดี เพราะมีคนตั้งใจทำงานจริง แล้วถ้าเป็นอย่างนี้บ่อย ก็น่าจะมีเบอร์ใหญ่ มา อย่างรอบก่อนนู้นมี The Thurston Moore Band มา โห สุดยอดเลยอะ มีอุปกรณ์ไม่กี่อย่างแต่เล่นเท่มาก อย่างที่บอกไปว่า master เป็นยังไง มันเป็นอย่างวงนี้แหละ แล้วอย่างวงต่างประเทศที่เด็ก เขาก็มีแบ็กกราวด์ดีอยู่แล้ว ได้ฟัง Morissey ตั้งแต่เด็ก ใครจะแต่งเพลงไม่ดีวะ เนื้อเพลงนี่เขียนดีมาก ฟังแล้วตายทั้งลาน

วิทย์: เราไม่คาดหวังอะ แค่มาเล่นก็ดีแล้ว

ถ้าเป็นงานที่มีแต่วงไทยกันเอง จะดีไหมถ้ามีคนทำเฟสติวัลแบบ Cat Expo หรือ เห็ดสด เยอะ

ไผ่: เราว่าดีมาก ได้โปรด ทำที ยากเล่นมาก เราว่าถ้ามันมี facility ถึงแล้วคนจะไป อย่างวงนอกมีสปอนเซอร์ แต่วงไทยไม่มี คนจัดงานเสี่ยงเข้าเนื้อมาก อย่างเช่นงานของน้องผู้หญิงที่ชื่อชูชีวา (เมย์ Fwends) ที่จัดงาน Conflakes อะไรสักอย่าง (หัวเราะ) ทำกับเฟม เข้าเนื้อบ่อยมาก เราก็คิดว่าสปอนเซอร์เองยังไม่ได้ซัพพอร์ตเท่าที่ควรจะเป็นทั้งที่เราเป็น local อะ เราว่ามองผิดมากเลยนะ เดี๋ยวนี้วงดนตรีเป็นเพื่อนเราทั้งนั้น เพื่อนที่โรงเรียนก็เป็นวงดนตรีทั้งนั้น การไปดูเพื่อนมันเป็นการดึงซีนใหญ่มากกว่าอีก เดี๋ยวนี้มันไม่มีเส้นแบ่งระหว่างร็อกสตาร์กับคนดูแล้ว แล้วทุกซีนทั่วโลกมันเริ่มจากตรงนี้ อย่าง The Strokes หรือ Yeah Yeah Yeahs ที่ให้สัมภาษณ์มันเป็นเรื่องซัพพอร์ตกันเองในเมือง ถ้าคนจัดงานทุกคนทำ เราก็น่ากราบน้ำใจมากเพราะมันก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จไม่มากก็น้อย ฟังใจเองก็พยายามผลักดันเรื่องนี้อยู่ อย่างนี้จะทำให้มีวงไทยน่าดูมากขึ้นแล้วซีนเราก็จะดีขึ้น

plot-fungjaizine-%e0%b9%81%e0%b8%9f%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%98-%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%b5

ตอนนี้วงอะไรกำลังมา

ไผ่: เอิ๊ต ภัทรวี (หัวเราะ) ถ้าเราเล่นงานเปิดอัลบั้มคงให้เอิ๊ตเล่นเปิด

วิทย์: เราว่าวงที่ดีมันไม่ตกสำรวจหรอก เดี๋ยวมันก็มีคนเจอ (ไผ่: ดูอย่างวงเราสิ (หัวเราะ)) งานไม่มี มีแต่คนถามค่าตัวแล้วก็ไม่จ้าง ทำไมหรอ กูดูถูกหรอ ได้ราคาแค่เท่านั้นหรอ (หัวเราะ) แต่เราก็ต้องดูมาตรฐานตัวเอง ถ้าไม่ก็ไม่เป็นไร

ไผ่: เราว่านักดนตรีดี อะมีเยอะ มีวงที่เล่นดนตรีเก่งเยอะมาก แต่นักแต่งเพลงที่ดีไม่ค่อยเยอะ อย่าง Srirajah Rockers, Rasmee เขียนเพลงดีมาก เราไม่รู้เราเขียนเพลงได้มาตรฐานหรือเปล่า แต่เวลาได้อ่านเนื้อเพลงดี เรายอมตายไปเลย อะ แต่มีวงนึงเราชอบ Supergoods เป็นวงเล่นโซล r&b เราไปดูเขาเล่นทริบิวต์ให้ Erykah Badu วงนี้เล่นเก่งเหี้ย มือกีตาร์เล่นเก่งสัส ถ้าเห็นวงไหนเข้าตาเราก็คงวงนี้แหละ มือกลองก็ Questlove เลยอะ ตียังไงก็ฮิปฮอปอะ เราว่าปัญหาคือ เรามีนักดนตรีเก่งเยอะ แต่ว่านักดนตรีที่อินและมีสำเนียงของตัวเอง เราว่าหายาก ไม่อยากจะตัดสินว่าใครดีหรือน่าสนใจ แต่ถ้าเห็นว่าใครมี passion กับสิ่งที่ตัวเองทำอยู่มากที่สุดอะ เราคิดว่าวงนี้แหละ แล้วเล่นดีเหี้ย แล้วเล่นเพลงใหม่ตลอด ซ้อมเยอะเหี้ย หน้านักร้องก็ร้องอย่างอิน เรารอเขาทำเพลงของตัวเองอยู่

ถ้ามอบเพลงของ PLOT หนึ่งเพลงให้กรุงเทพ ได้ จะเลือกเพลงไหน

ไผ่: ให้แม่และคุณ แล้วกัน เพราะอันนี้คือสุดมือของเราที่เราจะทำได้แล้ว มอบให้ในฐานะที่เราใช้ที่แห่งนี้ ไม่ได้เปรียบเทียบถึงอะไรนะ แล้วก็คุณในเพลงมันเป็นได้หลายอย่าง หมายถึงคนรักก็ได้ บางอย่างที่เรารู้สึกมีความสัมพันธ์ด้วยก็ได้ แล้วเรื่องเมืองคือเรื่องความสัมพันธ์สำหรับเรา

นอกจากวงแล้วแต่ละคนทำอะไรกันอีก

วิทย์: เป็นสถาปนิกครับ

ปูน: เล่นดนตรีอย่างเดียว เป็นมือปืนให้หลายวง มี PLOT เล่นให้เอิ๊ต ภัทรวี เล่นให้ อิ้งค์ วรันธร เป็นมือสอง เล่นให้พี่จีน กษิดิศ นาน ที แล้วก็ Jelly Rocket บ้าง

ไผ่: ก็ทำสถาปนิกเหมือนกัน แล้วก็ทำเพลงประกอบหนัง เพลงโฆษณา

เร็ว นี้จะมีงานไหม

ไผ่: ยังไม่มี เหมือนจะเอา แล้วก็เขี่ยเราทิ้ง (หัวเราะ) ถ้าอยากดูก็ text มา

ฝากผลงาน

ไผ่: ออกกลางปีครับ quality เท่ากันกับทุกเพลงที่ปล่อยออกมา พยายามคราฟต์ให้มันดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้อเพลงเราแก้ตลอด แต่ถ้าถามว่าจะฝากอะไร ก็ฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่จะทำเพลง การที่เราผลิตอัลบั้มนี้ไม่ใช่แค่เรา แต่มีเพื่อนเราด้วย มันก็เป็นนิมิตหมายที่ดีว่าเราทำกันเองได้ เราทำอะไรได้บ้าง อย่างสิบปีที่ผ่านมานี้เราโคตรห่วยเลย ทำไรเองไม่ได้ แต่ว่าก็ อย่างที่บอก มันเป็นยุคของคนรุ่นเราทำกันเองได้แล้ว ลองดูครับ

img_0515

ติดตามความเคลื่อนไหวของ PLOT ได้ที่ fanpage และรับฟังเพลงบนเว็บไซต์ฟังใจ ที่นี่

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้