Article Interview

Plastic Plastic เมื่อดนตรีคือส่วนเติมเต็มความรู้สึกของ BNK48 ใน Girls Don’t Cry

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Chavit Mayot

จะมีอะไรน่าสนใจไปกว่าการที่ผู้กำกับลายเซ็นจัดอย่าง เต๋อ นวพล เลือกที่จะทำภาพยนตร์สารคดีถ่ายทอดแง่มุมที่เราไม่เคยเห็นของ BNK48 ไอดอลแห่งชาติที่ไม่น่าจะมีใครไม่รู้จักพวกเธอ และด้วยกระแสตอบรับที่ดีแบบถล่มทลายทำให้เราต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าจะดีงามแบบที่หลายคนพูดไว้หรือเปล่า

หลังจากที่ดูจบก็พบว่าเต๋อยังเป็นผู้กำกับที่เลือกหยิบประเด็นมานำเสนอได้น่าสนใจ มีอารมณ์ขัน และไม่ทิ้งจังหวะการเล่าเรื่องหรือการตัดต่อเป็นเอกลักษณ์ของเขาไปแม้แต่น้อย และนอกจากเส้นเรื่องหลักแล้ว สิ่งที่ดึงความสนใจเราไปจากความน่ารักสดใสของน้อง ๆ ได้โดยสิ้นเชิง คือดนตรีประกอบที่เป็นอีกส่วนสำคัญของหนังที่ทำให้เราต้องตั้งใจฟัง เพราะมันสามารถทำหน้าที่เล่าเรื่องที่น้อง ๆ บอกเล่าให้สมบูรณ์ขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยคนที่อยู่เบื้องหลังสกอร์เหล่านี้ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นคู่พี่น้องมหัศจรรย์ Plastic Plastic ปกป้อง และ ต้องตา จิตดี เราจึงรีบติดต่อพวกเขาเพื่อไปหาคำตอบว่าอะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้ทั้งสองคนเล่าเรื่องผ่านเสียงเพลงออกมาได้ยอดเยี่ยมขนาดนี้

***บทสัมภาษณ์นี้สปอยล์ส่วนสำคัญของภาพยนตร์***

ก่อนหน้านี้ป้องกับเพลงเคยทำเพลงประกอบภาพยนตร์อื่นมาก่อนที่จะได้ทำ Girls Don’t Cry หรือเปล่า

เพลง: ก็มี ‘Die Tomorrow’ ค่ะ หนังของพี่เต๋อเหมือนกัน

รู้สึกยังไงตอนที่เต๋อชวนมาทำเพลงประกอบ ไปรู้จักกันได้ยังไง

เพลง: ก็ดีใจนะ คือตอนนั้นเพลงเดินไปเจอพี่เต๋อที่สยามโดยบังเอิญ ‘อ้าว หวัดดีค่ะพี่เต๋อ’ ปกติรู้จักกันแบบผ่าน ไม่เคยคุยกัน พี่เต๋อก็บอก ‘เนี่ยกำลังหาเบอร์เพลงอยู่พอดีเลย กำลังคิดอยู่ว่าจะหาจากใครดี จะให้ทำเพลงประกอบหนัง’

แล้วเขารู้ได้ไงว่าเราทำเพลงประกอบได้ด้วย

เพลง: เขาอาจจะไม่ได้คิดว่าเราทำได้ ตอนนั้นเขาอยากได้เปียโนคลาสสิก เหมือนเขารู้ว่าเพลงเล่นเปียโนได้ (ป้อง: ซึ่งเพลงมันก็เรียนคลาสสิกมา) แต่เพลงก็ไม่เคยทำนะ ไม่เคยมีงานที่มันเป็นเปียโนเดี่ยว เขารู้ได้ไงไม่รู้ ก็ลองดู

ต้องจูนเคมีเยอะหรือเปล่าตอนได้มาทำงานกับผู้กำกับคนนี้

ป้อง: ทำไปมันก็จูนกันไปเรื่อย ครับ เหมือนพี่เต๋อเขาก็มีศัพท์อะไรของเขาที่ไม่ใช่ศัพท์ดนตรี เราต้องมาแปลงอีกทีนึง เช่น ‘เร็วช้า’ (เพลง: เขาบอกว่าตรงนี้มันเร็ว ) ซึ่งเร็ว ของเขาคือเร็ว อะไรวะ

เพลง: เร็วของเขาบางทีมันไม่ใช่เล่นเร็วอะ แต่มันแปลว่าดูแล้วรู้สึกเร็ว ทำให้เราต้องมานั่งคิดอีกทีว่าเฮ้ย เร็วของเขาคืออะไร มีคำอื่นอีก อย่างคำว่า ‘น้อย’ เขาชอบบอกว่า อยากให้มันน้อย เราก็แบบ น้อยหรือช้า บางทีน้อยกับช้ามันมีเส้นบาง กั้นกัน ก็ต้องลองไปเรื่อย ว่าแบบนี้ใช่ไหม (FJZ: ก็ค่อนข้างที่จะเป็นการทดลองไปพร้อม กัน) ใช่

ตอนที่ทำ ‘Die Tomorrow’ กับ ‘Girls Don’t Cry’ ต่างกันขนาดไหน

เพลง: มันเป็นเปียโนเหมือนกันนะ แต่มันต่างกันตรงที่ว่า

ป้อง: เรื่องหนังก่อนเลย มันเป็นเรื่องคนละแบบอยู่แล้ว

เพลง: ‘Die Tomorrow’ มันเป็นหนังปลงอะ คือความตายมันอยู่ใกล้ ตัว เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องไปกลัวมัน มันเลยเป็นเพลงที่สงบ นิ่ง เป็นเพลงที่ฟังแล้วไม่ต้องรู้สึกอะไรทั้งนั้นเพราะความตายเป็นเรื่องธรรมดา  แต่ BNK48 มันเป็นเรื่องการต่อสู้ของความรู้สึก ต้องทำยังไงก็ได้ให้มีอารมณ์ตามเด็ก ที่เขาพูด

ป้อง: แล้วก็โจทย์ของพี่เต๋อที่ให้มาก็ไม่เหมือนกัน ‘Die Tomorrow’ ทำยังไงก็ได้ให้ไม่รู้สึกว่าแฮปปี้มาก แต่ก็ไม่ได้เศร้าสุด จะดิ่งก็ไม่ดิ่ง (เพลง: ห้ามเศร้าเกินไป ห้ามสุขเกินไป)

แล้วสามารถทำได้จริงหรอ การไม่ให้อารมณ์เอนไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป

เพลง: เราก็คิดว่ายากนะตอนนั้น แต่เขาจะมี reference มาจากเพลงของ Claude Debussy เขาจะมีเพลงเพลงนึงที่เอาฟีลประมาณนี้ เขาบอก ‘พี่ฟังแล้วมันก็ไม่ได้มีความสุขนะ แต่มันก็ไม่ได้เศร้า’ ก็เลยต้องศึกษาจากเพลงนั้นว่าเขาใช้คอร์ดอะไร เขาเรียงยังไงมันถึงฟังแล้วไม่เกิดอารมณ์

ใช้เวลาศึกษาหรือปลุกปั้นนานขนาดไหนกว่าจะเคาะออกมาได้

เพลง: ศึกษาไปเรื่อย ศึกษาไปทำไป ไม่ได้ต้องนั่งคิดไปก่อน แต่เพลงก็ถึงขั้นวิเคราะห์เหมือนกันว่าเขาใช้คอร์ดนี้แล้วต่อด้วยคอร์ดนี้ทำไมมันถึงได้รู้สึกแบบนี้

การทำสกอร์ต่างจากการทำเพลงของตัวเองยังไงบ้าง

เพลง: ก็คือมันเป็นอะไรที่ต้องทำตามผู้กำกับ ต้องตามโจทย์ ปกติเราทำเราก็เอาตามที่ชอบ

ป้อง: อยากใส่อะไรเราก็ใส่

เพลง: จริง มันก็มีความเป็นเราด้วยนะเพราะเราเป็นคนคิด แต่ว่ามันมีกรอบ เราก็ต้องทำอยู่ในกรอบนี้

ป้อง: แล้วมันจะมีเรื่องการ sync สกอร์กับภาพ พี่เต๋อเนี่ยชอบ sync บ่อย โดยเฉพาะงาน BNK48 แต่ใน ‘Die Tomorrow’ จะไม่ค่อย sync มาก เหมือนดนตรีเป็นแบ็คกราวด์ปูไปเลย แต่ว่าของ BNK48 จะเป็นช็อตจึ๊ก ยึกยัก

จริง Plastic Plastic ก็เคยทำเพลงบรรเลงในอัลบั้ม Stay At Home มาแล้ว อยากรู้ว่าอะไรทำให้สามารถเล่าบรรยากาศออกมาแบบนั้นได้

เพลง: เล่นก่อนแล้วค่อยมาคิด ค่อยมาตั้งชื่อเพลงทีหลังว่าเพลงนี้ฟังแล้วมันดูเป็นอะไร

ป้อง: แต่ว่าหนังมันจะมีเรื่องมาให้ก่อนแล้วเราค่อยทำเพลง

รู้สึกว่าแบบไหนยากหรือง่ายกว่ากัน

เพลง: คิดว่าหนังนะ (หัวเราะ) ไม่รู้

ป้อง: คิดว่ามีโจทย์มันต้องยากกว่าอยู่แล้วครับ เพราะว่ามันต้องทำให้ได้ตามมู้ดที่ควรจะเป็น

‘Die Tomorrow’ ทำเป็นบรรยากาศคลอไปเฉย แต่ใน ‘Girls Don’t Cry’ ต้องเล่าเรื่องเกี่ยวกับ BNK48 รู้สึกยังไงหลังจากที่รู้ว่าต้องทำโปรเจกต์เกี่ยวกับกลุ่มไอดอลที่โด่งดังที่สุดในขณะนี้

เพลง: ตอนนั้นก็รู้สึกอยากทำนะ มันน่าจะท้าทายดี แล้วมันน่าจะเป็นอีกฟีล น่าจะไม่เหมือน ‘Die Tomorrow’ เลย แล้วตอนที่ไปฟังบรีฟแรก พี่เขาเปิดเพลงไกด์ให้ดู ก็รู้สึกว่าน่าจะถนัดนะ มันออกแนวเหมือนญี่ปุ่น เพราะว่าตอน ‘Die Tomorrow’ ตอนดราฟต์แรก พี่เต๋อไม่ให้ผ่าน พี่เต๋อบอกว่ามันญี่ปุ่นเกินไป บอกว่า ‘นี่ถ้ามีหนังอื่นนะจะให้ทำเลยถ้ามันจะออกมาญี่ปุ่นแบบนี้ แต่กับอันนี้ใช้ไม่ได้’ พอหนังเรื่องเนี้ย ได้ใช้แล้ว ความญี่ปุ่นแบบนี้แหละ

ก็เลยลงแก๊ปพอดี ซึ่งพอพูดว่าญี่ปุ่น มันมีบางซีนที่เราดูแล้วนึกถึง ‘Hana and Alice’

เพลง: อ๋อ มีคนบอกเหมือนกัน แต่จำเพลงเขาไม่ได้นะ ไม่แน่ใจว่าพี่เต๋อเขาส่งเรฟเพลงนี้มาด้วยหรือเปล่า เขาส่งมารัว 5 เพลงให้ฟัง แต่สุดท้ายการทำหนังมันก็ไม่ได้ตามเรฟอะไรหรอก จริง ต้องตามอารมณ์มากกว่า

แสดงว่าเราต้องนั่งฟังทุกบทสัมภาษณ์ของน้อง แต่ละคนแล้วแต่งเพลงตามหรอ

เพลง: เขาจะบอกมาว่าพาร์ตไหนที่ต้องเล่นบ้าง แล้วตรงที่เขาวางดนตรีมาก็จะฟิกซ์ประมาณนึงแล้วว่า ตรงนี้หยุด ตรงนี้ไม่หยุดนะ ตรงนี้เล่นน้อย ตรงนี้เล่นเยอะ

ป้อง: บางซีนมีอยู่ท่อนเดียว เขาก็วางลูปไปหมดเลย แล้วก็ดูมู้ดของซีนนั้น พอทำจริงมันต้องปรับไปเรื่อย เพราะไดนามิกหนังไม่เท่ากัน

เพลง: แล้วเขาก็จะบอกว่า เนี่ย จริง ตามเรฟมู้ดมันก็ไม่ได้ถูกหรอก เราต้องปรับอีก แก้กันหนักมาก น่าจะเป็นสิบดราฟต์อยู่ ดราฟต์นึงนี่บางทีพี่เต๋อเขาจะเอาคอมมา แล้วก็บอกเป็นข้อ บางทีมันแก้แค่ท่อน แต่ท่อนนึงก็แก้หลายที จดมาเป็นข้อ เลยว่าอยากแก้อะไรบ้าง มีรอบนึงที่พี่ป้องจดเยอะที่สุด สามสิบข้อที่แก้ ก็มาอยู่บ้าน มานั่งสี่ห้าชั่วโมง ไม่หยุดเลย (หัวเราะ) พูดแก้ไปเรื่อย เจาะละเอียดมาก

ป้อง: (ป้องหยิบกระดาษที่จดมาให้ดู) จริง อาจจะอ่านไม่รู้เรื่อง (หัวเราะ) แบบว่าช่วงที่น้องพูดว่า ‘แกรดดีมั้ยน้า’ เพลงก็หยุด หรือพี่เต๋อบอกให้เพลงจบตอนนี้ หรือว่าดราฟต์แรกมันแรงไปอ่านไม่ออกวุ้ย ผมเลยต้องอัดเสียงไว้อะ

เพลง: ตอนหลังต้องอัดเสียงเอา จดไม่ทัน (หัวเราะ)

แบบนี้ก็ไม่ได้ทำเพลงมาเป็นเพลงนึงยาว แต่ต้องทำทีละท่อนหรอ

ป้อง: ส่วนใหญ่จะทำทีละท่อนครับ มันมาหลายเพลง อันที่เพิ่ง export ให้พี่เต๋อมีประมาณ 19 เพลง ไม่รู้ว่ามันเยอะขนาดนี้เพราะทำไปเรื่อย (หัวเราะ)

เพลง: บางเพลงเป็นสิบนาที บางเพลงแค่หนึ่งนาที

มันเลยไม่เหมือนซาวด์แทร็กหรือสกอร์ของหนังเรื่องอื่นที่เป็นบรรยากาศ อันนี้เรารู้สึกว่าแต่ละเพลงมันเล่าเรื่องด้วย เราตั้งใจฟังเพลงมากตอนดูหนัง ถ้าไม่มีเพลงหนังอาจจะแห้งไปเลย

เพลง: พี่เต๋อก็พูดเหมือนกันว่าหนังเรื่องเนี้ยไม่ได้มีอะไรนอกจากเด็กมาพูด คือมันมีฉากเดียว ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพลงมันก็เลยสำคัญที่มันจะช่วยพาเรื่องไป

เริ่มทำเพลงเรื่องนี้กันตั้งแต่ตอนไหนนะ

เพลง: เพิ่งเริ่มก่อนหนังฉายแปปเดียว เราเริ่มประมาณ 10 มิถุนา ได้บรีฟ แล้วก็ทำมาเดือนครึ่ง เพิ่งเสร็จประมาณปลายกรกฎา แล้วเรามิกซ์เสร็จวันที่หกสิงหา หนังออกตอนประมาณกลางสิงหา

ป้อง: คือเราไม่ว่างกันด้วย ก็เลยเลื่อนกันมา เลยเสร็จช้าหน่อย

มีพี่ที่ทำเพลงประกอบเคยบ่นว่าชอบเจอผู้กำกับให้เวลาน้อย เลยไม่มีเวลาคราฟต์จนได้แบบที่ต้องการขนาดนั้น

เพลง: ตอนนั้นรู้สึกก็ไม่น้อยนะ ก็เดือนนึง ยังได้อยู่

ป้อง: คือมันเดือนนึงก็จริง แต่ว่าทำจริง มันติดนั่นติดนี่กันทั้งคู่

เพลง: เวลาทำเนี่ยนับวันได้เลย

การคิดเพลงแต่ละฉาก แต่ละพาร์ตอารมณ์ต่างกัน เราเริ่มการเขียนตรงนั้นยังไง หรือได้ไอเดียจากอะไรบ้าง

เพลง: ฟังเรฟที่พี่เต๋อส่งมาให้ก่อน แล้วก็นั่งคิดว่า ไอ้เรฟเนี้ย…

ป้อง: มันต้องการให้มู้ดเป็นยังไง คือตอนเราทำช่วงที่มันดาร์ก ตอนที่น้องกังวลว่าจะติดเซ็มบัตสึหรือเปล่า ที่เป็นบีตแบบ ตึก ๆๆๆๆ อันนั้นจะเป็นพาร์ตที่ผมทำเป็นหลัก พอทำไปสักพักไม่รู้ว่ามันดูน่ากลัวไปไหม พี่เต๋อก็จะมาคอมเมนต์ อันแรกบอก น่ากลัว (หัวเราะ) ซึ่งน่ากลัวกับกดดันมันคนละอันกัน แต่เวลาทำมันก็ใกล้เคียงกัน ซึ่งต้องแยกให้ขาด ก็เป็นความยากนิดนึง การทำเสียง ตึง ๆๆ มันก็ออกมาเป็นหนังผีได้ พี่เต๋อก็เลยบอกให้มันดูไม่น่ากลัวแต่รู้สึกกดดัน

เพลง: หรือบางทีตอนที่มันเศร้า แต่เล่นไปเล่นมาซึ้ง เหมือนเป็นแบบเส้นบาง กั้นกันนิดเดียว มันต้องเปลี่ยนยังไงถึงจะเศร้า

ป้อง: ซึ่งอันนี้ก็เป็นทฤษฎี เป็นเซนส์ อย่างแบบ ถ้าเป็น ตึก ๆๆๆ แต่มีรีเวิร์บจัด มันก็จะน่ากลัวละ แต่ถ้าเป็น ตึก ๆๆๆๆ อย่างเดียว เป็นเสียงแห้ง ก็อาจจะไม่น่ากลัวมาก แต่กดดัน เป็นเรื่องซาวด์ดีไซน์ด้วย หรือแบบตอนที่มีกลองแต๊ก ๆๆๆ ตอนกำลังฝึกอะครับ เหมือนตอนแรกเป็นเปียโนท่อนก่อนหน้านั้น ท่อนเพื่อนกับท่อนฝึก พี่เต๋อก็บอกว่ามันเหมือนกัน แยกไม่ออก ทำไปทำมาก็เพิ่มกลองที่เหมือนฝึกทหารเข้าไป

เพลง: คือบางทีแค่เปลี่ยนหรือเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปมันก็ทำให้ฟีลเปลี่ยนได้แล้ว

ป้อง: ขุดเลยมั้ย เปิดโปรเจกต์ให้ดูแบบ in depth เลย บางทีเราจำไม่ได้ทำเหมือนตอนขายพี่เต๋อเลย (หัวเราะ)

ป้องลุกไปเปิดโปรแกรมและเริ่มอธิบายแบบฉากต่อฉาก

มันน่าสนใจนะเพราะแต่ละพาร์ตดนตรีมันไม่เหมือนกันเลย แต่มันสามารถเชื่อมทั้งเรื่องให้ดูกลม ดูเป็นบรรยากาศเดียวกันได้ คล้าย  เหมือนทำเพลงหนึ่งอัลบั้มที่ทำเพลงคนละแนวแต่รู้สึกว่าอยู่ด้วยกันได้ แบบนี้มันมีอะไรเป็นจุดร่วม

ป้อง: อาจจะชิ้นเครื่องดนตรีด้วยครับ เปียโนเป็นหลัก มีทุกท่อน แม้แต่ท่อนที่เป็นเครื่องสังเคราะห์ก็ยังมีเปียโนอยู่

เพลง: พาร์ตเนี้ยง่ายสุด ไม่ได้แก้ (เป็นตอนเปิดของเรื่องที่ขึ้นภาพนิ่ง face shot ของ BNK48 แต่ละคนช่วงที่เพิ่งผ่านการคัดเลือกเข้ามาใหม่ )

เราว่าพาร์ตนี้น่ารักดี เหมือนเป็นโรงเรียนหญิงล้วนที่เพิ่งเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่

เพลง: เพลงแบบเปิดสดใส คลีน แต่มันมีตรงที่แก้ คือมันเป็นฉากที่น้องเดินออกไปหน้าเวทีที่มีไฟสปอตไลต์แว้บมา พี่เต๋อบอกว่าเนี่ย อยากให้เปียโน sync กับไฟ เมื่อกี้ไฟที่กระพริบข้าง ก็ต้องตรงกับโน้ตด้วย อะไรแบบนี้เขาก็เก็บ

ป้อง: ส่วนอันนี้เป็นฟุตเทจที่เขาให้มาอยู่แล้ว เป็นแก้วเล่นเปียโน (เพลง: เราก็อัดใหม่ แต่เล่นตามเขา) เอาจากที่แก้วเล่นมาต่อเป็นสเกลให้ยาวไปเรื่อย  หรือตอนที่อรดีดนิ้วเป๊าะ เราก็ต้องมีเสียงโน้ตเปียโนที่มัน ตึ๊ง ขึ้นมาด้วย (หัวเราะ)

เพลง: พอพูดเรื่องความฝันเราก็ต้องบิ๊วคนดู ต้องเล่นให้มันใหญ่ขึ้นนะ ที่มันดูเหมือนเป๊ะมากนี่เพราะเราไม่ได้บังเอิญใส่ให้ตรงนะแต่คือมันคิดไว้หมดแล้ว (ป้อง: เสียงเปียโนก็จะลากยาว ) ท่อนสงสัย พี่เต๋อก็บอกทำยังไงก็ได้ให้มันดูสงสัย

ป้อง: ซีนที่น้องดูกำลังสงสัย ผมก็ลองเล่นไปก่อน (กดเปียโนให้ดู) เป็นโน้ตกั๊ก สั้น แล้วลองเอามาขยับ ๆ ดู ท่อนเมื่อกี้ผมก็เล่นมั่ว แล้วพอน้องเขาพูดว่า ‘ไม่ได้!’ เลย ผมก็รูดโน้ตให้เสียงมันสูง ให้มัน sync แบบมีอะไร มีอีกอันคือ หนังอันนี้ส่วนใหญ่ 90% จะไม่ได้ sync กับเทมโป้อะไรเลย ไม่มีเมโทรนอม ติ๊กตอก อันนี้คือเล่นตามมือเลย จะไม่มีอะไรมาขึง ซึ่งปกติการทำเพลงมันจะมีกำหนดเทมโป้ การทำเพลงเรื่องนี้ความยากของมันก็คือมันเป็น free tempo บางทีมันไม่ตรงจังหวะ 

เพลง: คือปกติถ้ามีเทมโป้เราสามารถกดให้มันจังหวะเป๊ะเองได้ แต่อันนี้พอไม่มีเราก็ต้องมาแก้ทีละตัว แต่ข้อดีของมันก็คือฟีลมันจะได้ มันจะไหล อยากจะเปลี่ยนท่อน อยากจะอะไรก็ง่าย

ป้อง: แต่มันยากเวลาจะ sync จะแก้ แบบเวลาถ้าเล่นใหม่แล้วมันจะเหมือนเดิมหรือเปล่า บางอันถ้ามันบังเอิญ sync กับภาพเองก็ไม่ต้องไปทำอะไร มีตอนปูเป้ ที่เวลาทุกคนพูดถึงความพยายาม แต่ปูเป้บอกว่าไม่มี ตอนแรกใช้เป็นเล่นแบบ รูดโน้ต พี่เต๋อก็ไกด์ว่าให้หยุดเล่น แล้วทำให้เหมือนเล่นโน้ตผิด พอเป็นตอนมิวสิคเล่าก็มีความจริงจังขึ้น เพลงเลยต้องทำให้ดูจริงจัง พอเป็นเกี่ยวกับการตัดสินใจของปูเป้ที่พ่อมาพูดให้คิดดี ก็ทำให้มันดูข่ม หน่อย

เพลง: ตอนเพิ่งเข้ามาเทรนเป็น BNK48 ก็เล่นให้ดูอินโนเซนต์ (ป้อง: ให้ดูแฮปปี้สดใสนิดนึง) ซีนออกกำลังกาย ก็ให้มีกลองเพิ่มเข้ามา

ป้อง: เพราะตอนแรกมันเหมือนกันมากเลยสองเพลงนี้ พอมีกลองมันก็ดูตึงหลังนิดนึง ตอนแรกที่คิดวางไว้ไม่มีกลอง เพิ่งมามีตอนหลัง มันดูเหมือนฝึกทหารดี

เพลง: แล้วก็จะมีช่วงที่เริ่มเฟดเพลง เพราะเรื่องที่เขาพูดมันทำให้รู้สึกว่า เฮ้ย มันเหนื่อยเกินไปหรือเปล่า

ป้อง: จริง ก็มีท่อนเงียบเยอะเหมือนกันนะ เพราะเรื่องที่เขาเล่ามันเริ่มซีเรียสละ หรือบางช่วงที่อยากให้ตั้งใจฟัง มันก็ไม่ต้องมีเพลงก็ได้จำได้หมดแล้วเนี่ย (หัวเราะ) อันนี้ก็เข้าท่อนเครียด แข่งขัน การเป็นเซ็มบัตสึ อันนี้มันยาวมาก เป็นเสียง ตึก ๆๆๆๆ อันนี้ที่บอกว่าให้ทำยังไงก็ได้ให้ดูกดดันแต่ไม่น่ากลัว ทำยังไงก็ได้ให้มันดูไม่ซ้ำ มีเพิ่มคอร์ดเข้ามา เพิ่มโน้ตเข้าไป ความดังก็มีผลนะ ถ้าดังมากแล้วเล่นโน้ตแบบนี้ก็จะดูดาร์ก อันนี้ใช้วิธีเพิ่มความเร็วขึ้น มันยิ่งรู้สึกเป็นการแข่งขัน ตอนแรกมันช้าอยู่ อยู่ดี ก็เร็วขึ้นเรื่อย จนกลายเป็นอีกฉาก

เพลง: เวลามีชื่อขึ้นในลิสต์คนที่ติดเซ็มบัตสึ ก็จะมีเสียงแบบยิงแม็กซ์ที่เย็บกระดาษ ‘แก๊ก’ มาเป็นเอฟเฟกต์ หรือจะมีอันนึงที่เป็นน้องนั่งถ่ายรูปกันบนเรือยอช ก็ให้เป็นเสียงถ่ายรูปด้วยไอโฟน

ป้อง: มันจะเริ่มมีเสียงอุปกรณ์เข้ามาร่วมด้วย อย่างเสียงกดไลก์ ‘วึบ ๆ’ เสียงพิมพ์ไอโฟนให้มันเข้าจังหวะ ตอนที่พูดเรื่องเล่นโซเชียล เรื่องที่น้องบอกว่าคิดแคปชัน ใช้เวลาเป็นวัน กดดัน เราก็เอาเสียงนาฬิกาเข้าไป แล้วก็เริ่มเอาทุกเสียงมาผสมกัน ตอนที่น้องรู้สึกว่าไม่ใช่คนที่เป็นที่นิยมเท่าคนอื่นที่ทำแบ๊ว เป็นฉากที่ดูเฟลกว่าเดิม ก็ทำให้ดนตรีดูหงอย

เพลง: อีกตอนที่ประกาศเซ็มบัตสึรอบหลัง เราใช้แค่กลองอย่างเดียวเพื่อสร้างบรรยากาศความลุ้น จากช้า ก็ทำให้เร็วขึ้นเรื่อย เอาอยู่เลย แล้วมันก็มีฉากที่เพื่อนไม่ติดเซ็ม พี่เต๋อเคยบอกว่าเสียงกีตาร์มันแทนความเป็นเพื่อน ความเป็นวัยรุ่น อันนี้เป็นตอนที่เศร้าเกี่ยวกับเพื่อน ก็เลยใช้เสียงกีตาร์ เราก็ว่าเออว่ะ กีตาร์มันเข้า ถ้าใช้เปียโนมันจะดาร์กดิ่งกว่านี้ ดราม่ากว่า กีตาร์มันจะสว่างกว่า

ป้อง: พอเป็นเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง ที่น้องเริ่มสูญเสียความมั่นใจ ต้องทำตามคอมเมนต์ของคนอื่น ก็ให้มันดูซึม ไม่ค่อย sync มาก ส่วนใหญ่เพลงช้าจะไม่ค่อย sync เพราะมู้ดมันไม่จำเป็น แต่ถ้าเพลงเร็วมันต้องฉึบฉับหน่อย อันนี้ปล่อยไหลได้ ฟังเอามู้ดมากกว่า (เพลง: อันนี้ใส่เครื่องสายเข้าไปทำให้มันดูมีอะไร ให้มันดูใหม่ ไม่ซ้ำช่วงก่อนเพลงคุกกี้เสี่ยงทาย เราก็ถอดมาจากท่อนที่มันเหมือนลุ้น แต่ไม่เครียดมาเท่าอันนั้น แล้วก็ใช้เพลงของเขาที่อยู่ในฟุตไปเลย

เพลง: มันจะมีฉากนึงที่เป็นน้องจิ๊บตัดพ้อเฌอปราง จะทำให้มันไม่ซึ้ง ทำให้มันดูน่าน้อยใจ ก็แก้เยอะเหมือนกัน ตรงนี้เขาต้องการให้มันเป็นจุดพีคของเรื่อง ที่เฌอปรางบอกว่าทำไมตัวเองได้รับโอกาสมากกว่าคนอื่น การใส่เสียงไวโอลินเข้าไปมันจะช่วยเพิ่มความพีคได้

ป้อง: ตอนซีนเพลง Shonichi น้องที่ไม่ติดเซ็ม ไม่ได้รับความนิยม ก็เป็นแนวปลอบ ละ ส่วนตอนที่พูดเรื่องแฟนคลับก็ให้ฟีลมันดูซึ้ง

เพลง: อันที่เขาพูดถึงการมีผลกับแฟนคลับ เราก็ทำซาวด์ให้มันดู positive (ป้อง: แอบใส่กีตาร์ไปนิดนึง)

ป้อง: อันนี้เหมือนเป็นสรุปของเรื่องละ (เพลง: มีท่อนรัว เล่นไปเรื่อย เล่นให้มันดูยิ่งใหญ่

เรารู้สึกว่าเพลงนี้ทำให้นึกถึงเพลงจากเรื่อง ‘Her’ ซึ่งเราชอบฟีลของซีนนี้มาก ที่มันดูทุกอย่างคลี่คลาย

เพลง: ใช่ เพลงนั้นแหละ เป็นเรฟ ตอนแรกอะเล่นเหมือนมาก พี่เต๋อบอกว่าไม่ได้ เหมือนไป ก็เลยทำให้มันเหมือนน้อยลงหน่อย (หัวเราะ) เพลงออริจินัลมันจะเล่นเร็วกว่านี้

หลายคนที่ทำเพลงจะบอกไม่ได้ว่าชอบเพลงไหน ป้องกับเพลงบอกเพลงที่ชอบในหนังเรื่องนี้ได้หรือเปล่า

เพลง: ชอบเพลงฉากนี้แหละ เพลงนี้ตั้งใจเล่นให้มันเป็นเพลงที่สุด คือมันไม่ต้องพูดอะไรแล้ว ไม่ต้อง sync อะไรแล้ว ก็เลยเล่นให้มันเป็นเพลง เป็นเมโลดี้ ให้มันฟังเพราะ แต่เพลงอื่นมันต้องไปอิงกับซีนต่าง

งานนี้เป็นงานที่ท้าทายที่สุดแล้วหรือยัง

ป้อง: ก็น่าจะนะ ถ้านับเรื่องเวลาด้วย

เพลง: เพราะว่าเราทำเพลงอัลบั้มเราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันยาก เพราะมันได้ทำที่เราอยากทำ แต่อันนี้ต้องทำตามโจทย์เขา บางทีมันต้องอยู่ในเวลา อย่างอันนี้วันนี้ไม่ทันจริง ต้องออกไปทำนู่นทำนี่ ตีสามต้องกลับมาทำแล้ว ตื่นมาทำ

ตอนหนังฉายมีคนพูดถึงเพลงบ้างไหม มีฟี้ดแบ็กบ้างไหม

เพลง: เพลงลงในเฟซบุ๊กของ Plastic Plastic ก็มีคนมาให้ความเห็นเยอะเหมือนกัน แต่เขาพูดดีนะ บอกว่าชอบ ยังไม่ค่อยเห็นแบบที่เขาไม่ชอบ แต่พยายามดูว่ามีคอมเมนต์ต้องปรับปรุงไหม

ทำเพลงประกอบหนังเขาจบไปแล้ว โดนใครตกบ้างหรือเปล่า

เพลง: ก็ไม่ได้มีใครเป็นพิเศษ แต่ดูแล้วชอบปูเป้นะ พี่ป้องก็เหมือนกัน แล้วพอหลังจากอันนี้คือทั้งคู่ก็กลายเป็นคนตาม BNK48 เขาทำอะไรรู้หมด ออกซิงเกิ้ล มีรุ่นสอง ใครแกรดรู้หมด มันจะมีรายการ ‘Victory BNK48’ ดูกันทุกตอน ไม่มีตอนไหนไม่ดูเลย แต่อาทิตย์ที่ผ่านมาพี่เต๋อไปเป็นเกสต์ เดี๋ยวจะไปย้อนดูเนี่ย คือมันดูหนังจนมันอินไปเอง อยากรู้จักคนนี้มากขึ้นว่าคนนี้เป็นคนยังไงวะ ตอนแรกก็ไม่รู้จักหรอก

มีคนเข้ามาชวนให้ไปทำเพลงอื่น ด้วยไหม อย่างเพลงโฆษณา

เพลง: ก็มี หลังจาก ‘Die Tomorrow’ ก็มีพี่ SUNTUR ที่เขาวาดภาพประกอบ เขาจะทำแอนิเมชัน เขาก็ชวนเพลงไปทำเปียโนประกอบ

ป้อง: ก็เป็นงานที่ฟรี อยากทำอะไรทำเลย แบบ เอาภาพไปอยากยัดอะไรใส่ได้เลย ไม่แก้ด้วย

เพลง: แล้วแต่เราตีความ แล้วแต่เราจินตนาการเลย

ถ้าสมมติต้องทำงานกับคนอื่น อยากทำงานแบบท้าทายตัวเอง มีโจทย์ หรือว่างานที่ฟรีสไตล์มากกว่า

ป้อง: จริง ส่วนใหญ่มันก็มีโจทย์

เพลง: แต่ถ้าตามเราเราก็ตั้งโจทย์เองนะ เวลาเราทำอัลบั้มอะ แต่ว่าถ้ามีโจทย์ก็อยากให้เป็นโจทย์ที่เราอยากทำด้วย อย่างของพี่เต๋อ เป็นโจทย์ที่เราอยากทำ มันก็ต้องมีคละกันไป ก็สนุกดี ได้ทำทั้งสองแบบ

เคยเจออะไรที่ไม่ถนัดหรือยัง งานที่เสนอมาแต่ไม่ใช่ทางเราเลย

เพลง: พวกงานโฆษณา นี่คือตัวอย่างของการไม่ได้อยากได้โจทย์นี้ แต่มันก็เป็นงานอะ ก็ทำ ไป (หัวเราะ)

ป้อง: ก็ได้เงิน เอาจริงผมทำเยอะ ก็ไม่ถนัดเลย ทุกแนว

มีใครเป็นคนทำเพลงประกอบที่ชอบบ้าง

เพลง: เพลงจะชอบฟังเพลงของ Joe Hisaishi ตอนแรกก็ไม่ได้อินมาก แต่ตั้งแต่ ‘Die Tomorrow’ ที่ต้องทำเพลงพวกนี้ก็ไปลองหาฟัง ดู เขาก็เปียโนเหมือนกัน

ป้อง: จริง ก็ฟังด้วยกันแหละ แต่ไม่ได้เจาะจงอะไร

เพลง: พี่ป้องเขาไม่ได้มีคนที่ชอบเป็นพิเศษ หาฟังไปเรื่อย ไม่เชิงว่าเป็นคนทำเพลงประกอบหนังอย่างเดียว แต่เป็นเพลงปกติเนี่ยแหละ

ถ้าได้ทำเพลงประกอบหนังอีก อยากทำหนังแนวไหน

เพลง: จริง ชอบหนังแนวนี้นะ ที่ไม่ใช่แบนด์แบบใหญ่ตู้ม เป็นหนังฟอร์มยักษ์ ไม่ได้ถนัดมาก เราจะถนัดอะไรแบบนี้ที่มีความคราฟต์ แยกเครื่อง เป็นเปียโน

ป้อง: อยากทำหนังไซไฟ (หัวเราะ) แบบ ‘Stranger Things’ ที่มันผสม อยากทำซาวด์ดีไซน์ แต่ไม่ค่อยได้ทำเพราะว่ามันไม่มีงานแบบนั้นเท่าไหร่ ถ้ามีก็เป็นงานเร็ว ไม่ค่อยได้ทำงานที่ได้ค่อย ทำ อยากทำงานซาวด์ดีไซน์ ใช้เวลากับมันเยอะ

เพลง: ก็เอามาลงกับเพลงตัวเองไง (หัวเราะ)

จะได้ฟังอัลบั้มใหม่ Plastic Plastic เมื่อไหร่

ป้อง: ก็น่าจะใกล้แล้วครับ

เพลง: ตุลาปล่อยซิงเกิ้ล อัลบั้มอะเดือนพฤศจิ กำลังปั่นกันอยู่ตอนนี้

ป้อง: คือตอนนี้ทุกงานต้องมาก่อน เพลงตัวเองไว้ทีหลัง งานอื่นเยอะจนไม่ได้ทำงานตัวเอง มันเครียดอะ

เพลง: จริง ก็อยากทำงานตัวเองนะ แต่พี่ป้องเขาฮอต (หัวเราะ) มีศิลปินมาให้ช่วยทำเพลง ช่วยเป็นโปรดิวเซอร์ให้

ป้อง: ปกติก็ทำงานโฆษณาอยู่แล้ว ทำประจำ ก็ดูดเวลาไปส่วนหนึ่งด้วย ล่าสุดนี่พี่บอล Scrubb มาเรื่อย เลย

เพลง: สิงโต นำโชค, Telex Telexs, แสตมป์ อภิวัชร์, Fellow Fellow, M Yoss เยอะมาก

ป้อง: พวกบ้านอยู่แถวนี้ พวก Telex เนี่ย ชอบมากินข้าวต้มแถวนี้

เพลงชุดใหม่จะต่างจากงานก่อน ยังไงบ้าง

เพลง: ก็น่าจะเป็นซาวด์ดีไซน์ที่มีมากขึ้น อาจจะมีความอิเล็กทรอนิกมากขึ้น แล้วก็ไม่กั๊ก เพลงก็จะไม่ได้เพลงเพราะ ฟังสบาย อาจจะบ้า บอ มากกว่า อยากทำอะไรก็ทำ อัลบั้มที่แล้วมันจะยังกึ่ง เซฟ หน่อย ฟังเพราะ ฟังสบาย ฟังในรถ ชิล อันนี้อาจจะฟังรอบเดียวแล้วจี๊ดไปเลย แบบ ไม่อยากฟังแล้ว (หัวเราะ) อยากให้มีความแปลก แบบเสียดหูนิดนึง ไม่ได้ฟังแล้วลื่นไปหมด คือช่วงหลัง มาเราฟังศิลปินทางนี้เยอะ เช่น Kero Kero Bonito แนวนั้นอะ มันก็ฟังง่าย ฟังหลายรอบได้ แต่มันมีความเพี้ยนที่ไม่ได้เสนาะหูขนาดนั้น แล้วก็มี Spazzkid เราจะไปทางนั้นละ

ป้อง: future pop อิเล็กทรอนิกแบบกุ๊งกิ๊ง คนละแบบกับ Gym and Swim เราจะเป็นอิเล็กกาก ของ Gym จะเป็นซินธ์เท่ นิดนึง

เพลง: แล้วก็อาจจะไปหาคนร้องที่เป็นมวลหมู่ ไม่ได้ร้องแค่สองคน ก็เลยไปหาน้องที่ร้องเพลงไม่เป็น คือร้องไม่เพี้ยน แต่ไม่ได้ร้องเพราะ (ป้อง: ไม่มีสกิลแต่ร้องตรงจังหวะ) ไม่ได้ร้องเก่ง เหมือนเครื่องดนตรีต่าง อย่างซินธ์ เราก็ไม่ได้อยากได้ซาวด์ที่มันเท่ อยากให้มันดูโง่ อะมันไม่มีคำอื่นอีกแล้วหรอ (หัวเราะ)

ป้อง: อาร์ตเวิร์กเราได้ศิลปินเกาหลีมาวาดให้ ไปเจอรูปนึงแล้วก็เซิร์ชไอจี

เพลง: เขาชื่อเอล ไปเจอมาที่เชียงใหม่ งานเขาเคยไปขายอยู่ร้านชื่อ Enough For Life เป็นร้านที่เจ้าของเป็นคนเกาหลี สุดท้ายติดต่อไปได้เพราะ a day เขาทำเล่มเกาหลี แล้วน้องที่ทำก็ไปสัมภาษณ์คนนี้ ก็มาบอก เพราะคุยเรื่องนักวาดเหมือนกัน เราก็แบบ เอ้า คนนี้หรอ งั้นขอคอนแทคหน่อย

ป้อง: แล้วก็เดี๋ยวจะดังกว่าวง เหมือนน้องป่าน Juli Baker ตอนนั้นไม่มีใครรู้จักเขา

เพลง: ตอนนั้นน้องป่านเขายังไม่มีลายเส้นที่ชัดเจนเลย เขาวาดทุกอย่างเลยทั้งสีไม้ สีนั่นนี่ วาดหลายแบบมาก ตอนแรกก็คิดว่า อุ๊ย หรือสีไม้ไหม แต่เราเลือกสีอะคริลิก สุดท้ายเขาก็ไปดังสีนี้ สีไม้ไม่วาดละ

รู้สึกยังไงเวลารุ่นพี่ศิลปินมอบหมายงานให้ทำ เคยรู้สึกว่ามันเกินความสามารถของเราไหม แล้วเราก้าวผ่านความรู้สึกนั้นไปได้ยังไง

ป้อง: ก็คิดตลอดนะว่า เอาจริงหรอครับ (หัวเราะ) แต่ก็ทำให้ได้ทุกที แบบ จะให้ไปเป็น music director Scrubb หรอ แต่ผมไม่เคยทำงานแบบนี้มาก่อนเลยนะ ก็ลองทำดูเท่าที่ทำได้ แต่ก็อาจจะไม่ได้โปรเท่า music director ตัวจริง ก็พยายามขวนขวายช่วยเขาให้ได้มากที่สุด ก็คิดตลอดครับว่าจะไหวหรอวะ (หัวเราะ)

นอกจากเพลงเล่นกับ Scrubb แล้วยังทำอะไรอีกบ้าง

เพลง: ตอนนี้ก็มีบ้างที่เป็นงานโฆษณา ที่เป็นเปียโน หลัง ก็เริ่มให้เพลงทำแต่เพลงก็ยังไม่เก่งทำพวกนี้มาก ก็ฝึก กับพี่ป้อง ตอนแรกให้เพลงทำคนเดียวเงี้ยจะยากหน่อย ต้องให้พี่ป้องมาไกด์ก่อน แล้วก็เพลงมีร้องโฆษณาเพราะพี่ป้องเขาทำงานโฆษณาอยู่แล้ว ถ้าต้องมีเสียงผู้หญิงพี่ป้องก็จะเอาเพลงไป (FJZ: แลคตาซอย) ใช่ แอร์เอเชีย คิวท์เพรส จริง มันเยอะมาก

ป้อง: ด้วยความที่มันเป็นน้องผมไง มันเร็ว อะอยู่บ้าน อัดเลย ก็เลยได้งานไกด์เยอะ นักร้องจริงก็อาจจะได้บ้าง หรือไม่ได้ก็แล้วแต่ลูกค้าว่าเขาเลือกใคร

จากการไปเป็น a team junior มาแล้ว คิดจะไปเอาดีทางอื่นนอกจากทำเพลงบ้างไหม

เพลง: คือทำเกือบเท่าดนตรีอะตอนนี้ (หัวเราะ) รับทำคอนเทนต์อยู่สามอัน คือ Index Living Mall คิดคอนเทนต์ออนไลน์ เขาจะส่งรูปมาแล้วเราเลือกรูปจากเขา บางทีก็ไปถ่าย เอง แล้วเอามารวมเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับอะไรดี แล้วก็ Bioderma เวชสำอาง กับกรุงศรี จะเน้นถ่ายตามเรฟเขา แล้วก็มีเขียนให้ a day แต่ตอนนี้เพิ่งเลิกเขียนไป เขียนมาปีนึงละ เริ่มหมดเพราะว่าเป็นเกี่ยวกับเรื่องท่องเที่ยว หมดจริง ต้องไปเที่ยวอีกค่อยกลับมาเขียนต่อ (หัวเราะ) ก็เขียนหนังสือสองเล่มที่ผ่านมา แต่ก็กะจะทำอีก กะจะเอาอันเก่า ที่ไปเที่ยวมาแล้วมารวมใหม่ ก็มีเยอะเหมือนกัน

มีอะไรที่สองพี่น้องไม่เคยทำแล้วอยากจะทำร่วมกันบ้างไหม

เพลง: กะว่าจะทำบริษัท รับผลิตดนตรี คือตอนนี้มันยุ่งยากตรงที่เวลาเงินเข้ามามันเป็นนามบุคคลไง แบบเสียภาษีอะ (หัวเราะ) แต่ถ้าเสียแบบบริษัท สมมติเราซื้อเครื่องดนตรีมามันจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย อันนี้เป็นส่วนนึง แต่อีกอย่างคืออยากมีห้อง เนี่ย บ้านข้าง อยากทำให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา คือสุดท้ายยังไงเราก็อยากมีอะไรเป็นของเราด้วยกัน แล้วเวลาคนเข้ามาอัด จริง ห้องนี้มันดูเหมือนจะสะดวกแต่มันไม่ได้เก็บเสียง คืออยากมีห้องอัดที่มันเก็บเสียง ความจริงอาจจะไม่ต้องรับงานเยอะขนาดนั้น แค่เราอัดเองได้ เราก็อยากมี

ป้อง: อาจจะทำอย่างอื่นด้วย ชงกาแฟ

เพลง: ใช่ ก็คืออาจจะทำร้านตัวเอง คืออยู่ในบริเวณเดียวกันอาจจะเป็นร้านกาแฟที่ขายของจุกจิก คิดไปเรื่อย ก็แค่อยากมีอะไรเป็นของตัวเอง เป็นแผนการลับ (ยิ้ม)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ Plastic Plastic ได้ ที่นี่ และรับฟังเพลงของพวกเขาบนฟังใจได้ ที่นี่

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้