กะโหลกศีรษะทำให้เราได้ยินเสียงต่างกัน

Article Guru

สรีระของแต่ละคนส่งผลต่อเสียงที่ได้ยิน ทำให้ทุกคนได้ยินเสียงบางเสียงไม่เหมือนกัน

  • Writer: Peerapong Kaewthae

กะโหลกศีรษะทำให้เราได้ยินเสียงต่างกัน สมัยนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้แล้ว ว่าเปิดเพลงเพลงหนึ่งขึ้นมาเมื่อไหร่เราเต้นขาแทบขวิด แต่ทำไมเพื่อนเราถึงไม่มีอารมณ์ร่วมเลย เรื่องของรสนิยมก็มีส่วน แต่การที่คนอื่นไม่อินเพลงไหนเหมือนเรา ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งอาจจะมาจากสรีระที่แตกต่างกัน อาจทำให้เราได้ยิน ตีความ หรือเข้าถึงเสียงได้ต่างกันด้วย

จากงานวิจัยล่าสุดของ Acoustical Society of America Meeting สมาคมที่รวมผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่สนใจในเสียงจากทุกสาขา ค้นพบว่ากะโหลกของคนเราเนี่ยแหละเป็นสิ่งที่กำหนดว่าเราจะได้ยินเพลงยังไง หรือเราจะชอบเพลงเพลงไหน ปัจจัยหลักน่าจะมาจากหูชั้นในรูปหอยโข่ง ซึ่งเต็มไปด้วยของเหลวที่ช่วยในการทรงตัว เมื่อเรารับเสียงเข้ามา อวัยวะในหูทุกส่วนก็จะสั่นสะเทือนจนมาถึงขนจิ๋ว ๆ ในหูชั้นในที่คอยแปลงการสั่นสะเทือนให้กลายเป็นคลื่นสมองตรงเข้าไปสู่เซลล์ประสาท ทำให้เราได้ยินเสียงนั่นเอง แล้วรูปกะโหลกเกี่ยวกับกระบวนการนี้ยังไง?

เมื่อมนุษย์ผ่านการวิวัฒนาการมามากมาย ทำให้หูชั้นในถูกฝังลึกเข้าไปในกะโหลกแถวขมับ และกระดูกที่แข็งเหล่านี้ก็มีหน้าที่สะท้อนเสียงที่เราได้ยินไปมา หรือคอยขยายหรือบีบเสียงที่เราได้ยินอีกด้วย เมื่อกะโหลกของแต่ละคนถูกสร้างมาไม่เหมือนกัน ก็ยากมากที่คนสองคนจะได้ยินเสียงตรงหน้าเหมือนกัน พวกเขาจึงทำวิจัยว่ารูปกะโหลกส่งผลกับแนวเพลงประเภทไหนบ้าง

งานวิจัยมีสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือให้คน 16 คนมานั่งฟังคีย์เมเจอร์ทั้ง 12 ตัวและให้อธิบายว่าพวกเขารู้สึกยังไงกับเมโลดี้แต่ละตัว แล้วอีกส่วนหนึ่งคือตามหาความถี่ในกะโหลกของแต่ละคนว่าแตกต่างกันมากแค่ไหน โดยทาบไมโครโฟนลงไปบริเวณขมับและลองเคาะดู ค่าความถี่ของผู้ร่วมวิจัยอยู่ที่ 35 ถึง 65 เฮิร์ตซ์ ซึ่งผู้หญิงมีกะโหลกที่เล็กกว่าทำให้มีความถี่ที่สูงกว่าผู้ชาย สรุปผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้คือกะโหลกส่งผลกระทบต่อคีย์ดนตรีที่เราได้ยินไม่เยอะเท่าที่คิดไว้ แต่กระบวนการนี้ก็ทำให้พอคาดเดาได้บ้างว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่ชอบเพลงแนวไหน

แม้เรายังไขความรับของหูชั้นในได้ไม่กระจ่างมากนักในสายดนตรี แต่วิทยาศาสตร์ทางกีฬาก็พบคำตอบว่าหูชั้นในมีส่วนทำนายศักยภาพนักกีฬาได้อย่างแม่นยำ

อ่านต่อ

ฟังเพลงไม่เหมือนกัน อาจทำให้ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นได้

ทำไมเราถึงฟังเพลงที่เราชอบซ้ำไปซ้ำมาได้ไม่มีวันเบื่อเลย งานวิจัยมีคำตอบ

เพลงที่ใช้ฟังตอนเดิน ส่งผลกับการเดินของเราอย่างไร?

Facebook Comments

Next:


Peerapong Kaewthae

แม็ค เป็นคนชอบฟังเพลงเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และก็ชอบแนะนำวงดนตรีหรือเพลงใหม่ ๆ ให้คนอื่นรู้จักผ่านตัวอักษรตลอดเวลา