เมื่อเพลงถูกเอาไปใช้ในห้องผ่าตัด

Article Guru

เมื่อเพลงถูกนำไปใช้ในห้องผ่าตัด ดนตรีบำบัดที่ช่วยผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้มากมาย

  • Writer: Peerapong Kaewtae

ไม่น่ามีใครกังขากับความมหัศจรรย์ของเสียงดนตรีอีกแล้วมั้ง ว่ามันทำให้เราอารมณ์ดี พาเราก้าวข้ามอาการอกหักได้ แถมสรรพคุณอีกมากมายที่เราเคยพูดถึงไปแล้วทั้งการฟังเพลงช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น และเพลงยังเอาเอาไปรักษาโรคทั่วไปได้อีกมากมาย ไม่แปลกที่การแแพทย์สมัยใหม่ เริ่มหันมาใช้เพลงในกระบวนการรักษามากขึ้น และถูกนำมาใช้ทดแทนยาขนานต่าง ๆ ในระบบได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะยาสามัญประจำบ้านอย่างยาแก้ปวดที่ถ้ากินเยอะเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกายเรา แต่คนอเมริกากว่าสองล้านคนก็กินยาแก้ปวดทุกวัน เช่น คนที่เจ็บป่วยอยู่ในโรงพยาบาล จนเริ่มมีงานวิจัยว่าการฟังเพลงตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดเสร็จ ช่วยลดความเจ็บปวดที่ตามมาได้อย่างประสิทธิภาพ

จากการแบ่งผู้ป่วยที่กำลังจะเข้าผ่าตัดดวงตาเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งฟังเพลงควบกับยาแก้ปวดและอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฟังเพลงได้รับแค่ยาแก้ปวดอย่างเดียว แล้วจับทั้งสองกลุ่มเข้าเครื่องตรวจคลื่นสมองเพื่อดูว่าพวกเขาวิตกกังวลแแค่ไหน กลุ่มคนฟังเพลงมีคะแนนความเครียดแค่ 23 เต็ม 100 แต่คนไม่ได้ฟังเพลงคะแนนความเครียดสูงถึง 65 เลยทีเดียว และหลังผ่าตัดกลุ่มแรกมีคะแนนความพึงพอใจสูงถึง 71 แต่กลุ่มที่ไม่ได้ฟังเพลงมีคะแนนความพึงพอใจแแค่ 55 เท่านั้น แถมจากการเทียบดูแล้วไม่ว่าจะฟังเพลงแนวอะไรก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่แตกกันเท่าไหร่เลย

ผู้ป่วยที่มีความเครียดจากการรอผ่าตัดซึ่งมีแนวโน้มทำให้พวกเขาพบกับความเจ็บปวดมากกว่าคนอื่นหลังผ่าตัด การฟังเพลงเพื่อคลายเครียดก็ช่วยให้หลังผ่าตัดปลอดภัยทั้งทางกายและใจกับคนผู้ป่วยมากขึ้น แม้ว่าตัวแปรที่พวกเราคาดหวังอย่างระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลจะไม่ได้ลดลงเลย แแต่ผู้ป่วยก็ดูมีความสุขมากขึ้นและลดการใช้ยาแก้ปวดได้จริง ๆ ในอนาคต โรงพยาบาลอาจอนุญาตให้เราเอามือถือเข้าไปเปิดเพลงในห้องต่าง ๆ ของเราเองก็ได้

18+ เปิดเพลงระหว่างกิจกรรมเข้าจังหวะ ช่วยทำให้ชีวิตรักมีความสุขขึ้น

ASMR บำบัดอารมณ์ความรู้สึกด้วยเสียงกระซิบให้เสียวซ่านไปทั้งสมอง

เร่งเสียง-เร่งเมา นักวิทย์ชี้ เมื่อเพลงดังขึ้น ขาเที่ยวจะดื่มแอลกอฮอล์ไวและมากขึ้น!

Music Care องค์กรฝรั่งเศสผู้อยู่เบื้องหลังการวิจัยนี้ ที่โฟกัสกับการใช้เพลงในการรักษาโดยเฉพาะเพื่อต่อสู้กับความเจ็บปวด อาการซึมเศร้าและความเครียด เขาให้เหตุผลว่าเสียงเพลงคือเครื่องมือต่อสู้โรคร้ายที่มีราคาถูก เป็นมิตรกับร่างกายและปลอดสารเคมี จากการทดลองกับผู้ป่วยที่กำลังจะผ่าตัดตาก็ได้น่าสนใจมาก ๆ ทางทีมก็อยากลองเอาไปปรับใช้กับการผ่าตัดแบบอื่นด้วย ก้าวต่อไปคือ การไขปริศนาของเพลงอย่างการฟังเพลงก่อนผ่าตัดทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีขึ้นหลังผ่าตัดรึเปล่า

มีอีกหลายเคสที่น่าสนใจมาก อย่างการฟื้นฟูหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยดนตรีบำบัดแทนการบำบัดแบบเดิม ๆ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะการผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในเคสที่ผู้ป่วยจะพบกับความเจ็บปวดแสนสาหัส ซึ่งต้องวางแผนการประคับประคองอาการหลังผ่าตัดอย่างรอบคอบ ดนตรีบำบัดก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การฟังเพลง แต่การร้องเพลง การดูโชว์ดนตรีรวมถึงการเล่นดนตรีด้วย สร้างทางเลือกอันหลากหลายให้กับผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดด้านความชอบ ร่างกายหรือเงินในกระเป๋าด้วย ซึ่งใช้ต่อสู้กับความเจ็บปวดได้ดีไม่แพ้กับเคมีบำบัดเลยทีเดียว ซึ่งทีมวิจัยก็ใช้วิธีคล้าย ๆ กับข้างบนที่แบ่งกลุ่มระหว่างให้ฟังเพลงกับทำเคมีบำบัด กับกลุ่มที่ทำเคมีบำบัดอย่างเดียว ซึ่งกลุ่มที่ได้ฟังเพลงด้วยก็มีแนวโน้มสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดีกว่าแบบเห็นได้ชัด

ยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่บอกว่าดนตรีบำบัดยังช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าให้มั่นใจในตัวเอองมากขึ้น พัฒนาทักษะการเข้าสังคมได้อีกด้วย แถมยังช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อีก ดนตรีบำบัดกำลังกลายเป็นทางเลือกใหม่ในโรงพยาบาลหลายแแห่งทั่วโลก หวังว่าโรงพยาบาลในไทยจะนำแนวคิดแบบนี้มาใช้บ้างเหมือนกันนะ

อ้างอิง

Music as an aid for postoperative recovery in adults: a systematic review and meta-analysis

Music therapy reduces pain in spine surgery patients

MUSIC CARE

Facebook Comments

Next:


Peerapong Kaewthae

แม็ค เป็นคนชอบฟังเพลงเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และก็ชอบแนะนำวงดนตรีหรือเพลงใหม่ ๆ ให้คนอื่นรู้จักผ่านตัวอักษรตลอดเวลา