Crowdfunding: วงการดนตรีจะระดมทุนมวลชนอย่างไรให้ได้ผล ตอนที่ 1
- Writer: Piyapong Muenprasertdee and Kamolkarn Kosolkarn
สำหรับในอุตสาหกรรมดนตรี การระดมทุนจากมวลชนเองถูกแปะป้ายไว้ว่าเป็นอนาคตใหม่สำหรับนักร้อง นักดนตรี และศิลปินที่มองหาที่ทางในการแสดงผลงานของตัวเอง อำนาจเบ็ดเสร็จของอินเทอร์เน็ตนั้นได้ทำให้ทุกอย่างง่ายอย่างใจต้องการ
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนไทยอาจได้ทำความรู้จักและเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า “ระดมทุนมวลชน (crowdfunding)” หรือรูปแบบการระดมทุนในการผลิตและสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือกันมาบ้าง มีปรากฏในรูปแบบหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือ ภาพยนตร์ ไปจนถึงโปรเจกต์ของเหล่าสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ยกตัวอย่างของการระดมทุนพิมพ์หนังสือในประเทศไทย นำทีมโดย afterword โครงการที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับนักเขียนรุ่นใหม่ที่ต้องการตีพิมพ์ผลงานของตนเอง หรือวงการภาพยนตร์ โดยมี Documentary Club (facebook.com/DocumentaryClubTH) ทำหน้าที่ริเริ่มโครงการระดมทุนสำหรับค่าลิขสิทธิ์และค่าแปลภาพยนตร์สารคดีจากต่างประเทศ เพื่อสามารถนำเข้ามาจัดฉายในประเทศไทย และผลตอบรับที่ได้กลับมาก็ประสบความสำเร็จไปอย่างงดงาม
สำหรับในอุตสาหกรรมดนตรี การระดมทุนจากมวลชนเองถูกแปะป้ายไว้ว่าเป็นอนาคตใหม่สำหรับนักร้อง นักดนตรี และศิลปินที่มองหาที่ทางในการแสดงผลงานของตัวเอง อำนาจเบ็ดเสร็จของอินเทอร์เน็ตนั้นได้ทำให้ทุกอย่างง่ายอย่างใจต้องการ โดยเฉพาะวงการดนตรีอินดี้ในต่างประเทศ ที่มีผู้ให้บริการ crowdfunding platform ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีอิสระ อย่างเช่น PledgeMusic.com, IndieGoGo.com, KickStarter.com
ประวัติศาสตร์การระดมทุนสำหรับวงการดนตรีนั้นย้อนกลับไปเมื่อ 18 ปีก่อน กับวง Marillion (website: http://www.marillion.com) ที่เป็นผู้บุกเบิกในการระดมทุนจากมวลชนแบบเห็นผลและกลายเป็นต้นแบบทางธุรกิจสำหรับการระดมทุนในแวดวงดนตรีมาถึงปัจจุบัน เมื่อปี 1997 แฟนคลับของวงได้รวมตัวในอินเทอร์เน็ตเพื่อลงขันเงินที่ตั้งเป้าเอาไว้ 60,000 เหรียญฯ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายให้วงมาเล่นทัวร์คอนเสิร์ตที่อเมริกาและแคนาดา ความสำเร็จนี้ยังมีการต่อยอดเป็นการสั่งซื้ออัลบั้มใหม่แบบ pre-order ล่วงหน้า 1 ปีก่อนอัลบั้มจริงจะวางแผง ซึ่งมีแฟนคลับตอบตกลงมากถึง 12,000 คนเลยทีเดียว
จากวันนั้นถึงวันนี้ เรามาดูกันว่าสำหรับอุตสาหกรรมดนตรี การระดมทุนนั้นสามารถมีผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบเป็นอะไรบ้าง โดยยกตัวอย่างเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ค่าเช่าสตูดิโอบันทึกเสียง
แน่นอนว่าการทำเพลงใหม่ทั้งอัลบั้มจะเสร็จสิ้นเป็นรูปธรรมอย่างมีคุณภาพไม่ได้ถ้าหากกระบวนการบันทึกเสียงที่ไม่ดีพอ แต่ก็เป็นเรื่องซึ่งนำมาพร้อมกับค่าใช้จ่าย ที่ถึงแม้อาจจะไม่สูงมากนัก แต่อย่ามองข้ามว่าจำนวนเล็กน้อยจะไม่สามารถระดมทุนได้ ให้ลองเริ่มต้นกำหนดขอบเขตค่าใช้จ่าย โดยอาจจะมีการเพิ่มเติมเทคนิคพิเศษที่ทำให้รู้สึกว่า ผู้ลงทุนจะได้รับความคุ้มค่าจากการช่วยเหลือค่าเช่าสตูดิโอให้
ค่าผลิตมิวสิควิดีโอ
กี่ครั้งแล้วกับการที่ต้องดูมิวสิควิดีโอต้นทุนต่ำ ทั้งที่เพลงก็เพราะแบบหมดจด ถ้าทั้งผู้ฟังและศิลปินต้องการงบประมาณในการผลิตเอ็มวีตัวใหม่ เพื่อเพิ่มรายละเอียดและความประณีตให้กับเรื่องราวที่จะเล่าผ่านเพลงของเราแล้ว ลองตั้งแคมเปญระดมทุนขึ้นมาเพื่อว่าจ้างผู้กำกับ นักแสดง หรือครีเอทีฟที่จะมาช่วยสร้างผลงานเอ็มวีให้ดีได้อย่างใจต้องการ
กี่ครั้งแล้วกับการที่ต้องดูมิวสิควิดีโอต้นทุนต่ำ ทั้งที่เพลงก็เพราะแบบหมดจด
ต้องร่วมกันกับวงนอกกระแสอื่นๆ
วงดนตรีอินดี้แต่ละวงควรจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน รวมกลุ่มทำความรู้จักกัน หางานร่วมแสดงสดกัน แชร์แฟนเพลงของกันและกัน เพราะการร่วมมือกันจะทำให้ความแข็งแรงของกลุ่มคนเล่นดนตรีอิสระนั้นแข็งแรงและมีความสำคัญมากขึ้น พอเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็จะสามารถสื่อสารแฟนเพลงเกี่ยวกับ crowdfunding platform ใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
การระดมทุนที่เกิดขึ้นจากการผลิตงานจากมวลชนนั้นจะต้องมีการวางแผนโปรเจ็กต์มาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ออกมาให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด ไม่ใช่แค่เพียงนึกแค่ว่าสินค้าที่แฟนเพลงได้ไปนั้นจะได้เป็นเจ้าของก่อนใคร ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ใหม่ที่แฟนเพลงจะได้รับอยู่เสมอ
MellowMotif
เมลโลว์โมทีฟเป็นวงดนตรีไทย แนวบราซิลเลียนแจ๊สมากฝีมือ กับจำนวนสมาชิก 6 คน ที่ฝากผลงานไว้แล้วกับเวทีระดับนานาชาติมามากมาย เมื่อปลายปี 2014 เมลโลว์โมทีฟได้เปิดตัวโปรเจ็กต์อัลบั้มใหม่ Limited-Edition CD/DVD Box-Set 15-เพลง ที่จะมีการบันทึกเสียงและถ่ายทำสดพร้อมเปิดรับจองบัตรเพื่อเข้าชมในสไตล์ Live Recording Session เปิดโอกาสให้แฟนๆ ได้เข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศการบันทึกเสียงคุณภาพสูง ควบคุมดูแลโดยวูดดี้ พรพิทักษ์สุข เจ้าของรางวัลแกรมมี่อวอร์ดคนเดียวของประเทศไทย โดยการบันทึกเสียงในครั้งนี้จะเป็น Hybrid ระหว่างคอนเสิร์ตและเซชชั่นบันทึกเสียงจริง และเปิดจำหน่ายบัตรให้แฟนเพลงเข้าชมเพียง 70 ที่นั่ง และจะผลิตสำหรับ Pre-Order ในจำนวนจำกัดเพียง 1,000 แผ่นสำหรับ CD, 500 แผ่นสำหรับ CD/DVD Box-Set เท่านั้น
Website:mellowmotif.com
#ADollarALifeTime
แคมเปญดีๆ ที่น่าสนใจอย่าง #ADollarALifeTime ของนักร้องแร้ปเปอร์อย่าง Aloe Blacc เมื่อเดือนธันวาคมปี 2014 ที่เกิดเหตุการณ์การยกเลิกการสนับสนุนอาหารให้กับผู้อพยพในซีเรีย World Food Programme (WFP) จึงทำแคมเปญทางโซเชียล มีเดีย เพื่อระดมทุนจากมวลชน ผ่านการสร้างสรรค์บทเพลงจาก Aloe ที่ชื่อว่า “I need a dollar.” ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอย่างประสบความสำเร็จคือมีผู้ร่วมสนับสนุนกว่า 14,000 ราย และ ผู้ลงทุนอิสระจาก 158 ประเทศ เป็นเงินทุนรวมถึง 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Website:aloeblacc.com
การระดมทุนที่เกิดขึ้นจากการผลิตงานจากมวลชนนั้นจะต้องมีการวางแผนโปรเจ็กต์มาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ออกมาให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด